หน้าแรก Voice TV 'วันนอร์' แจงเลื่อนโหวตนายกฯ รอบ 3 ไม่ใช่เรื่องการเมือง

'วันนอร์' แจงเลื่อนโหวตนายกฯ รอบ 3 ไม่ใช่เรื่องการเมือง

42
0
'วันนอร์'-แจงเลื่อนโหวตนายกฯ-รอบ-3-ไม่ใช่เรื่องการเมือง

‘วันนอร์’ แจงเลื่อนโหวตนายกฯ รอบ 3 ไม่ใช่เรื่องการเมือง ชี้ ‘ก้าวไกล’ จ่อทบทวนมติเสนอชื่อ ‘พิธา’ ซ้ำ ไม่จำเป็น เหตุเรื่องถึงศาล รธน. แล้ว หากรัฐสภาวินิจฉัยขัดแย้งอาจเกิดปัญหา

วันที่ 26 ก.ค. ที่อาคารรัฐสภา วันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงกรณี ที่มีการเลื่อนการประชุมร่วมกันของรัฐสภา วาระพิจารณาพิจารณาเลือกบุคคลที่สมควรได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีออกไป โดยระบุว่า เหตุที่งดการประชุมวันที่ 27 ก.ค. นั้น เนื่องจากผู้ตรวจการแผ่นดินส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ามติของรัฐสภาขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ซึ่งตนมองว่าเป็นเรื่องดี เมื่อมีผู้สงสัยก็ส่งเรื่องให้องค์กรสูงสุด เพื่อให้วินิจฉัยแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืนได้ เพราะคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ มีผลผูกพันกับทุกองค์กร คำฟ้องศาลรัฐธรรมนูญจะรับหรือไม่ ก็เป็นเรื่องที่ดีกับทุกฝ่าย 

“หากเลือกนายกฯ ไปแล้วศาลชี้ว่า ทำไม่ได้ ก็จะเกิดความเสียหายย้อนกลับ ไม่ใช่แค่เรื่องเวลา แต่บุคคลที่เราเลือกเป็นนายกฯ ก็จะเสียหายไปด้วย รวมถึงกระบวนการต่อไปก็จะเกิดความเสียหาย จึงต้องรอคำวินิจฉัยจากศาลรัฐธรรมนูญซึ่งมีอยู่หลายแนวทาง หากศาลรัฐธรรมนูญไม่รับคำร้องก็สามารถดำเนินการต่อ หากมีคำสั่งให้ชะลอเราก็ต้องชะลอ ก็มีโอกาสเสนอชื่อซ้ำได้”

วันมูหะมัดนอร์ กล่าวว่า กรณีดังกล่าวไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องการเมือง แต่เกี่ยวกับการปฎิบัติของรัฐสภา เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายและสมาชิกก็ไม่ต้องเสียเวลาโดยใช่เหตุ ประกอบกับอีกเหตุผลหนึ่ง ว่าองค์ประชุมในวันที่ 27 ก.ค. อาจจะมีปัญหา เนื่องจากมีสมาชิกหลายคนแจ้งมาว่าในวันที่ 28 ก.ค. จะมีพระราชพิธีสำคัญทุกจังหวัด ทั้ง สส. และ สว. ต้องรีบเดินทางไปเข้าร่วม หากประชุมในวันที่ 27 ก.ค. อาจจะกลับไปไม่ทันช่วงเช้า หรือสมาชิกอาจจะไม่มาประชุมเลย

เมื่อถามว่าวันโหวตนายกฯ ครั้งต่อไปจะเริ่มวันที่เท่าไหร่ วันมูหะมัดนอร์ ก็ขึ้นอยู่กับว่าศาลรัฐธรรมนูญจะรับคำร้องหรือไม่ หากไม่รับคำร้องก็สามารถเปิดการประชุมได้เลย แต่หากศาลรับคำร้อง ก็จะต้องดูว่าให้ชะลอการประชุมหรือไม่ หากไม่มีคำสั่งให้ชะลอแล้วเราควรจะรอหรือไม่ ก็จะต้องดูสถานการณ์ก่อน เพราะหากรอนานเกินไปก็จะเกิดความเสียหายเหมือนกัน แต่ตนมองว่าศาลรัฐธรรมนูญคงเข้าใจว่าเรื่องนี้เป็นเหตุการณ์พิเศษ

จำเป็นที่จะต้องมีนายกฯ ศาลรัฐธรรมนูญคงตระหนักและพิจารณาให้เสร็จโดยเร็ว แต่เราก็ไม่สามารถไปคาดคั้นได้

หากศาลรัฐธรรมนูญไม่รับคำร้อง การเปิดประชุมรัฐสภาจะสามารถเกิดขึ้นได้ทันทีที่สามารถออกหนังสือเรียกประชุมได้ ตนไม่อยากให้รอเสียเวลาแม้แต่น้อย เป็นเรื่องจำเป็นต้องทำ 

เมื่อถามว่า การเสนอญัตติ ขอให้ที่ประชุมสภาทบทวนมติที่เคยลงมติไปแล้ว สามารถทำได้หรือไม่ วันมูหะมัดนอร์ กล่าวว่า ขณะนี้เรื่องอยู่ระหว่างศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย หากมีอีกองค์กรหนึ่งเช่นเช่นรัฐสภาไปวินิจฉัยด้วยและผลออกมาไม่ตรงกันก็จะเกิดปัญหาความขัดแย้งความขัดแย้งในการปฏิบัติ 

“ความจริงรัฐสภาได้วินิจฉัยไปแล้วเมื่อวันที่ 19 ก.ค. มีผู้เห็นแย้งว่าขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญ จึงส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญ ผมคาดว่าน่าจะได้ข้อยุติ ไม่ทราบว่ารัฐสภามีความจำเป็นต้องวินิจฉัยหรือไม่ แต่ก็สามารถปรึกษาหารือได้ แต่ต้องดูว่าจะทำได้โดยมีปัญหาหรือไม่อย่างไร เพราะเรื่องอยู่ที่ศาลรัฐธรรมนูญแล้ว”

ทั้งนี้เมื่อถามว่าหากศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับไม่รับคำร้องในวันที่ 9 ส.ค. จะทำได้หรือไม่เนื่องจากการจัดประชุมรัฐสภาจะต้องแจ้งอย่างน้อยก่อน 3 วัน วันมูหะมัดนอร์ กล่าวว่า ประธานรัฐสภาสามารถสามารถใช้อำนาจในการนัดประชุมวันถัดไปทันทีหลังศาลมีมติไม่รับคำร้องได้เลย

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่