หน้าแรก Thai PBS นักวิชาการฟันธง “เพื่อไทย” กี่ฉากทัศน์ก็ไร้ก้าวไกล

นักวิชาการฟันธง “เพื่อไทย” กี่ฉากทัศน์ก็ไร้ก้าวไกล

75
0
นักวิชาการฟันธง-“เพื่อไทย”-กี่ฉากทัศน์ก็ไร้ก้าวไกล

รศ.ยุทธพร อิสรชัย อาจารย์ประจำสาขาวิชารัฐศาสตร์ ม.สุโขทัยธรรมาธิราช อธิบายฉากทัศน์ที่จะเกิดขึ้นหลังจาก “พิธา” ไม่ได้ไปต่อบนเส้นทางนายกฯ คนที่ 30 ของประเทศไทย ชี้ว่าในการฟอร์มทีมรัฐบาล เพื่อเสนอชื่อแคนดิเดตนายกฯ คนต่อไปนั้น 

99% อาจจะไม่ได้เห็นชื่อ พิธา เป็นนายกฯ แล้ว ด้วยเหตุผล เช่น การถูกสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ สส. จากศาลรัฐธรรมนูญ ยิ่งในสภาฯ ยิ่งพรรคก้าวไกลขณะนี้ไม่มีหัวเรืออยู่ในสภาฯ อีกด้วย และยิ่งมติที่ประชุมรัฐสภาบอกว่าเสนอชื่อพิธาเป็นนายกฯ ซ้ำไม่ได้ ก็เป็นการปิดทางพิธาแล้ว

ส่วนอีก 1% อาจจะมีคนไปร้องศาลรัฐธรรมนูญ ว่ามติในครั้งนี้จะขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ คงต้องมองกันอีกยาว แต่ก็เป็นเรื่องที่ยากแล้วที่จะเสนอชื่อพิธาอีกครั้ง

อ่าน : จับกระแสการเมือง: วันที่ 19 ก.ค. 2566 ยามอาทิตย์อัสดง คนดังเข้าสู่เข้ามุมอับชีวิต

เพื่อไทยไม่รอก้าวไกลแล้ว

หากตามฉากทัศน์ที่ก้าวไกลวางไว้ คือ การขอเวลาปิดสวิตช์ สว. ก่อนตัดสินใจว่าจะเปิดทางให้เพื่อไทยหรือไม่นั้น อ.ยุทธพร มองว่า “เพื่อไทยรอไม่ได้” หากว่าตามเกณฑ์การบังคับข้อ 151 ที่เพิ่งสิ้นสุดลงไป นอกจากจะเป็นเกณฑ์ในการปิดสวิตช์พิธาแล้ว ก็เป็นการบีบพรรคเพื่อไทยด้วย

เพราะทำให้โอกาสในการโหวตแคนดิเดตนายกฯ ก็จะเหลือคนละ 1 ครั้ง ไม่ว่าจะเป็น แพทองธาร หรือ เศรษฐา และถ้ามองโอกาสตามความเป็นจริง “ชัยเกษม” ก็คงไม่ถูกเสนอชื่อ แต่ว่าทั้งนี้ทั้งนั้น ถ้าเพื่อไทยจะรอก้าวไกลเรื่อง 272 หรือจะเอาพรรคก้าวไกลมาร่วมรัฐบาลก่อน แล้วค่อยรอดูว่าผ่านหรือไม่ เพื่อรอการโหวตอีกครั้งนั้น คงเป็นไปไม่ได้ เพราะเพื่อไทยเองก็ถูกบีบเข้ามาสู่เกมนี้เช่นกัน

อ่าน : โหวตนายกฯ รอบ 2 : เช็กเลี่ยงเส้นทาง #ม็อบ19กรกฎา66 ปักหมุดอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

เพื่อไทยจะเป็นแกนนำใน 8 พรรคเองคงเป็นเรื่องที่ยาก ส่วนสมการเพื่อไทยข้ามขั้วแต่นายกฯ มาจากอีกฝากฝั่งหนึ่งก็คงเป็นเรื่องที่ยากอีกเช่นกัน ขณะนี้ก็คงเหลือ 3 ฉากทัศน์ให้เห็น

  • ฉากทัศน์แรกคือ เพื่อไทยข้ามขั้วแบบที่ 1
  • ฉากทัศน์ที่สองคือ เพื่อไทยข้ามขั้วในแบบที่ 2
  • ฉากทัศน์ที่สามคือ ก็อยู่กันไป 8 พรรคแบบนี้ แต่เพื่อไทยขยับขึ้นมาเป็นแกนนำ แต่ฉากทัศน์นี้ก็ต้องบอกว่า โอกาสที่จะเกิดขึ้นนั้นก็คงยาก เพราะว่าก้าวไกลอยู่ในนั้น แล้วพอมีพรรคก้าวไกลอยู่ในนั้น การได้รับเสียงสนับสนุนจาก สว. หรือจากฝั่ง 188 เสียง ก็คงเป็นเรื่องที่ยาก

ถ้าย้อนไปดูตัวเลขเมื่อวันที่ 13 ก.ค. ตัวเลขตรงนั้นกำลังบอกว่า สว.ส่วนใหญ่นั้นงดออกเสียง ในขณะที่ สส.ฝั่งที่ไม่สนับสนุนพิธา ส่วนใหญ่จะลงไปในทางไม่เห็นด้วยหมด มีเพียงแค่ประชาธิปัตย์และชาติไทยพัฒนาเท่านั้นที่ลงว่างดออกเสียง

เท่ากับว่า การสะท้อนกลับไปที่พรรคก้าวไกลนั้นค่อนข้างที่จะเป็นกระแสที่แรงเหมือนกันสำหรับฝั่ง 188 เสียง อ.ยุทธพร มองว่าถ้ามีพรรคก้าวไกลอยู่ ไม่ว่าจะในฐานะพรรคร่วมรัฐบาลหรืออะไรก็ตาม ก็ค่อนข้างเป็นเรื่องที่ยาก

ดังนั้นก็คงจะเหลือแค่ 2 ฉากทัศน์คือ

  1. เพื่อไทยข้ามขั้วแบบที่ 1 ซึ่งอาจจะมีพลังประชารัฐ ภูมิใจไทย ชาติไทยพัฒนาและบรรดาพรรคเล็ก เช่นประชาชาติหรือพรรคในขั้วจากพรรคเดิมที่เป็นพรรคเล็กต่างๆ แต่ฉากนี้ก้ต้องตอบคำถามในเรื่องของ 2 ลุง ที่แม้ลุงคนหนึ่งจะวางมือไปแล้ว และยังเหลืออีก 1 ลุง ตรงนี้เป็นสิ่งที่ต้องตอบความชอบธรรมทางการเมืองในเรื่องการขยับก้าวไกลไปเป็นฝ่ายค้าน
  2. เพื่อไทยข้ามขั้วแบบที่ 2 อาจจะง่ายมาหน่อยคือ ไม่มีพลังประชารัฐ คือไม่มีปัญหาเรื่อง 2 ลุง แต่เสียงก็จะเกินกึ่งหนึ่งไม่มาก อาจจะประมาณ 265 และต้องตอบคำถามเรื่องผลักก้าวไกลไปเป็นฝ่ายค้านด้วย ความชอบธรรมต่างๆหรือความเคลื่อนไหวมวลชนนอกสภาฯ

สิ่งเหล่านี้เป็นโอกาสที่จะเกิดขึ้นในลักษณะที่ 1 และ 2 มากกว่า เพราะรอบนี้ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการจัดตั้งรัฐบามี 3 เรื่อง คือ

  1. การประกาศวางมือของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
  2. การกลับบ้านของ ทักษิณ ชินวัตร
  3. การเมืองแบบมวลชน

พรรคเพื่อไทยจะปรับสมการก็ต้องคำนึงถึงปัจจัย 3 ประการนี้ด้วย

อ่าน : ผลโหวตนายกฯ รอบ 2 : ถก 7 ชั่วโมง โหวตซ้ำ “พิธา” นายกฯ รอบ 2 ไม่ได้

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่