การเลือก 22 พ.ค.คุยรายละเอียดเอ็มโอยูตั้งรัฐบาลก้าวไกล
รศ.ยุทธพร : มองปรากฎการณ์นี้ว่า แสดงนัยทางการเมืองอย่างชัดเจน เชื่อว่าทั้ง พรรคก้าวไกล เพื่อไทย และพรรคร่วมตั้งใจเลือกวันที่ 22 พ.ค.นี้ เพราะสะท้อนวันรัฐประหารปี 2557
และหากย้อนไปเมื่อวันที่ 17 พ.ค.ที่ผ่านมา การนัดพูดคุยเพื่อหารือการจัดตั้งรัฐบาล ก็เลือกร้านอาหารที่ถนนสุโขทัย ที่เคยใช้เป็นสถานที่ในปี 2531 เคยใช้เป็นสถานที่จัดตั้งรัฐบาลพล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ หลังจากรัฐบาล พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ อยู่ในรัฐบาลมาอย่างยาวนาน
เป็นการสะท้อนนัยทางการเมืองอย่างชัดเจน เป็นการเลือกวันที่ 22 พ.ค.ที่ครบรอบ 9 ปีรัฐประหาร เชื่อว่ามีการวางไทม์ไลน์ในแต่ละวันที่เลือกหารือพูดคุย เรียกว่าสัญญวิทยาทางการเมือง
สำหรับประเด็นนี้เรียกว่าสัญวิทยาทางการเมือง เพราะไม่ใช่การตลาดเท่านั้น แต่เป็นการสะท้อนถึงสัญญะวิทยา เครื่องมือในการสื่อสารการเมืองกับผู้คนที่เกี่ยวข้อง
เป็นไปได้หรือไม่ที่จะไม่แบ่งเค๊กโควตาการเมือง?
รศ.ยุทธพร : เนื่องจากการเมืองที่จะหนีโควตาไม่พ้น แม้พรรคก้าวไกล ฝันจะทำการเมืองแบบมิติใหม่ แต่อาจจะไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ และพรรคก้าวไกลก็พยายามเคลียร์ในแต่ละพรรค
ต้องยอมรับว่าในพรรคการเมืองก็มีมุ้ง ซึ่งมุ้งทางการเมืองก็ไม่ใช่ว่าจะเห็นตรงกันทั้งอุดมการณ์ทางการเมือง เพราะจะมีจุดยืนทางการเมืองที่ต่างกันไป และตรงนี้อาจจะทำให้ผลประโยชน์ทางการเมือง เป็นตัวกำหนดโควตารัฐมนตรี
มาตรา 112 เดดล็อกใหญ่
รศ.ยุทธพร : นอกจากนี้นักวิชาการทางการเมือง ยังมองว่ามาตรา 112 อาจเป็นเดด ล็อกทางการเมือง เพราะถือเป็นเป็นประเด็นละเอียดอ่อนและเป็นจุดอ่อน เพราะจุดยืนแต่ละพรรคในมาตรานี้ ไม่ว่าจะเป็นท่าทีของพรรคเพื่อไทย รวมถึง ส.ว.บางส่วนก้ไม่ยอมรับในประเด็นนี้
เมื่อถามว่านายพิธา ประกาศตัวเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 และเร่งจัดตั้งรัฐบาลเร็วไปหรือไม่ รศ.ยุทธพร กล่าวว่า การที่ประกาศตัวก่อน มีผลดีมากกว่า เพราะถ้าไปถึงกกต.รับรองผลการเลือกตั้ง และอาจมีตัวเลขต่ำกว่านี้จะทำให้เสียงแตกไปกว่านี้
ส่วนการที่ดึงพรรคเล็กๆ ที่มี 1 เสียงเข้ามาเพิ่ม เชื่อว่าไม่ได้ส่งผลต่อเสถียรภาพของรัฐบาล แต่แรงกดดันน่าจะมาจากพรรคใหญ่มากกว่า เพราะมีความแตกต่างกันเยอะใน 2 พรรคใหญ่ และที่เหลือเป็นพรรคจิ๋วมากกว่า ดังนั้นจึงไม่น่าห่วงกับสมการการเมืองตอนนี้ ต่างจากปี 2562 พรรคเล็กมีนัยเพราะเสียงปริ่มน้ำอยู่ทำให้พรรคจิ๋วมีนัย
การมีเอ็มโอยู จะส่งผลดีอย่างไรบ้าง
รศ.ยุทธพร : นักวิชาการ ระบุว่าการทำเอ็มโอยูสะท้อนให้เห็นเรื่องความไม่มั่นใจในเรื่องกติกา และสถานการณ์ทางการเมือง ซึ่งโดยธรรมเนียมปฏิบัติต้องมีความไว้วางใจในพรรคร่วมรัฐบาล แต่พอมีเอ็มโอยู เพราะว่ากติกาทำให้พลิกได้จากรัฐธรรมนูญปี 2560 แต่ละสถานการณ์อาจพลิกเกมได้ในแต่ละวัน แต่ละสถานการณ์ เป็นส่วนที่สะท้อนให้เห็นว่าพรรคก้าวไกลอาจต้องความมั่นใจในส่วนนี้ และทำให้คนได้เห็นภาพว่าตรงนี้เป็นสัญญาประชาคมที่ออกมาจากพรรคร่วมรัฐบาล
“พิธา” จะเป็นได้นายกรัฐมนตรีคนที่ 30 หรือไม่
รศ.ยุทธพร : ผมคิดว่า 50/50 โดย 50% นั้น ยังมีอีกหลายด่านที่นายพิธา ต้องฝ่าไปทั้งการประกาศรับรองผลจาก กกต.เป็นปัจจัยแปรผันที่เปลี่ยนได้ถ้าสถานการณ์ทางการเมืองเปลี่ยน รวมทั้งการเคลียร์ในแต่ละมุ้ง ผ่านด่านการเมืองแบบไทยๆ พรรคเดียวกันแต่คนละขั้วดังนั้นพรรคก้าวไกลถ้าเคลียร์ในแต่ละพรรคอาจจะเคลียรได้
ยากคือมุ้งทางการเมือง ทุกพรรคอาจจะเคลียร์ได้ เพราะผลประโยชน์และจุดยืนทางการเมืองก็แตกต่างกัน สุดท้ายถ้าเคลียร์ไม่ได้ก็จะกลายเป็นการเมืองแบบเดิม คือโควตารัฐมนตรีที่พรรคก้าวไกล ก็ไม่อยากให้เป็นแบบนี้
และสุดท้ายส.ว.250 เสียงจะเอาอย่างไร ทิศทาง เพราะตอนนี้หากจะชวนพรรคภูมิใจไทย เข้ามาร่วมเพื่อปิดสวิตซ์ ส.ว.ก็ยากแล้วเพราะเขาปฏิเสธการร่วมตั้งรัฐบาล แต่จะยกมือโหวตให้หรือไม่
รวมถึงการกลับมาของนายทักษิณ ชินวัตร จะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองหรือไม่ เพราะกลับมาในช่วงการจัดรัฐบาลพอดี ซึ่งทั้ง 4 ปัจจัยถือเป็นอีก 50% ที่สะท้อนว่านายพิธา ต้องฝ่าด่านไปเป็นนายกรัฐมนตรี
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
เลือกตั้ง2566: ถอดรหัส “22 พ.ค.”ครบรอบ 9 ปีรัฐประหารสู่วันนับหนึ่งรัฐบาลก้าวไกล
เลือกตั้ง2566 : ศัพท์ใหม่การเมืองไทย “MoU” ที่รัฐบาลก้าวไกลใช้
เลือกตั้ง2566 : รู้จัก “พรรคใหม่” เสียงที่ 314 ร่วมตั้งรัฐบาลก้าวไกล