หน้าแรก Voice TV ‘เอกราช’เปิดเอกสารไอทีวีเลิกจ้าง พนง. ยันชัดเลิกกิจการสถานีโทรทัศน์

‘เอกราช’เปิดเอกสารไอทีวีเลิกจ้าง พนง. ยันชัดเลิกกิจการสถานีโทรทัศน์

68
0
‘เอกราช’เปิดเอกสารไอทีวีเลิกจ้าง-พนง.-ยันชัดเลิกกิจการสถานีโทรทัศน์

‘เอกราช’ ว่าที่ ส.ส.กทม. เขตดอนเมือง พรรคก้าวไกล เปิดเอกสารสมัยเป็นพนักงานไอทีวี ระบุชัดเลิกกิจการธุรกิจสถานีโทรทัศน์ไอทีวีนับแต่ 8 มี.ค. 2550 วอนให้ความเป็นธรรม ‘พิธา’ ตามหลักนิติรัฐ

วันที่ 11 มิ.ย. 2566 เอกราช อุดมอำนาย ว่าที่ ส.ส.กทม. พรรคก้าวไกล ในฐานะอดีตพนักงาน บจม.ไอทีวี โพสต์เฟซบุ๊กพร้อมเอกสารเลิกงานพนักงาน บมจ.ไอทีวี เมื่อครั้งตัวเองยังเป็นพนักงานฝ่ายข่าวของไอทีวี โดยระบุว่ “ผมสะเทือนใจไอทีวีตกเป็นเหยื่อทางการเมืองอีกครั้ง  ผมทำงานที่แรกก็ที่ไอทีวี เริ่มต้นจากเป็นนักศึกษาฝึกงาน โต๊ะผู้ประกาศข่าว ของสถานีโทรทัศน์ไอทีวี เมื่อปี 2548 จากนั้นได้บรรจุเป็นพนักงานประจำของสถานีในตำแหน่งครีเอทีฟ รายการร้ามชำยามเช้า จากนั้นในปี 2549 ตนเองได้ย้ายมาอยู่ที่ฝ่ายข่าวไอทีวี รับผิดชอบโต๊ะข่าวสังคม รายการข่าวเที่ยงวัยทีน จนกระทั่งสถานีโทรทัศน์ไอทีวี ถูกยกเลิกสัญญาสัมปทานในวันที่ 7 มี.ค. 2550 ในสมัยรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ผมต้องตกงานเหมือนกับพนักงานไอทีวีนับพันคน”

เอกราช ระบุว่า ก่อนที่ตนจะทำงานด้านสื่ออีกระยะ ไปประกอบธุรกิจส่วนตัว เคลื่อนทางการเมืองในฐานะคนอยากเลือกตั้ง และได้มาทำงานการเมืองกับพรรคก้าวไกล แต่เมื่อตน ได้รับเลือกเข้ามาทำหน้าที่ ส.ส.เขตดอนเมือง ของพรรคก้าวไกล และจะทำหน้าที่เพื่อโหวตให้ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล เป็นนายกรัฐมนตรี ตามที่ประชาชนให้ความไว้วางใจเลือกผมมาทำหน้าที่นี้และพรรคก้าวไกลได้คะแนนเสียงมาเป็นอันดับ 1 มากถึง 14 ล้านเสียง แต่กลับกลายเป็นว่า ประเด็นหุ้นไอทีวี ของพิธา กลับถูกนำมาใช้ในทางการเมือง 

“ผมไม่ได้ปฏิเสธการตรวจสอบตามสิทธิในรัฐธรรมนูญและกฎหมาย แต่ในฐานะอดีตคนไอทีวีรู้สึกเจ็บปวดที่ครั้งหนึ่งไอทีวีเคยตกเป็นเครื่องมือทางการเมือง จนกระทั่งต้องปิดตัวลงไป และครั้งนี้ การที่หุ้นไอทีวี ซี่งเคยเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่ประชาชนและนักลงทุน สามารถซื้อหุ้นได้อย่างเปิดเผย มีผู้ถือหุ้นนับหมื่นราย และถูกพักการซื้อขาย รวมทั้งยุติการเป็นสถานีโทรทัศน์หรือทำธุรกิจสื่อ ตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีสมัย พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ มีมติให้ยกเลิกสัญญาสัมปทานเมื่อวันที่ 7 มี.ค. 2560 หรือ กว่า 16 ปีแล้ว ส่วนหุ้นก็หยุดการซื้อขายมายาวนาน จนออกจากการเป็นบริษัทจดทะเบียนในปี 2557”

การดำเนินธุรกิจเป็นเพียงการต่อสู้คดีตามกฎหมายเท่านั้น มีรายได้จากดอกเบี้ยเงินต้นที่ไอทีวีเคยประกอบกิจการเท่านั้น แต่ขณะนี้กลับมีความพยายามที่จะทำให้ส่งผลในทางที่ไม่เป็นคุณกับ พิธา 

นอกเหนือจากการตรวจสอบตามสิทธิและกฎหมาย มีการแก้ไขเอกสารต่างๆ เพื่อยังทำให้เห็นว่าไอทีวียังทำธุรกิจสื่อ รวมทั้งมีการทำหนังสือไปยังศาลปกครองสูงสุดเพื่อเร่งรัดคดีไอทีวี ให้ตัดสินภายในเดือนนี้ เพื่อให้มีผลบางอย่างทางกฎหมายกับ พิธาโดยตรง 

“ผมรู้สึกสะเทือนใจที่มีความพยายามทำให้ไอทีวีฟื้นคืนชีพเพื่อมีจุดประสงค์เป็นเครื่องมือทางการเมืองอีกครั้ง เพื่อขัดขวางการทำหน้าที่ผู้แทนราษฏรและนายกรัฐมนตรีของ พิธา ที่ได้รับความไว้วางใจจากประชาชน”

เอกราช ย้ำว่า “ผมจึงอยากเรียกร้องในฐานะอดีตคนไอทีวีที่เคยประสบชะตากรรมต้องตกงานและเจ็บปวดกับสิ่งที่เกิดขึ้นในปี 2550 ขอให้หน่วยงานต่างๆให้ความเป็นธรรมกับ พิธา และพิจารณาอย่างรอบคอบตามหลักของกฎหมายที่มีนิติรัฐและนิติธรรม เพราะมิใช่แค่อดีตคนไอทีวีอย่างตนที่เสียใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น แต่เป็นการใช้กระบวนการกฎหมายมาทำลายความตั้งใจทำงานทางการเมืองของคุณพิธา และทำลายความเชื่อมั่นและศรัทธาที่ประชาชนได้เลือกตั้งให้ความไว้วางใจพรรคก้าวไกลและคุณพิธาอีกด้วย รวมทั้งจะทำให้ในวงการกฎหมาย ซึ่งปัจจุบันตนก็ทำหน้าที่ในฐานะทนายความและนักกฎหมายคนหนึ่งว่า หลักนิติรัฐและนิติธรรมที่ควรจะเป็น และเป็นกรณีศึกษาอีกครั้งหรือไม่ และเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญที่ห้ามถือครองหุ้นสื่อ แท้ที่จริงเพื่อการป้องกันผลประโยชน์และส่วนได้เสียทางการเมือง หรือ ใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองมากกว่า”

ทั้งนี้เอกสารเลิกจ้างเมื่อครั้ง เอกราช ได้ถูกเลิกจ้าง ลงนามโดย ทรงศักดิ์ เปรมสุข กรรมการผู้จัดการ บมจ.ไอทีวี พร้อมระบุข้อความว่า “เนื่องด้วยสำนักงานปลัดสำนักนายกฯ (สปน.) ได้บอกเลิกสัญญาเข้าร่วมงานและดำเนินการสถานีโทรทัศน์ระบบ ยู เอช เอฟ ระหว่าง สปนและ บมจ.ไอทีวี (“บริษัท”) เป็นเหตุให้บริษัทไม่สามารถประกอบกิจการและดำเนินธุรกิจสถานีโทรทัศน์ไอทีวีต่อไปได้ตามกฎหมาย และทำให้บริษัทต้องยุติการประกอบธุรกิจสถานีโทรทัศร์ ตั้งแต่วันที่ 8 มี.ค. 2550 เป็นต้นไป”

ไอทีวี IMG_5492.jpeg

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่