หน้าแรก Thai PBS คุมเกม กฎกติกาการเมือง “ประธานรัฐสภาไทย”

คุมเกม กฎกติกาการเมือง “ประธานรัฐสภาไทย”

79
0
คุมเกม-กฎกติกาการเมือง-“ประธานรัฐสภาไทย”

รัฐธรรมนูญของไทยตั้งแต่ พ.ศ.2535 จนกระทั่งฉบับปัจจุบัน 2560 มาตรา 98 กำหนดให้ “ประธานสภาผู้แทนราษฎร” เป็น “ประธานรัฐสภา” และให้ประธานวุฒิสภาเป็นรองประธานรัฐสภาโดยตำแหน่ง

ความสำคัญของตำแหน่งนี้ คือ การเป็นผู้นำชื่อนายกรัฐมนตรีขึ้นทูลเกล้าฯ ต่อพระมหากษัตริย์ หลังที่ประชุมรัฐสภาลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี เพื่อโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี ตามขั้นตอนของรัฐธรรมนูญ

คุณสมบัติของประธานสภาฯ 

ส.ส.ทุกคนมีคุณสมบัติในการเป็นประธานสภาฯ ทั้งสิ้น ไม่มีกฎหมายระบุวัยวุฒิ ว่าต้องอายุขั้นต่ำเท่าไร หรือต้องผ่านประสบการณ์อะไรมาบ้าง ขอแค่เป็นตัวแทนประชาชนจากการเลือกตั้งก็มีสิทธิเป็นประธานสภาฯ

ทั้งนี้รัฐธรรมนูญ มาตรา 116 วรรค 2 ระบุว่า ส.ส. คนใดที่ดำรงตำแหน่งประธานและรองประธานสภาฯ จะเป็นกรรมการบริหารหรือดำรงตำแหน่งใดในพรรคการเมืองในขณะเดียวกันไม่ได้ นอกจากนี้ มาตรา 118 (3) ยังห้ามดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี หรือข้าราชการการเมืองอื่นด้วย

ที่มาที่ไป ใครเลือก ประธานรัฐสภา 2566

  1. เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ได้แจ้งกราบเรียนเชิญ พล.ต.อ.วิโรจน์ เปาอินทร์ ส.ส. ที่มีความอาวุโสสูงสุด ด้วยอายุ 89 ปี ให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานสภาผู้แทนราษฎรชั่วคราว ในการประชุมเลือกประธานสภาฯ
  2. ประธานสภาฯ ชั่วคราว ชี้แจงขั้นตอนแนวทางการทำงานในวันประชุมสภาผู้ฯ ครั้งแรก
  3. ตามธรรมเนียมจะเสนอแนวทาง หลังจากมี พ.ร.ฎ.ให้เปิดสมัยประชุมสภาฯ
  4. หมายกำหนดการเสด็จพระราชดำเนินของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เปิดประชุมรัฐพิธีวันที่ 3 ก.ค.2566
  5. หลังรัฐพิธีเสร็จ จะประชุม ส.ว. และ ส.ส. เพื่อโหวตเลือกประธานของทั้ง 2 สภา

สำหรับขั้นตอนในวันประชุมสภาฯ ครั้งแรก หลังรัฐพิธี จะเริ่มต้นด้วยการอ่านพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ จากนั้นจะเป็นการกล่าวคำปฏิญาณตนของสมาชิกทุกคน ซึ่งขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญ หากสมาชิกคนใดไม่เข้าปฏิญาณตนในวันดังกล่าวจะถือว่ายังไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่

ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562 กำหนดให้การเลือกประธานสภาฯ มีวิธีการดังนี้

  1. สมาชิกแต่ละคนมีสิทธิเสนอชื่อสมาชิกได้ 1 ชื่อ
  2. โดยที่การเสนอนั้นต้องมีจำนวนสมาชิกรับรองไม่น้อยกว่า 20 คน
  3. ผู้ถูกเสนอชื่อ แสดงวิสัยทัศน์ต่อที่ประชุม
  4. ถ้ามีการเสนอชื่อผู้ใดเพียงชื่อเดียว ให้ถือว่าผู้ถูกเสนอชื่อนั้นเป็นผู้ได้รับเลือก
  5. ถ้ามีการเสนอชื่อหลายชื่อ ให้ออกเสียงลงคะแนนแบบลับ

การลงคะแนนแบบลับ คือ ให้สมาชิกเขียนชื่อบุคคลที่ถูกเสนอชื่อในกระดาษที่ “สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร” จัดเตรียมไว้ จากนั้นใส่ซองปิดผนึก และเจ้าหน้าที่จะขานชื่อสมาชิกทีละคน เพื่อให้นำซองที่บรรจุการเลือกของสมาชิกหย่อนในหีบลงคะแนน 

เมื่อสมาชิกหย่อนซองออกเสียงครบแล้ว จะตั้งกรรมการตรวจนับคะแนน จำนวน 5 คน ซึ่งเป็นตัวแทนจากพรรคการเมืองหลักพรรคละ 1 คน เพื่อตรวจนับคะแนนและประกาศผล โดยผู้ที่ถูกเสนอชื่อได้คะแนนสูงสุดจะได้รับตำแหน่งที่ประธานสภาฯ ทั้งนี้ การเลือกบุคคลให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวจะต้องเลือกประธานสภาฯ ให้แล้วเสร็จก่อน จึงจะเข้าสู่การเลือกรองประธานสภา คนที่ 1 และคนที่ 2 ตามลำดับ คาดว่าจะใช้เวลานานพอสมควร

สำหรับขั้นตอนในวันประชุมสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกหลังรัฐพิธี จะเริ่มต้นด้วยการอ่านพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภาจำนวน 250 คน จากนั้นจะเป็นการกล่าวคำปฏิญาณตนของสมาชิกทุกคน ซึ่งขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญ หากสมาชิกคนใดไม่เข้าปฏิญาณตนในวันดังกล่าวจะถือว่ายังไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่

ประธานสภาฯ มีหน้าที่อะไรบ้าง

  • เป็นประธานของที่ประชุมสภาฯ
  • กํากับดูแลการดําเนินกจการของสภาฯ 
  • ควบคุมการรักษาความสงบเรียบร้อยในที่ประชุมสภาฯ ตลอดถึงบริเวณสภาฯ
  • เป็นผู้แทนสภาฯ ในกิจการภายนอก
  • แต่งตั้งกรรมการเพื่อดำเนินกิจการใดๆ อันเป็นประโยชน์ต่อกิจการของสภาฯ
  • อำนาจและหน้าที่อื่นตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้หรอตามที่กําหนดไว้ในข้อบังคับนี้

รองประธานสภาฯ มีหน้าที่อะไรบ้าง

  • ช่วยประธานสภาฯ ในกิจการอันเป็นอำนาจหน้าที่ของประธานสภาฯ
  • ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ประธานสภาฯ มอบหมาย เมื่อไม่มีผู้ดํารงตําแหน่งประธานสภาฯ หรือมีแต่ไม่อยู่ หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้
  • กรณีที่มีรองประธานสภาฯ 2 คน ให้รองประธานสภาคนที่ 1 เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาฯ 
  • ถ้ารองประธานสภาฯ คนที่1 ไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานสภาฯ คนที่ 2 เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาฯ 

ในสภาฯ ชุดที่ผ่านมา มีญัตติหลายประเด็น ที่ไม่ได้ถูกนำเข้าสภาฯ เช่น ส.ส. 44 คน จากพรรคก้าวไกล ยื่นหนังสือถึง นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา เสนอแก้ไขกฎหมายคุ้มครองเสรีภาพในการแสดงออก 5 ฉบับ

1 ในนั้นคือ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 แต่ถูกโต้แย้งกลับโดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และประธานสภาฯ ว่ามีบทบัญญัติอาจขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 6 ที่บัญญัติว่า องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ เป็นต้น

อ่านข่าวเพิ่ม : 

“ปดิพัทธ์” มั่นใจทำหน้าที่ประธานสภาฯ-เชื่อ 2 พรรคเคลียร์จบ

“หมออ๋อง” ปดิพัทธ์ สันติภาดา ผู้ท้าชิงตำแหน่งประธานสภา จากก้าวไกล

ก้าวไกล แจ้งเลื่อนหารือเพื่อไทย ปม “ประธานสภา” วันนี้

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่