14 พ.ค.2566 นี้ เป็นวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) เพื่อเข้ามาเป็นผู้แทนของประชาชนในการทำหน้าที่ในสภา ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจึงควรออกไปใช้สิทธิเพื่อเลือกคนที่รัก และ เลือกพรรคที่ชอบ โดยบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ สำหรับเลือก ส.ส.แบบแบ่งเขตจะเป็นสีม่วง และ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อคือสีเขียว ซึ่งสามารถไปลงคะแนนเลือกตั้งได้ตั้งแต่เวลา 08.00 – 17.00 น.
ขั้นตอนการเลือกตั้ง
ขั้นตอนที่ 1 ตรวจสอบรายชื่อ
ตรวจสอบรายชื่อและลำดับที่จากบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ที่ประกาศไว้หน้าหน่วยเลือกตั้ง หรือตรวจสอบข้อมูลการใช้สิทธิทางแอปฯ Smart Vote
ขั้นตอนที่ 2 ยื่นหลักฐานแสดงตน
ยื่นบัตรประชาชนหรือหลักฐานแสดงตน ให้กรรมการประจำที่เลือกตั้งกลางเพื่อตรวจสอบข้อมูลและยืนยันตัวตน พร้อมลงลายมือชื่อในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
ขั้นตอนที่ 3 รับบัตรเลือกตั้ง
รับบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ ได้แก่บัตรเลือกตั้ง ส.ส. แบบแบ่งเขตเลือกตั้งและบัตรเลือกตั้ง ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ พร้อมลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้ว หัวแม่มือขวา บนต้นขั้วบัตรเลือกตั้งทั้ง 2 ประเภท โดยกรรมการประจำที่เลือกตั้งลงลายมือชื่อในต้นขั้วบัตรเลือกตั้ง
ขั้นตอนที่ 4 ทำเครื่องหมายกากบาท
เข้าคูหาลงคะแนน ทำเครื่องหมายกากบาท X ลงในช่องทำเครื่องหมายในบัตรเลือกตั้ง แต่ละประเภท โดยสามารถเลือกผู้สมัครหรือพรรคการเมือง ได้เพียงบัตรละหมายเลขเดียว หากไม่ต้องการเลือกผู้สมัครใดหรือบัญชีรายชื่อ ของพรรคการเมืองใดเลย ให้ทำเครื่องหมายกากบาท X ในช่องไม่ประสงค์เลือกผู้สมัครผู้ใดหรือ ไม่เลือกบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองใด
ขั้นตอนที่ 5 หย่อนบัตรด้วยตนเอง
เมื่อลงคะแนนเสร็จแล้วพับบัตรเลือกตั้งแต่ละประเภท ให้เรียบร้อย และหย่อนบัตรลงในหีบบัตรเลือกตั้งแต่ละประเภทให้ถูกต้องด้วยตนเอง
กาอย่างไรไม่ให้เป็นบัตรเสีย
ทั้งนี้ต้องทำความเข้าใจว่า การทำเครื่องหมาย กากบาท (x) ลงบนบัตรเลือกตั้ง แบบไหนที่เป็นบัตรดีและแบบไหนเป็นบัตรเสีย
บัตรดี คือ
- ต้องมีเครื่องหมายในการลงคะแนน
- ต้องเป็นเครื่องหมาย กากบาท (x) เท่านั้น
- เครื่องหมาย กากบาท (x) ต้องอยู่ในช่องทำเครื่องหมายและต้องมีเครื่องหมายเดียวเท่านั้น
บัตรเสียคือ
- บัตรที่ไม่ได้ทำเครื่องหมายลงคะแนน
- บัตรที่ลงคะแนนเกินหนึ่งหมายเลข
- บัตรที่ลงคะแนนในช่องที่ไม่มีผู้สมัคร หรือผู้สมัครถูกถอนชื่อออกจากประกาศรายชื่อผู้สมัคร
- ทำเครื่องหมายนอกช่อง
- ไม่ใช่บัตรที่กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งมอบให้
หลักฐานแสดงตน ในการลงคะแนนเลือกตั้ง
1. บัตรประจำตัวประชาชน (บัตรประจำตัวประชาชนหมดอายุสามารถใช้แสดงตนได้)
2. บัตรหรือหลักฐานอื่นใดของทางราซการหรือหน่วยงานของรัฐ ที่มีรูปถ่ายและมีเลข
ประจำตัวประชาชนของผู้ถือบัตร เช่น บัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ ใบขับขี่ หนังสือเดินทาง (พาสปอร์ต) เป็นต้น
3. หลักฐานภาพอิเล็กทรอนิกส์ที่เปีดผ่านแอปพลิเคชั่นของหน่วยงานของรัฐตามกฎหมาย
ว่าด้วยการปฏิบัติราชการทางอิเล็กหรอนิกส์ โดยปัจจุบันสามารถใช้ได้ 3 แอปพลิเคซัน คือ
- แอปพลิเคชัน ThalD (บัตรประจำตัวประชาชนอิเล็กทรอนิกส์)
- แอปพลิเคชัน DLT QRLICENCE (บัตรประจำตัวประชาชนอิเล็กทรอนิกส์)
- แอปพลิเคชัน บัตรคนพิการ (บัตรประจำตัวประชาชนอิเล็กทรอนิกส์)
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
เลือกตั้ง2566 : ตรวจสอบสิทธิ เช็กหน่วยเลือกตั้ง เข้าคูหาลงคะแนนที่ไหน
เลือกตั้ง2566 : กกต. เริ่มรายงานผลเลือกตั้งไม่เป็นทางการ 18.30 น.
เลือกตั้ง 2566: เช็กพิกัด 6,328 หน่วยเลือกตั้งกทม.ทางออนไลน์ก่อนใช้สิทธิ
เลือกตั้ง 2566 : 7 ข้อห้าม เกี่ยวกับบัตรเลือกตั้ง ฝ่าฝืนโทษจำคุก-ปรับ-เพิกถอนสิทธิ
เลือกตั้ง2566 : วิธีแจ้งเหตุไม่ไปเลือกตั้ง เริ่ม 7-13 พ.ค. และ 15-21 พ.ค.