หน้าแรก Voice TV รวมทุกพรรค ใครได้เป็น ส.ส. ปาตี้ลิสต์

รวมทุกพรรค ใครได้เป็น ส.ส. ปาตี้ลิสต์

75
0
รวมทุกพรรค-ใครได้เป็น-สส.-ปาตี้ลิสต์

รวมรายชื่อ ส.ส. บัญชีรายชื่อของทุกพรรค หลัง กกต. แถลงภาพรวมการเลือกตั้ง 14 พ.ค.

อิทธิพร บุญประคอง ประธานกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) แถลงสรุปภาพรวมการเลือกตั้ง 14 พ.ค. เกี่ยวกับจำนวนส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ (ปาร์ตี้ลิสต์) ว่า มีพรรคการเมืองทั้งหมด 17 พรรคการเมือง ที่ได้ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ ซึ่งมีจำนวนทั้งหมด 100 ที่นั่ง

ก้าวไกล 39 ที่นั่ง / เพื่อไทย 29 ที่นั่ง / รวมไทยสร้างชาติ 13 ที่นั่ง / ภูมิใจไทย 3 ที่นั่ง / ประชาธิปัตย์ 3 ที่นั่ง / ประชาชาติ 2 ที่นั่ง / พลังประชารัฐ 1 ที่นั่ง / เสรีรวมไทย 1 ที่นั่ง / ไทยสร้างไทย 1 ที่นั่ง / ประชาธิปไตยใหม่ 1 ที่นั่ง / พรรคใหม่ 1 ที่นั่ง / ชาติพัฒนากล้า 1 ที่นั่ง / ท้องที่ไทย 1 ที่นั่ง / ชาติไทยพัฒนา 1 ที่นั่ง / เป็นธรรม 1 ที่นั่ง / พลังสังคมใหม่ 1 ที่นั่ง / ครูไทยเพื่อประชาชน 1 ที่นั่ง 

หากส่องภาพรวมทั้งประเทศจะพบว่า เกือบทุกภูมิภาค (ยกเว้นภาคใต้) ประชาชนเทคะแนนไปให้ 2 พรรคหลักคือ ก้าวไกล และเพื่อไทย 

หลายจังหวัดใช้ยุทธศาสตร์แบ่งใจ 

หลายเขตในหลายจังหวัด จะเห็นว่า ส.ส.เขต ประชาชนเลือกอีกพรรคจากขั้วหนึ่ง แต่ปาร์ตี้ลิสต์กลับเลือกพรรคจากขั้วตรงข้าม แปลว่าประชาชนใช้ยุทธศาสตร์ ‘แบ่งใจ’ เลือกคนที่ใช่-เลือกพรรคที่ชอบ โดยกาบัตร ส.ส.เขตให้พรรคหนึ่ง ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ให้อีกพรรคหนึ่ง 

เด่นชัดที่สุดดูที่ #พรรคภูมิใจไทย เช่น

  • บุรีรัมย์ ส.ส.เขตเป็นภูมิใจไทยทั้งหมด แต่ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ แบ่งกันระหว่าง ก้าวไกล 7 ที่นั่ง เพื่อไทย 3 ที่นั่ง
  • พิจิตร ส.ส.เขตเป็นภูมิใจไทยทั้งหมด แต่ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ แบ่งกันระหว่าง เพื่อไทย 2 ที่นั่ง ก้าวไกล 1 ที่นั่ง
  • อุทัยธานี ส.ส.เขตเป็นภูมิใจไทยทั้งหมด แต่ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์กลายเป็น ก้าวไกลทั้งหมด 2 ที่นั่ง
  • อ่างทอง ส.ส.เขตเป็นภูมิใจไทยทั้งหมด แต่ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์กลายเป็นแบ่งกันระหว่างเพื่อไทย 1 ที่นั่ง ก้าวไกล 1 ที่นั่ง
  • อำนาจเจริญ ส.ส.เขตเป็นภูมิใจไทยทั้งหมด แต่ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ กลายเป็นแบ่งกันระหว่าง เพื่อไทย 1 ที่นั่ง ก้าวไกล 1 ที่นั่ง
  • กระบี่ ส.ส.เขตเป็นภูมิใจไทยทั้งหมด แต่ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ กลายเป็นก้าวไกลทั้งหมด 3 ที่นั่ง
  • สตูล ส.ส.เขตเป็นภูมิใจไทยทั้งหมด แต่ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ กลายเป็นก้าวไกลทั้งหมด 2 ที่นั่ง

จังหวัดที่ภูมิใจไทยแทรกเพื่อไทย ส.ส.เขตได้ 2 ที่นั่ง เช่น บึงกาฬ, นครพนม พอเป็น ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์กลายเป็นเพื่อไทยทั้งหมด 

จังหวัดที่ภูมิใจไทยแทรกเพื่อไทย ส.ส.เขตได้ 1 ที่นั่ง เช่น มหาสารคาม พอเป็นปาร์ตี้ลิสต์กลายเป็นเพื่อไทยทั้งหมด 

กรณีของ #พรรคพลังประชารัฐ เช่น 

  • เพชรบูรณ์ ส.ส.เขตเป็นพลังประชารัฐทั้งหมด แต่ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ กลายเป็นแบ่งกันระหว่าง ก้าวไกล 4 ที่นั่ง เพื่อไทย 2 ที่นั่ง
  • กำแพงเพชร ส.ส.เขตเป็นพลังประชารัฐทั้งหมด แต่ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์กลายเป็นก้าวไกลทั้งหมด 4 ที่นั่ง
  • พะเยา ส.ส.เขตเป็นพลังประชารัฐทั้งหมด แต่ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ แบ่งกันระหว่าง เพื่อไทย 2 ที่นั่ง ก้าวไกล 1 ที่นั่ง  

หรือจังหวัดที่ ส.ส.เขตเป็นหลายพรรคจากขั้วรัฐบาลเก่าผสมกัน อย่าง ประจวบฯ กับ ชุมพร พอเป็น ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์กลายเป็นก้าวไกลทั้งหมด , ราชบุรี ก็เลือก ส.ส.เขตขั้วรัฐบาลเก่า แต่ปาร์ตี้ลิสต์เป็นก้าวไกลทั้งหมด, แม่ฮ่องสอน ก็เลือก ส.ส.จากหลายพรรคขั้วรัฐบาลเก่า แต่ปาร์ตี้ลิสต์เป็นก้าวไกลทั้งหมด 

สุพรรณบุรี เปลี่ยนไป ! 

สุพรรณบุรี เป็นจังหวัดที่พรรคชาติไทยพัฒนาครองพื้นที่มายาวนาน จนคนแซวว่าเป็น ‘บรรหารบุรี’ รอบนี้แม้ ส.ส.เขตจะเป็น ชาติไทยพัฒนาทั้งหมด แต่เมื่อดูปาร์ตี้ลิสต์พบว่าเป็นก้าวไกลล้วน ! 

เช่นกันกับ สิงห์บุรี มีอยู่เขตเดียว ส.ส.เขตเป็นพลังประชารัฐ แต่ปาร์ตี้ลิสต์เป็นก้าวไกล 

ก้าวไกลเจาะใจคนใต้

นอกจากนี้พรรคก้าวไกลยังสามารถเจาะพื้นที่ภาคใต้ได้อย่างน่าสนใจ เพราะประชาชนเลือก ส.ส.เขตในขั้วรัฐบาลเก่า ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์เลือกขั้วรัฐบาลเก่าบางเขตแต่บางเขตก็เป็นสีส้ม !  เช่น

  • สงขลา (รวมไทยสร้างชาติ 3 ก้าวไกล 5) 
  • สุราษฎร์ธานี (รวมไทยสร้างชาติ 3 ก้าวไกล 3) 
  • นครศรีธรรมราช (รวมไทยสร้างชาติ 8 ก้าวไกล 2) 
  • ตรัง (รวมไทยสร้างชาติ 1 ก้าวไกล 3) 
  • พัทลุง (รวมไทยสร้างชาติ 2 ก้าวไกล 1) 
  • พังงา (รวมไทยสร้างชาติ 1 ก้าวไกล 1) 
ประชาชาติ ครองใจ 3 จังหวัดชายแดนใต้ 
  • จังหวัดชายแดนใต้ มีเพียงจังหวัดเดียวที่เลือกพรรคประชาชาติยกจังหวัดทั้ง ส.ส.เขต และปาร์ตี้ลิสต์ นั่นคือ ยะลา
  • ปัตตานี ส.ส.เขต ผสมกันระหว่างประชาชาติ พลังประชารัฐ และประชาธิปัตย์ แต่ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ยังคงเป็นประชาชาติยกจังหวัด 
  • นราธิวาส ส.ส.เขต ผสมกันระหว่างภูมิใจไทย รวมไทยสร้างชาติ ประชาชาติ  แต่ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ เป็นประชาชาติทั้งหมด 
ยุทธศาสตร์รักจริงหมดใจ

ขณะเดียวกันก็มีประชาชนที่ใช้ยุทธศาสตร์ ‘รักจริงหมดใจ’ เลือกตั้ง ส.ส.เขต และ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ สอดคล้องกัน เช่น 

  • สมุทรปราการ ก้าวไกลยกจังหวัด ทั้ง ส.ส.เขต และส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ 
  • ภูเก็ต ก้าวไกลยกจังหวัด ทั้ง ส.ส.เขต และส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์
  • ระยอง ก้าวไกลยกจังหวัด ทั้ง ส.ส.เขต และส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ 
  • จันทบุรี ก้าวไกลยกจังหวัด ทั้ง ส.ส.เขต และส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ 
  • ชุมพร รวมไทยสร้างชาติยกจังหวัด ทั้ง ส.ส.เขต และส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ 

ดูรายละเอียดได้ที่ https://vote66.voicetv.co.th/

รวม ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ (ปาร์ตี้ลิสต์) ทุกพรรค

การคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อในเบื้องต้น จะใช้คะแนนทั้งประเทศ 36,476,242 คะแนน หารด้วยจำนวน 100 ที่นั่ง ค่าเฉลี่ย ส.ส.บัญชีรายชื่อ 1 คน คือ 364,762.42 แล้วนำไปคิดคำนวณหาสัดส่วน ส.ส. บัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคการเมือง ได้แก่ 

#ก้าวไกล 39 คน  ได้แก่

  1. พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ 
  2. ชัยธวัช ตุลาธน 
  3. ศิริกัญญา ตันสกุล 
  4. เซีย จำปาทอง 
  5. อภิสิทธิ์ ไล่ศัตรูไกล 
  6. อภิชาติ ศิริสุนทร 
  7. วิโรจน์ ลักขณาอดิศร 
  8. รังสิมันต์ โรม 
  9. สิทธิพล วิบูลย์ธนากุล 
  10. สุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ 
  11. พริษฐ์ วัชรสินธุ 
  12. ณัฐวุฒิ บัวประทุม 
  13. ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ 
  14. เบญจา แสงจันทร์ 
  15. ชัยวัฒน์ สถาวรวิจิตร 
  16. ธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ 
  17. วาโย อัศวรุ่งเรือง 
  18. ประเสริฐพงษ์ ศรนวัตร์ 
  19. มานพ คีรีภูวดล 
  20. รอมฎอน ปันจอร์ 
  21. กรุณพล เทียนสุวรรณ 
  22. ปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล 
  23. พูนศักดิ์ จันทร์จำปี 
  24. ศุภโชค ไชยสัจ 
  25. ศนิวาร บัวบาน 
  26. นิติพล ผิวเหมาะ 
  27. ปารมี ไวจงเจริญ 
  28. วรพร วิริยะโรจน์ 
  29. สุรวาท ทองบุ 
  30. คำพอง เทพาคำ 
  31. วรรณวิภา ไม้สน 
  32. เลาฟั้ง บัณฑิตเทอดสกุล 
  33. องค์การ ชัยบุตร 
  34. ชุติมา คชพันธ์ 
  35. จุลพงศ์ อยู่เกษ 
  36. กัลยพัชร รจิตโรจน์ 
  37. ณรงเดช อุฬารกุล 
  38. ภคมน หนุนอนันต์ 
  39. สุเทพ อู่อ้น 

#เพื่อไทย 29 คน ได้แก่ 

  1. วิโรจน์ เปาอินทร์ 
  2. สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ 
  3. ประเสริฐ จันทรรวงทอง 
  4. ชูศักดิ์ ศิรินิล 
  5. เฉลิม อยู่บำรุง 
  6. เกรียง กัลป์ตินันท์ 
  7. สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ 
  8. สุชาติ ตันเจริญ 
  9. สุทิน คลังแสง 
  10. ชัยเกษม นิติสิริ 
  11. สมศักดิ์ เทพสุทิน 
  12. วิสุทธิ์ ไชยณรุณ 
  13. จาตุรนต์ ฉายแสง 
  14. ไพโรจน์ โล่ห์สุนทร 
  15. นพดล ปัทมะ 
  16. สงคราม กิจเลิศไพโรจน์ 
  17. ประยุทธ์ ศิริพานิชย์ 
  18. อดิศร เพียงเกษ 
  19. นิคม บุญวิเศษ 
  20. ขัตติยา สวัสดิผล 
  21. สุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล 
  22. ประวีณ์นุช อินทปัญญา 
  23. สุรเกียรติ เทียนทอง 
  24. จิตติพจน์ วิริยะโรจน์ 
  25. ดนุพร ปุณณกันต์ 
  26. อนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด 
  27. พิศาล วัฒนวงษ์คีรี 
  28. สุธรรม แสงประทุม 
  29. ลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์

#รวมไทยสร้างชาติ 13 คน 

  1. พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค 
  2. สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ 
  3. เอกนัฏ พร้อมพันธุ์ 
  4. ชโยทิต กฤดากร 
  5. สุชาติ ชมกลิ่น 
  6. พิชชารัตน์ เลาหุพงศ์ชนะ 
  7. วิทยา แก้วภราดัย 
  8. ชัชวาลล์ คงอุดม 
  9. จุติ ไกรฤกษ์ 
  10. ธนกร วังบุญคงชนะ 
  11. เกรียงยศ สุดลาภา 
  12. ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง 
  13. ชัยวัฒน์ เป้าเปี่ยมทรัพย์

#ภูมิใจไทย 3 คน 

  1. อนุทิน ชาญวีรกูล 
  2. ศักดิ์สยาม ชิดชอบ 
  3. ทรงศักดิ์ ทองศรี

#ประชาธิปัตย์ 3 คน 

  1. จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ 
  2. ชวน หลีกภัย 
  3. บัญญัติ บรรทัดฐาน

#ประชาชาติ 2 คน 

  1. วันมูหะมัดนอร์ มะทา 
  2. ทวี สอดส่อง

#พลังประชารัฐ 1 คน  ได้แก่ ประวิตร วงษ์สุวรรณ

#เสรีรวมไทย 1 คน  ได้แก่ เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส

#ไทยสร้างไทย 1 คน  ได้แก่ สุดารัตน์ เกยุราพันธ์

#ชาติไทยพัฒนา 1 คน ได้แก่ วราวุธ ศิลปอาชา

#ชาติพัฒนากล้า 1 คน ได้แก่ วรรณรัตน์ ชาญนุกูล

#เป็นธรรม 1 คน ได้แก่ กัณวีร์ สืบแสง

#ประชาธิปไตยใหม่ 1 คน ได้แก่ สุรทิน พิจารณ์

#ท้องที่ไทย 1 คน ได้แก่ บัญชา เดชเจริญศิริกุล

#พลังสังคมใหม่ 1 คน ได้แก่ เชาวฤทธิ์ ขจรพงศ์กีรติ

#ครูไทยเพื่อประชาชน 1 คน ได้แก่ ปรีดา บุญเพลิง

#พรรคใหม่ 1 คน  ได้แก่ กฤกิทัช แสงธนโยธิน

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่