หน้าแรก Thai PBS เลือกตั้ง2566 : วิธีแจ้งเหตุไม่ไปเลือกตั้ง เริ่ม 7-13 พ.ค. และ 15-21 พ.ค.

เลือกตั้ง2566 : วิธีแจ้งเหตุไม่ไปเลือกตั้ง เริ่ม 7-13 พ.ค. และ 15-21 พ.ค.

82
0
เลือกตั้ง2566-:-วิธีแจ้งเหตุไม่ไปเลือกตั้ง-เริ่ม-7-13-พค-และ-15-21-พค.

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. แจ้งเตือน ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ไม่สามารถไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันอาทิตย์ที่ 14 พ.ค. และวันเลือกตั้งล่วงหน้าในวันอาทิตย์ที่ 7 พ.ค. ว่า สามารถแจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ ช่วงก่อนเลือกตั้ง คือวันที่ 7 – 13 พ.ค.2566 และหลังเลือกตั้ง คือวันที่ 15 – 21 พ.ค.2566 กกต. จึงแจ้งแนวทางในการดำเนินการแจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ดังนี้่

วิธีแจ้งเหตุไม่สามารถไปเลือกตั้งได้

1. ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ให้แจ้งเหตุที่ไม่อาจไปเลือกตั้ง ตามแบบ ส.ส. 1/8 หรือทำเป็นหนังสือซึ่งอย่างน้อยต้องระบุหมายเลขประจำตัว ประชาชน และที่อยู่ตามหลักฐานทะเบียนบ้านให้ชัดเจน พร้อมทั้งแจ้งด้วยว่าไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งด้วยเหตุใด โดยยื่นต่อนายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่นที่ตนเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งด้วยตนเอง

2. ทำเป็นหนังสือซึ่งต้องระบุเลขประจำตัวประชาชน ที่อยู่ตามหลักฐานทะเบียนบ้าน โดยสามารถแจ้งด้วยตนเอง หรือมอบหมายผู้อื่นไปยื่นแทน หรือจัดส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ภายใน 7 วันก่อนวันเลือกตั้ง ตั้งแต่วันที่ 7-13 พ.ค.2566 และ 15-21 พ.ค.2566 

3. แจ้งไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ https://stat.bora.dopa.go.th/Election/abscause/#/main หรือ www.ect.go.th หรือผ่านทางแอปพลิเคชั่น Smart Vote 

สำหรับเหตุอันสมควรที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้

1. มีกิจธุระจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องเดินทางไปพื้นที่ห่างไกล
2. เจ็บป่วยและไม่สามารถเดินทางไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้
3. เป็นคนพิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้สูงอายุและไม่สามารถเดินทางไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้
4. เดินทางออกนอกราชอาณาจักรและมิได้แจ้งความประสงค์ขอใช้สิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร
5. มีถิ่นที่อยู่ห่างไกลจากที่เลือกตั้งเกินกว่า 100 กิโลเมตร
6. มีเหตุสุดวิสัยหรือเหตุอื่นที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด

เมื่อนายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่น ได้รับการแจ้งเหตุแล้วเห็นว่า เหตุที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งแจ้งนั้นมิใช่เหตุอันสมควร ให้แจ้งผู้มีสิทธิเลือกตั้งทราบภายใน 3 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง หรือผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ได้รับแจ้งว่าเหตุที่แจ้งนั้นมิใช่เหตุผลอันสมควร มีสิทธิยื่นอุทธรณ์ต่อผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัดภายใน 30 วัน นับแต่วันเลือกตั้ง และให้ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัดพิจารณาคำร้องให้แล้วเสร็จภายใน 3 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำร้อง

หากไม่ไปเลือกตั้งถูกตัดสิทธิ 5 ประการ

หากไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง และไม่ได้แจ้งเหตุฯ หรือแจ้งเหตุฯ แล้วแต่เหตุนั้นไม่สมควร กฎหมายกําหนดให้เสียสิทธิบางประการดังต่อไปนี้

  • สิทธิในการยื่นคําร้องคัดค้านการเลือกตั้ง ส.ส.
  • สิทธิในการสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส. หรือสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น หรือสมัครรับเลือกเป็น ส.ว.
  • สิทธิในการสมัครรับเลือกเป็นกํานันและผู้ใหญ่บ้าน
  • ต้องห้ามดํารงตําแหน่งข้าราชการการเมือง และข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง
  • ต้องห้ามดํารงตําแหน่งรองผู้บริหารท้องถิ่น เลขานุการ ผู้บริหารท้องถิ่น ผู้ช่วยเลขานุการผู้บริหารท้องถิ่น ประธานที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น ที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่นหรือคณะที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

การจํากัดสิทธิทั้ง 5 ข้อ กําหนดเวลาครั้งละ 2 ปีนับแต่วันเลือกตั้ง ครั้งที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง และหากในการเลือกตั้งครั้งต่อไปไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งอีก ให้เริ่ม นับเวลาการจํากัดสิทธิ 2 ปีใหม่

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

เลือกตั้ง2566 : ใบเหลือง-ส้ม-แดง-ดำ ส่งผลอย่างไรกับการเลือกตั้ง?

เลือกตั้ง2566 : กกต.แจงเหตุพิมพ์บัตรเลือกตั้งสำรอง 4.9 ล้านใบ

เลือกตั้ง2566 : ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ใช้หลักฐานแสดงตนอะไรได้บ้าง?

เลือกตั้ง 2566 : 7 ข้อห้าม เกี่ยวกับบัตรเลือกตั้ง ฝ่าฝืนโทษจำคุก-ปรับ-เพิกถอนสิทธิ

เลือกตั้ง2566 : 7 ขั้นตอน ลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้า

เลือกตั้ง2566 : กกต.ตั้งรางวัลแจ้งเหตุทุจริตเลือกตั้งมี “ค่าข่าว”

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่