หน้าแรก Voice TV นโยบาย เศรษฐกิจ – การเมือง พลิกโฉมประเทศ ใต้อำนาจรัฐบาล 'เพื่อไทย'

นโยบาย เศรษฐกิจ – การเมือง พลิกโฉมประเทศ ใต้อำนาจรัฐบาล 'เพื่อไทย'

73
0
นโยบาย-เศรษฐกิจ – การเมือง-พลิกโฉมประเทศ-ใต้อำนาจรัฐบาล-'เพื่อไทย'

ไม่ว่าการตั้งรัฐบาลจะออกมาสูตรไหน แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี ที่จะถูกชูขึ้นมาโหวต ในวันที่ 4 ส.ค. 2566 หากไม่มีอะไรพลิกโผ แบบ “เหนือความคาดหมาย” 

คนๆ นั้นจะชื่อ “เศรษฐา ทวีสิน” หนึ่งในสามแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรคเพื่อไทย 

เมื่อพรรคเพื่อไทยพลิกกลับมาเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล นโยบายการเมือง – เศรษฐกิจสำคัญๆ ที่หาเสียงเอาไว้จะถูกนำมาปรับใช้ให้สอดคล้องกับนโยบายของพรรคการเมืองที่จเข้าร่วมรัฐบาล 

“เศรษฐา” บอกเมื่อวันที่ 17 ก.ค. 2566 ว่า ได้รับมอบหมายให้มาดูแลเรื่องเศรษฐกิจ เพื่อเตรียมความพร้อมสู่การจัดตั้งรัฐบาลที่จะต้องมีการพูดคุยกันในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) นัดแรก เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและลดค่าใช้จ่ายประชาชน

พลิกนโยบายเศรษฐกิจที่ พรรคเพื่อไทยหาเสียงเอาไว้ตอนการเลือกตั้ง ที่ไม่เน้นด้านการแจกแบบรัฐสวัสดิการ แต่จะสร้างเศรษฐกิจให้โต สร้างโอกาสทำมาหากินให้กับประชาชน โดยที่จะทำทันที่เมื่อได้เป็นรัฐบาล 

1.ค่าแรงขั้นต่ำ 600 บาท ในปี 2570 พรรคเพื่อไทยตั้งเป้าหมายว่า นโยบายนี้ไม่ใช้วงเงินงบประมาณ แต่จะสร้างเศรษฐกิจให้เติบโตสูงในระดับที่เพียงพอทำให้นายจ้างสามารถจ่ายค่าจ้างที่สูงขึ้นได้ โดยมีความคุ้มค่าในการเพิ่มผลิตภาพแรงงาน เพิ่มรายได้ให้เพียงพอกับค่าครองชีพ แม้จะมีผลกระทบต่อผู้ประกอบการบ้าง เนื่องจากมีต้นทุนที่สูงขึ้น แต่แก้ไขได้โดยการช่วยเหลือสนับสนุนผู้ประกอบการ รวมถึงสร้างเศรษฐกิจให้โตขึ้น

2.เงินเดือนปริญญาตรี 25,000 บาท ทั้งเอกชน – รัฐบาล จะใช้การบริหารงบประมาณภาครัฐที่มีประสิทธิภาพ ลดขนาดของรัฐราชการ แต่เพิ่มผลิตภาพ สร้างการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่สูง ทั้งนี้ อาจมีรายจ่ายภาครัฐที่สูงขึ้นในช่วงต้นจากการปรับเงินเดือนข้าราชการ แต่สามารถชดเชยได้โดยการเพิ่มผลิตภาพของข้าราชการ รวมถึงปรับขนาดของราชการให้เล็กลง 

3.นโยบาย 1 ครอบครัว 1 ศักยภาพ หรือ 1 ครอบครัว 1 ซอฟต์เพาเวอร์ ด้วยการเฟ้นหาศักยภาพที่ซ่อนอยู่ของประชาชน เพื่อสร้างเงิน สร้างงาน 20 ล้านตำแหน่ง อาจมีอุปสรรคในช่วงแรกที่ต้องปรับองค์กรที่เข้าไปเฟ้นหา และบ่มเพาะศักยภาพของประชาชน เพราะขาดความชำนาญ แต่จะคลี่คลายในระยะยาวเมื่อหน่วยงานรู้ถึงเป้าหมายของการพัฒนาเชิงพื้นที่

แพทองธาร เศรษฐา เพื่อไทย 7175.jpeg

4.นโยบายปรับลดราคาพลังงาน น้ำมัน ไฟฟ้า ก๊าซ เพื่อลดภาระประชาชนในการเข้าถึงแหล่งพลังงานในชีวิตประจำวัน ปรับโครงสร้างราคาพลังงานทั้งระบบ และปรับลดอุปทานส่วนเกิน ทั้งนี้ ต้องใช้ความสามารถและความตั้งใจจริงในการปรับโครงสร้างราคาพลังงาน นอกจากนี้ สนับสนุนพลังงานสะอาด พลังงานทางเลือก รวมถึงเร่งเจรจาพื้นที่ทับซ้อน นำมาซึ่งการได้แหล่งก๊าสธรรมชาติที่ราคาถูก 

5.นโยบายเงินดิจิทัล 10,000 บาท ให้คนไทยทุกคนที่มีอายุ 16 ปีขึ้นไป จะได้รับเงินดิจิทัล 10,000 บาท เพื่อนำไปใช้จ่ายกับร้านค้าใกล้บ้าน ในระยะ 4 กิโลเมตร ซึ่งจะมีการยึดตำแหน่งตามที่อยู่บนทะเบียนบ้าน โดยเงินดิจิทัลมีอายุการใช้งาน 6 เดือน ซึ่งสามารถยกระดับสภาวะทางเศรษฐกิจของประเทศ เกิดการกระจายตัวของเม็ดเงินในระดับชุมชนทั่วประเทศพร้อมกัน สร้าง “เงินหมุน” และ “การขยายตัวของเศรษฐกิจ

6.นโยบายลดช่องว่างรายได้ประชาชน เติมเงินให้ครอบครัวให้ทุกครอบครัวมีรายได้ไม่น้อยกว่าเดือนละ 20,000 บาท ตั้งเป้ายกระดับผู้มีรายได้น้อย ลดความเหลื่อมล้ำทางรายได้ของประชาชน 

เศรษฐา เพื่อไทย กระเป๋าเงินดิจิทัล 8680.jpegนโยบาย เพื่อไทย เงินดิจิทัล _8719.jpeg

นอกจากนี้ยังมีมาตรการช่วยเหลือ SMEs ที่ออกมาเป็นแพ็คเกจ เพื่อดูแลประชาชนควบคู่กับการขึ้นค่าแรง หารายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มเป็น 3 ล้านล้านบาทต่อปี อีกทั้ง มีเขตเศรษฐกิจใหม่ 4 ภาค ภายใต้กฎหมายฉบับใหม่ทันสมัยกว่า EEC และอื่นๆ ที่จะทำควบคู่

ขณะเดียวกัน นโยบาย การเมือง พรรคเพื่อไทย โดยเศรษฐา ทวีสิน ได้เคยประกาศเอาไว้ว่า ถ้าตนได้เป็นนายกฯ จะลงมือแก้รัฐธรรมนูญ เพื่อแก้กับดักทั้งหลายของประเทศ 

“หากวันนี้ผมเป็นนายกฯด้วยสภาพสังคมที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ปัญหาหลักอยู่ที่รัฐธรรมนูญ ต้องร่างฉบับใหม่โดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ที่มาจากการเลือกตั้ง ดังนั้น ถ้าเป็นนายกฯ ในสภาวะเช่นนี้เรื่องที่จะทำทันทีที่เป็นอุปสรรคที่ทำให้อยู่ร่วมกันลำบาก ขัดขวางการเดินหน้าของเศรษฐกิจประเทศ คือเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เป็นเรื่องสำคัญที่สุด ซึ่งรัฐธรรมมนูญฉบับนี้เป็นฉบับที่พิกลพิการ ถ้าถูกแก้ไขได้โดยเร็วที่สุดแล้วก็คืนอำนาจให้กับพี่น้องประชาชน คาดว่าจะใช้เวลา 18 เดือน”

ชลน่าน เพื่อไทย ภูมิธรรม _6678.jpeg

สอดคล้องกับ “ภูมิธรรม เวชยชัย” รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย กล่าวเมื่อวันที่ 21 ก.ค. 2566 ว่า เรารอมา 2 เดือนกว่าแล้ว เราจำเป็นต้องตั้งรัฐบาลให้ได้ โดยดูเงื่อนไขต่างๆ ต้องฝ่าไปให้ได้มากที่สุด ตั้งรัฐบาลเพื่อแก้รัฐธรรมนูญ มติ ครม.วันแรก เราจะออกมาให้ทำประชามติตั้ง ส.ส.ร. มาแก้รัฐธรรมนูญทันที เราต้องได้นายกฯในวันที่ 27 ก.ค. ให้ได้เพื่อให้ได้รัฐบาลฝ่ายประชาธิปไตยเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลให้ได้”

หลังจากแนวโน้มพรรคเพื่อไทยได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล ทั้งภาคธุรกิจ ตลาดทุน ต่างให้เสียงตอบรับเชิงบวก 

 รอนับถอยหลังได้เลย…

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่