สิงคโปร์มีกำหนดกการประหารชีวิตนักโทษรายแรกในรอบ 6 เดือน หลังศาลตัดสินว่านักโทษรายดังกล่าวมีความผิดฐานลักลอบนำกัญชาปริมาณ 1 กิโลกรัมเข้ามาในประเทศ
โคกิรา อันนามาลัย นักกิจกรรมต่อต้านโทษประหารชีวิตในสิงคโปร์ระบุว่า ครอบครัวของ ตังการาจู ศุภเปียห์ นักโทษชายวัย 46 ปี ได้รับหนังสือจากทางการสิงคโปร์ซึ่งระบุว่า ตังการาจูจะถูกประหารชีวิตในวันพุธที่จะถึงนี้ (26 เม.ย.) ด้วยการแขวนคอ จากความผิดฐานลักลอบนำยาเสพติดเป็นกัญชาปริมาณ 1 กิโลกรัมเข้ามายังสิงคโปร์
คริสเทน ฮาน นักกิจกรรมอีกคนหนึ่งระบุว่า ตังการาจูถูกควบคุมตัวในปี 2557 เนื่องจากเขาเสพยาและไม่ได้รายงานผลการตรวจสารเสพติด โดย หลังจากนั้น ตังการาจูถูกเชื่อมโยงกับผู้ค้ายาเสพติด 2 คน ผ่านหมายเลขโทรศัพท์ที่ใช้เพื่อประสานงานการจัดส่งกัญชา
ฮานกลัวเสริมว่าในส่วนของคดีนั้น ศาลฎีกาสิงคโปร์พบว่า ตังการาจูมีความผิดฐานร่วมกันค้ากัญชา 1 กิโลกรัม ก่อนที่จะมีคำตัดสินให้ประหารชีวิตตังการาจูออกมาจากศาลเมื่อปี 2561 ที่ผ่านมา
“การประหารชีวิตครั้งสุดท้ายที่ดำเนินการในสิงคโปร์ เกิดขึ้นในช่วงเดือน ต.ค. 2565 นักโทษประหาร สมาชิกในครอบครัว และผู้เรียกร้องล้มเลิกโทษประหาร ได้กลั้นหายใจในตลอดช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา (เรา) กลัวว่าการฆ่าอย่างสนุกสนานจะเริ่มต้นขึ้นอีกครั้งเมื่อใด เราจะต่อสู้เพื่อตังการาจูจนกว่าจะถึงจุดจบ” อันนามาลัยกล่าว
สิงคโปร์มีกฎหมายยาเสพติดที่รุนแรง โดยเมื่อช่วงปีที่แล้ว สิงคโปร์ได้ประหารชีวิตนักโทษจำนวน 11 คนในคดียาเสพติด ทั้งนี้ การแขวนคอชาวมาเลเซียรายหนึ่งได้จุดชนวนความไม่พอใจจากนานาชาติ เนื่องจากมีความเชื่อของผู้ไม่เห็นด้วยว่า ชายคนดังกล่าวมีอาการพิการทางสมอง อันเป็นการตอกย้ำถึงบรรทัดฐานด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศต่อสิงคโปร์
นักเคลื่อนไหวทั้งสองกล่าวว่า การเข้าถึงความยุติธรรมของตังการาจูถูกปฏิเสธ เพราะเขาถูกสอบสวนโดยไม่มีทนายความ ทั้งนี้ ตังการาจูยังไม่เคยดำเนินการกับยาเสพติดที่เขาถูกกล่าวหาว่าตัวเองมีส่วนในการสมรู้ร่วมคิดกับการลักลอบ นักเคลื่อนไหวยังระบุอีกว่า ตังการาจูถูกปฏิเสธการยื่นอุทธรณ์โดยศาลฎีกาสิงคโปร์เมื่อวันที่ 26 ก.พ. ด้วยเหตุผลที่ว่า เขาล้มเหลวในการแสดงหลักฐานการลงโทษทางกระบวนยุติธรรมต่อจำเลยที่ผิดคน
อันนามาลัยกล่าวว่าครอบครัวของตังการาจู กำลังเรียกร้องให้สาธารณชนประท้วงการประหารชีวิตของเขา
“ความคิดที่ว่าชายคนหนึ่งอาจถูกแขวนคอในไม่ช้า เพราะสนับสนุนการพยายามค้ากัญชา 1 กิโลกรัม ซึ่งเป็นสารจากพืชที่กำลังถูกลดทอนความเป็นอาชญากรรม หรือทำให้ถูกกฎหมายในเขตอำนาจศาลที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น เป็นเรื่องที่อุกอาจและน่ากลัวที่สุด” ฮานระบุ
นักวิจารณ์กล่าวว่า โทษประหารชีวิตของสิงคโปร์ทำได้แค่ดักล่อผู้รับจ้างขนยาระดับล่างเป็นส่วนใหญ่ และมีผลเพียงเล็กน้อยในการหยุดยั้งผู้ค้ายาเสพติดและองค์กรที่จัดตั้งขึ้น แต่รัฐบาลสิงคโปร์อ้างว่าโทษประหารนั้นมีความจำเป็น เพื่อปกป้องพลเมืองของตน และกล่าวว่าโทษการประหารชีวิตทั้งหมดที่มีการดำเนินการนั้น เป็นไปตามกระบวนการของกฎหมายอย่างครบถ้วน
ฮานกล่าวอีกว่า โทษอาญาในการประหารชีวิตที่รุนแรงของสิงคโปร์ รังแต่จะผลักดันการค้ายาให้เกิดขึ้นในใต้ดิน และจะปิดกั้นผู้คนจากการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพ หรือบริการลดอันตรายที่สามารถช่วยแก้ไขสาเหตุของการใช้ยาเสพติดได้
“มาตรการที่รุนแรงและไม่ประนีประนอม อาทิ โทษประหารชีวิต ไม่ได้รับการพิสูจน์ว่ามีผลในการป้องปราม ไม่มีผู้ใช้ยาเสพติดแม้แต่คนเดียวที่ได้รับการช่วยเหลือหรือสนับสนุนโดยการแขวนคอคนอื่น ซึ่งมักเป็นคนที่มาจากชุมชนชนกลุ่มน้อยหรือคนชายขอบ มันไม่มีประโยชน์ ไม่มีจุดหมาย และ ใจร้ายเมื่อต้องเจอกับคดีที่เป็นปัญหาพอๆ กับคดีของตังการาจู” ฮานกล่าวเสริม
ที่มา: