หน้าแรก Thai PBS “ชวน” ระบุ “ประธานสภาฯ” ต้องเป็นกลาง ไม่ได้เปรียบอะไร

“ชวน” ระบุ “ประธานสภาฯ” ต้องเป็นกลาง ไม่ได้เปรียบอะไร

82
0
“ชวน”-ระบุ-“ประธานสภาฯ”-ต้องเป็นกลาง-ไม่ได้เปรียบอะไร

วันนี้ (23 มิ.ย.2566) นายชวน หลีกภัย ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ระบุถึงการโหวตเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎร และนายกรัฐมนตรีว่า โดยทั่วไปแล้ว พรรคการเมืองที่มีเสียงข้างมาก ก็จะเป็นประธานสภาฯ และเป็นนายกรัฐมนตรี

แต่การเลือกตั้งครั้งนี้ พรรคที่ได้ อันดับ 1 กับอันดับ 2 ร่วมรัฐบาลเดียวกัน จึงทำให้เกิดปัญหาว่า ต่างฝ่ายต่างก็ต้องการประธานสภาผู้แทนราษฎร ทั้งนี้ตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร ไม่ได้มีผลให้พรรคการเมืองใดได้เปรียบ ในการเสนอกฎหมาย เพราะประธานสภาฯ ต้องเป็นกลาง ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้

จากประสบการณ์ 55 ปี ไม่ว่า ประธานสภาฯ จะมาจากที่ไหน โดยทั่วไปก็ต้องเป็นกลาง อาจจะมีเพียงหนึ่งถึงสองคน ที่เคยมีปัญหาอันเนื่องมาจากรัฐบาลสั่งให้ทำอะไรที่ไม่ค่อยถูกต้อง แต่ปัจจุบันไม่พบว่า มีลักษณะดังกล่าว รวมไปถึงการจะนำฎหมายฉบับใดขึ้นมาพิจารณาก่อน ก็ไม่สามารถทำได้

หากใครที่เป็นรัฐบาลจะสามารถเสนอกฎหมายได้มากเป็นร้อยฉบับ และสามารถขอให้สภา พิจารณาเป็นเรื่องด่วน หรือ กรณีเป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเงิน

ดังนั้นการจะใช้ตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร เอาเปรียบพรรคอื่นทำได้ยาก เพราะทุกอย่างมีข้อกำหนดตามรัฐธรรมนูญ และคนที่เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎรก็ต้องปฏิบัติตาม

นายชวนกล่าวถึงกรณีการพิจารณากฎหมายมาตรา 112 ที่ผ่านมาว่า เรื่องการยกเลิกและแก้ไขกฎหมายมาตรา 112 นั้น นายสุชาติ ตันเจริญ เป็นผู้ดูแลกฎหมาย เพราะได้มีการกระจายอำนาจ หากเป็นกรณีกระทู้ถามญัตติทั่วไป นายศุภชัย โพธิ์ศุภ จะเป็นผู้ดูแล

แต่กรณีพระราชบัญญัติทุกฉบับ นายสุชาติ จะเป็นผู้ดูแล ซึ่งตลอด 4 ปีไม่มีปัญหามีเพียงกฎหมายฉบับนี้ฉบับเดียวเท่านั้น นายสุชาติ มีความเห็นว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีการพิจารณากันอย่างรอบคอบ

ไม่ว่าใครจะมาเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกทุกคนจะต้องช่วยกัน ให้ความร่วมมือประธานสามารถทำงานไปได้อย่างเข้มแข็ง ไม่ว่าจะเป็นคนใหม่หรือคนเก่าก็ตาม

นายชวนกล่าวต่อว่า สำหรับการเสนอชื่อตำแหน่งประธานสภา ขึ้นอยู่กับที่ประชุม เช่นกรณีสภาชุดที่แล้ว พรรคประชาธิปัตย์ก็เป็นพรรคในอันดับที่ 4-5 โดยทั่วไปน่าจะเป็นของพรรคอันดับหนึ่ง หรือพรรคแกนนำ แต่ครั้งที่แล้วสามารถตกลงกันได้ และไม่ถือว่า เป็นการตัดโควตารัฐมนตรีของพรรคร่วม

สภาชุดที่แล้ว ว่างเว้นจากการมีสภาฯ มา 4-5 ปี และสมาชิกเกินครึ่งเป็นคนใหม่ ไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อน ดังนั้นจึงต้องประคับประคอง และแนะนำให้คำปรึกษาต่าง ๆ จึงเห็นว่าในวันสุดท้ายของการประชุมมีสมาชิกบางคนลุกขึ้นมากล่าวขอบคุณ เพราะที่ผ่านมาให้คำแนะนำด้วยความปรารถนาดี

แต่สภาชุดนี้แตกต่างจากชุดที่ผ่านมา เพราะแม้จะมีส.ส.ใหม่เกินครึ่ง แต่พรรคการเมืองต่าง ๆ ก็ผ่านประสบการณ์การทำงานในสภามาแล้ว 4 ปี

ไม่ว่าใครจะมาเป็นประธานสภาฯ ส.ส.ก็จะต้องทำหน้าที่ ยืนหยัดการทำงานตามหลักประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา

อ่านข่าวอื่นๆ

จับกระแสการเมือง 23 มิ.ย.2566 : เพิ่มแรงกดดันพรรคก้าวไกล เมื่อพรรคร่วมรัฐบาลเดิมส่ง “สุชาติ” ชิงประธานสภาฯ

มติเอกฉันท์ชาวโซเชียล ให้ปรับปรุงภูมิทัศน์คลองผดุงฯ

ผู้ว่าฯแม่ฮ่องสอน เปิดแนวทางช่วยเหลือผู้หนีภัยสู้รบในเมียนมา

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่