หน้าแรก Voice TV 'เพื่อไทย-ก้าวไกล' นัดถกปมเก้าอี้ประธานสภาฯ 28 มิ.ย. – บี้ 'ประยุทธ์' โชว์สปิริตออกพ้นบ้านหลวง

'เพื่อไทย-ก้าวไกล' นัดถกปมเก้าอี้ประธานสภาฯ 28 มิ.ย. – บี้ 'ประยุทธ์' โชว์สปิริตออกพ้นบ้านหลวง

87
0
'เพื่อไทย-ก้าวไกล'-นัดถกปมเก้าอี้ประธานสภาฯ-28-มิย.-–-บี้-'ประยุทธ์'-โชว์สปิริตออกพ้นบ้านหลวง

‘ประเสริฐ’เผยนัดคุย ‘เพื่อไทย-ก้าวไกล’ ปมเก้าอี้ประธานสภาฯ 28 มิ.ย.นี้ คาดโหวตเลือกประธานสภาฯ 4 ก.ค. ส่วน 29 มิ.ย.นัดถก8 พรรคร่วมรัฐบาล ตอบไม่ได้ ส.ว.เตรียมโหวตพลิกขั้วรัฐบาล ย้ำเป็นหน้าที่ของ ‘ก้าวไกล’ ต้องทำการบ้านหนักโหวตเลือกนายกฯ บี้ ‘ประยุทธ์’ โชว์สปิริตออกพ้นบ้านพักหลวง ข้องใจหวงไม่ยอมออกหวงบ้านพักหลวง

วันที่ 23 มิ.ย. 2566 ที่พรรคเพื่อไทย ประเสริฐ จันทรรวงทอง ส.ส.บัญชีรายชื่อ เลขาธิการพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงประเด็นตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่ยังคงต้องมีการพูดคุยกับพรรคก้าวไกล หลังเสียงส่วนใหญ่ในที่ประชุมสัมมนา ส.ส. พรรคเพื่อไทยเมื่อวันที่ 21 มิ.ย.ที่ผ่านมา ต้องการให้พรรคเพื่อไทยได้ตำแหน่งประธานสภาฯว่า เรื่องนี้ขอแยกเป็นสองประเด็น ก่อนหน้าที่จะมีประชุมเมื่อวันที่ 21 มิ.ย.นี้ พรรคเพื่อไทยมีจุดยืน 2 ข้อ คือ ให้พรรคที่มีเสียงข้างมากได้ตำแหน่งประธานสภาฯ ส่วนพรรคลำดับสองได้ ตำแหน่งรองประธานสภาทั้งสองคน และเมื่อประกาศจุดยืน ได้มีความเห็นจาก ส.ส. ที่มีการเปิดเวทีให้แสดงความคิดเห็น ซึ่งเรื่องนี้พรรคได้รับเรื่องมาแล้ว คณะกรรมการบริหารพรรค ได้นำเรื่องเข้าสู่กระบวนการรับฟังความคิดเห็น ที่จะมีประชุมคณะกรรมการบริหารในวันที่ 27 มิ.ย.นี้

ประเสริฐ ระบุว่า เบื้องต้นได้พูดคุยกับ ชัยธวัช ตุลาธน เลขาธิการพรรคก้าวไกล ว่ามีการจะนัดพูดคุยเกี่ยวตำแหน่งประธานสภาฯ ในวันที่ 28 มิ.ย.นี้ที่พรรคเพื่อไทย โดยเป็นการนัดหมายเพียง 2 พรรคการเมือง คือพรรคเพื่อไทยและพรรคก้าวไกลเท่านั้น ก่อนหน้านี้พรรคก้าวไกลก็ยังไม่มีการตอบรับหรือปฏิเสธข้อเสนอจุดยืนของความเห็นส่วนใหญ่ของสมาชิก ก่อนยืนยันว่าเรื่องนี้ต้องพูดคุยกันก่อนให้มีความชัดเจน ทั้งนี้ พรรคเพื่อไทยจะรับฟังเสียง ส.ส.อีกครั้ง ก่อนเพื่อหาข้อสรุปและนำไปหารือกับพรรคก้าวไกลต่อไป 

“พรรคเพื่อไทยก็ยังคงยึดตามหลักการที่แถลงไปก่อนหน้านี้ และหาก ส.ส. ส่วนใหญ่เห็นค้านก็ต้องทำความเข้าใจ อย่างไรก็ตามขอให้ได้ข้อยุติก่อน อย่างบางข้อพรรคก็รับฟังและยอมรับผิดในบางเรื่องที่ไม่ได้รับฟังความเห็นของบรรดาสมาชิกก่อน แต่ตอนนี้กระบวนการทุกอย่างยังไม่จบ และยังไม่ได้พูดคุยกับพรรคก้าวไกลอย่างเป็นทางการ และคาดว่าการเลือกตำแหน่งประธานสภาฯจะเกิดขึ้นในวันที่ 4 ก.ค. หลังมีรัฐพิธีเปิดประชุมรัฐสภา” ประเสริฐ กล่าว 

ประเสริฐ IMG_6383.jpeg

ถามว่า หลังจากนี้ในวันลงมติเลือกประธานสภาฯ ถ้ามีสมาชิกของพรรคเพื่อไทยโหวตสวนมติ พรรคจะมีบทลงโทษอย่างไร ประเสริฐ บอกว่า แม้จะเป็นเอกสิทธิ์ ส.ส. แต่พรรคก็มีข้อบังคับ และการดำเนินการของพรรคเพื่อไทยที่ผ่านมา แม้จะมีความเห็นที่แตกต่างกัน แต่เรามีการถกเถียงในที่ประชุมจนได้ข้อยุติก่อนวันโหวตจริงโดยต้องให้เสียงออกเป็นเอกภาพ

ส่วนกรณีที่มีสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.)บางคนออกมาปูดข่าวถึงกระบวนการพลิกขั้วรัฐบาล ประเสริฐ บอกว่า ตัวเองไม่ทราบ เพราะสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ระยะหลังไม่ออกมาให้ความเห็น เกี่ยวกับการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี ซึ่งตัวเองไม่ขอก้าวล่วงในความเห็นของสมาชิกวุฒิสภา

เมื่อถามถึงความกังวลถึงเสียงโหวตในสภา ทั้งเรื่องประธานสภาและนายกรัฐมนตรี ประเสริฐ มองว่าที่จริงแล้วเรื่องนี้เป็นเรื่องที่พรรคก้าวไกลต้องไปทำการบ้าน ซึ่งก็ทราบว่าพรรคก้าวไกลทำการบ้านอย่างหนัก เพราะขณะนี้เสียงของ 8 พรรคมี 312 เสียง ดังนั้นต้องหาอีก 64 เสียงในการลงมติเห็นชอบผู้สมควรเป็นนายกฯ และทราบว่า วันที่ 29 มิ.ย.นี้ จะมีนัดพูดคุยร่วมกันกับ 8 พรรคร่วมจัดตั้งรัฐบาล โดยจะมีการสรุป และประเมินสถานการณ์ทางการเมืองในการจัดตั้งรัฐบาล และเชื่อว่าพรรคก้าวไกลจะมีข้อมูลที่ชัดเจนมาอัพเดตมากขึ้น โดยจะนัดประชุมกันที่พรรคก้าวไกล 

ถามถึงตำแหน่งรองประธานสภาฯ ที่มีกระแสข่าวก่อนหน้านี้ว่าพรรคเพื่อไทยจะขอตำแหน่งรองประธานสภาฯ 2 คน แต่พรรคอันดับสามอย่างพรรคประชาชาติก็มองว่าควรได้ตำแหน่งรองประธานสภาฯ ประเสริฐ ระบุว่า คะแนนของพรรคอันดับ 1 และอันดับ 2 มีความใกล้เคียงกัน และมีความห่างกับพรรคลำดับที่ 3 มาก แต่เชื่อว่าพรรคก้าวไกลและพรรคประชาชาติจะต้องมีการพูดคุยหาทางออกในเรื่องนี้ร่วมกัน ก่อนย้ำว่าพรรคเพื่อไทยได้แสดงจุดยืนชัดเจน ว่า หากเป็นพรรคลำดับสองจะได้ตำแหน่งประธานสภาต้องได้ทั้งสองคน

ประเสริฐ IMG_6386.jpeg

‘ประเสริฐ’ บี้ ‘ประยุทธ์’ โชว์สปิริตย้ายออกจากบ้านพักหลวง ข้องใจหวงอะไร

ประเสริฐ ยังถึงกรณี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนรี และ รมว.กลาโหมยืนยันจะไม่ย้ายออกจากบ้านหลวง ใน ร.1 รอ. เนื่องจากมีระเบียบของกองทัพบกว่า เนื่องจากตนเป็นคนอภิปรายไม่ไว้วางใจพลเอกประยุทธ์ ในกรณีนี้ ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่าการอยู่บ้านหลวงถูกต้อง โดยใช้ระเบียบบังคับ ว่าด้วยการพักอาศัย ข้าราชการกองทัพบก ซึ่งครั้งที่ตนยื่นเรื่องต่อศาลไป ว่าพลเอกประยุทธ์ เป็นนักการเมือง เนื่องจากเป็นนายกรัฐมนตรี และมีพรรคการเมืองที่สนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรี ก็ถือว่าเป็นข้าราชการการเมือง ต้องใช้กฎหมายรัฐธรรมนูญบังคับ เนื่องจากประโยชน์ขัดกัน ไม่ควรเอาระเบียบกองทัพบทมาพิจารณา แต่ครั้งนี้ตนเห็นว่า พลเอกประยุทธ์ พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแล้ว โดยวุฒิภาวะควรแสดงสปิริต ว่าไม่ควรอยู่ในบ้านพักหลวง เพราะหากจะนับว่าเป็นอดีตผู้บัญชาการทหารบก ต้องไปดูว่ามีข้าราชการที่เป็นผู้บัญชาการเกษียณอายุมีหลายคน ไม่เช่นนั้นก็ต้องมาอยู่เหมือนกัน ก่อนตั้งข้อสังเกตว่า 

“บ้านหลังนั้นคงจะมีอะไร เหมือนกับว่าหวงเหลือเกิน เพราะทราบว่าหลายเหตุการณ์ บ้านหลังนั้น เป็นที่ประชุมหารือของบุคคลสำคัญของ คสช. ผมคิดว่ากรณีบ้านหลวงท่านควรแสดงสปิริต” ก่อนย้ำอีกว่า ควรแสดงสปิริต” ประเสริฐ ระบุ 

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่