หน้าแรก Voice TV 'มายด์-ไผ่' มองปัญหากรณี 'หยก' หวังเป็นบทเรียนใหญ่ พาสังคมไทยออกจากกะลา

'มายด์-ไผ่' มองปัญหากรณี 'หยก' หวังเป็นบทเรียนใหญ่ พาสังคมไทยออกจากกะลา

48
0
'มายด์-ไผ่'-มองปัญหากรณี-'หยก'-หวังเป็นบทเรียนใหญ่-พาสังคมไทยออกจากกะลา

‘มายด์-ไผ่’ ประสานเสียง ชี้ปัญหา ‘หยก’ ไม่สวมชุดนักเรียนเป็นสิทธิ วิพากษ์วิจารณ์ได้ แต่ต้องเคารพ หวังบทเรียนครั้งนี้ จะพาสังคมออกจากกะลา ชูถึงเวลาปฏิรูประบบการศึกษา

พี่ลานหน้าหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC) กลุ่มทะลุฟ้าและราษฎร นำโดย ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้จัดการ โครงการอินเตอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน หรือ ilaw , ภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล แกนนำราษฎร 2563 และ จตุภัทร บุญภัทรรักษา (ไผ่ ดาวดิน) แกนนำกลุ่มทะลุฟ้า ได้จัดกิจกรรม “ทวงผลเลือกตั้ง ร่วมกดดัน กกต.” หลังครบรอบ 33 วัน การเลือกตั้งเมื่อ 14 พฤษภาคม 66 

ก่อนทำกิจกรรม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล หรือ มายด์ แกนกลุ่มคณะราษฎร กล่าวถึงกรณีของ “หยก”เยาวชนอายุ15 ปี ที่ถูกโรงเรียนปฏิเสธให้เข้าเรียนว่า ตนเองสนับสนุนการเคารพสิทธิในเนื้อตัว และร่างกาย

ส่วนเรื่องการไม่แต่งกายไปเรียนก็มีมาตลอด มีหลายโรงเรียนที่ปลดล็อคเรื่องนี้ไปแล้ว จะแต่งชุดนักเรียนไปเรียน ก็ไม่เกี่ยวว่าจะได้รับความรู้หรือไม่ ดังนั้นจึงเห็นว่า การเคารพสิทธิเนื้อตัวร่างกายเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องช่วยกันทำให้สังคมเข้าใจว่า นักเรียนมีสิทธิที่จะกำหนด ว่าตนเองจะแต่งกายอะไรไปเรียนก็ได้ รวมทั้งชุดนักเรียนก็เป็นที่ถกเถียงกันมาเยอะ ว่าจะเป็นการเพิ่มภาระให้กับผู้ปกครองหรือไม่ สังคมต้องทำความเข้าใจไปด้วยกัน หากสังคมจะวิพากษ์วิจารณ์อย่างไรก็ขอให้เคารพสิทธิของหยกด้วย 

ขณะที่ จตุภัทร บุญภัทรรักษา หรือ ไผ่ กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อน รุ่นของตนเองก็เคยผ่านระบบการศึกษามาก่อน จึงเห็นว่า เรื่องที่เกิดขึ้นกับหยก ควรนำมาถกเถียง เพื่อหาสรุป และหาแนวทางปฏิรูปการศึกษาของไทย ให้สอดคล้องกับสังคมปัจจุบัน

แต่ไม่สามารถจินตนาการถึงโลกใหม่ที่อยากจะเห็นได้ แต่เด็กรุ่นใหม่เขาสามารถก้าวข้ามเรื่องเหล่านี้ได้ จึงยืนหยัด และแสดงออก 

สิ่งที่เกิดขึ้นกับหยก ไม่ใช่การท้าทาย แต่เป็นการตั้งคำถามกับสังคมไทยว่า สังคมพร้อมจะเปลี่ยนแปลงแล้วหรือยัง และสิ่งที่จะเปลี่ยนไม่ใช่สถาบันการเมือง แต่คือการเปลี่ยนสังคมการศึกษา จารีต และวัฒนธรรม ซึ่งเห็นว่ากรณีที่เกิดขึ้นท้าทายสังคมยุคเก่า ปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นก็จะเกิดขึ้นถกเถียงกันต่อไป และต้องมาเรียนรู้กับสังคมไทยที่ถูกกดทับ ตนเองเชื่อว่าระบบการศึกษาก็เละถึงคราวที่จะต้องรื้อระบบการศึกษามาปฏิรูปการศึกษาให้เด็กทุกคนภูมิใจ และส่งเสริมให้เขาได้เข้าถึง และได้ใช้ตัวตนในแบบที่อยากเป็น

ไผ่ กล่าวอีกว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นครั้งนี้ คือการถกเถียงกันเพื่อหาทางออก ส่วนวิธีการสื่อสาร และเคลื่อนไหวจะทำอย่างไรก็ว่ากันไปตามวิธีการ แต่ในหลักการขอสนับสนุน และยืนยันในเรื่องนี้ เพราะสังคมไทยกำลังเปลี่ยนแปลง เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับกัน

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่