หน้าแรก Voice TV ‘วีระ ธีรภัทร’ เชื่อ ‘แสนสิริ’ไม่เลี่ยงภาษี เป็นเรื่องคนขายที่ดิน’ ยันไม่เกี่ยว ‘เศรษฐา’ เป็นนายกฯ

‘วีระ ธีรภัทร’ เชื่อ ‘แสนสิริ’ไม่เลี่ยงภาษี เป็นเรื่องคนขายที่ดิน’ ยันไม่เกี่ยว ‘เศรษฐา’ เป็นนายกฯ

105
0
‘วีระ-ธีรภัทร’-เชื่อ-‘แสนสิริ’ไม่เลี่ยงภาษี-เป็นเรื่องคนขายที่ดิน’-ยันไม่เกี่ยว-‘เศรษฐา’-เป็นนายกฯ

‘วีระ ธีรภัทร’ อธิบายปม ‘แสนสิริ’ซื้อที่ดินย่านสารสินไม่ถึงขั้นผิดกฎหมาย ชี้ต้องเริ่มจากคนขายที่ดินก่อน ย้ำเลี่ยงภาษีคนละเรื่องกับการวางแผนภาษี จวกคนโยง ‘เศรษฐา’ ทั้งที่ไม่ได้ทำผิด ไม่มีประเด็นใดทำให้เป็นแคนดิเดตนายกฯไม่ได้

วีระ ธีรภัทร  กล่าวผ่านรายการ ‘ฟังหูไว้หู’ ทางช่อง 9 MCOT เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2566 อธิบายกรณีการซื้อขายที่ดินระหว่างเจ้าของที่ดินประมาณ 1 ไร่ (เกือบ 400 ตารางวา) ย่านสารสิน กับบริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) ในช่วงที่ เศรษฐา ทวีสิน แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีพรรคเพื่อไทย เป็นประธานกรรมการบริษัท ว่า ประไพ ชินพิลาส ได้ตั้งบริษัท ประไพทรัพย์ เพื่อถือครองที่ดินประมาณ 1 ไร่ย่านสารสิน ที่ดินจึงเป็น ‘สินทรัพย์’ ของบริษัท ซึ่งบริษัทนี้มีผู้ถือหุ้น 12 คน หากต้องการขายในนามบริษัทต่อบริษัท (B2B) รายได้จากการขาย จะเป็นของบริษัท เมื่อนำรายได้มาหักค่าใช้จ่ายในบริษัทแล้ว จะเหลือกำไร และต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไร ในอัตราประมาณ 20% คิดเป็นมูลค่าประมาณ 300 ล้านบาท 

รายได้จากการขาย ยังต้องจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้น 12 คน ตามสัดส่วนการถือหุ้น ซึ่งต้องนำเงินปันผล มาคำนวณ เป็นรายได้ของแต่ละคน จากนั้นต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่ทั้ง 12 คนจะต้องเสียคนละ 35% ของรายได้ วีระคาดว่าจะอยู่ที่ 200 ล้านบาท รวมแล้วถ้าขายที่ดินในนามบริษัท ต้องเสียภาษีรวม 500 ล้านบาท จากราคาขายอยู่ที่ 1,500 ล้านบาท 

IMG_9776.jpeg

วีระ คาดว่า บริษัท ประไพทรัพย์ จึงได้จ้างบริษัทที่ปรึกษาวางแผนภาษี ซึ่งเลือกใช้วิธี จดทะเบียนเลิกกิจการ แบ่งทรัพย์สิน (ที่ดิน 1 ไร่) ให้ผู้ถือหุ้น 12 คน ซึ่งในส่วนของบริษัท ต้องจ่ายค่าโอนให้ผู้ถือหุ้น ซึ่งมีค่าใช้จ่ายทั้งหมด คือ ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีธุรกิจเฉพาะ ค่าธรรมเนียมการโอน ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ก่อนจะทำให้ที่ดินแปลงนี้มีคนถือหุ้น 12 คนอยู่ในโฉนดใบเดียว ทำให้การเสียภาษีในส่วนนี้ 71 ล้านบาท 

หากโอนในวันเดียวกัน จึงเสมือนเป็นการตั้งคณะบุคคลไปซื้อที่ดินนี้ กฎหมายถือว่าเป็นการขายแบบบริษัทต่อบริษัท ต้องเสียภาษีรวม 500 ล้านบาท จึงโอนคนละวัน เพื่อให้การมอบกรรมสิทธิ์ ไม่ใช่คณะบุคคล ไม่ใช่นิติบุคคล  

ในปี 2561 ทุกคนที่ถือกรรมสิทธิในที่ดินนี้ ทั้ง 12 คน จึงมีส่วนแบ่งในที่ดิน ในฐานะบุคคลธรรมดา ตามสัดส่วนผู้ถือหุ้น และขายให้แสนสิริในปี 2562 ที่ซื้อในราคาไร่ละ 4 ล้านบาท รวมเกือบ 1,600 ล้านบาท ซึ่งรวมค่าใช้จ่ายไว้หมดแล้ว

ทั้งนี้ การขายที่ดินในฐานะบุคคลธรรมดาต้องแยกเป็นสองเรื่อง 

1.การเสียภาษีและมีค่าใช้จ่ายตามราคาประเมินที่ดินโดยกรมที่ดิน ได้แก่ ค่ากรรมสิทธิ์ในการโอน 2% , ค่าอากรแสตมป์ 0.5% ภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% จากราคาทุนประเมินที่ดิน ของกรมที่ดิน ที่ประเมินว่า ที่ดินสารสินมีราคาที่ 400,000 บาทต่อตารางวา 

2.การรับโอน ซึ่งการขายที่ดินของคน 12 คน 12 วัน ตามกฎหมาย จะขายวันไหนไม่สำคัญ จะขายวันเดียวกันหรือไม่ก็ได้ แต่ตอนรับโอนตอนแรก ต้องรับโอนคนละวัน 

เพราะแต่ละคนขายให้กับแสนสิริ ต้องขายทีละคน ออกแบบมาให้โอนคนละวัน เพื่อไม่ให้เป็นปัญหา ตามคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 100/2543 เรื่องการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและอากรแสตมป์ กรณีการขาย การโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ ข้อ 4 การขายอสังหาริมทรัพย์ กรณีที่มีการถือกรรมสิทธิ์รวม ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาตามข้อ 3 มีหน้าที่ต้องเสียภาษี (2) กรณีการถือกรรมสิทธิ์รวมเกิดขึ้นเนื่องจากการทำนิติกรรมซื้อขาย ขายฝาก หรือแลกเปลี่ยน โดยเข้าถือกรรมสิทธ์รวมพร้อมกัน ให้เสียภาษีเงินได้ในฐานะห้างหุ้นส่วน สามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล “แต่หากไม่ได้มีการเข้าถือกรรมสิทธิ์รวมพร้อมกัน ให้บุคคลแต่ละคนที่ถือกรรมสิทธิ์ รวมเสียภาษีเงินได้ในฐานะบุคคลธรรมดา โดยแยกเงิน ได้ตามส่วนของแต่ละคนที่ มีส่วนอยู่ในอสังหาริมทรัพย์ที่ถือกรรมสิทธิ์รวม” 

(ในช่วงท้ายของวงเล็บ 2 ในข้อ 4 ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.100/2543) จึงกลายเป็นที่มาของที่แต่ละคน “ขายและรับโอนคนละวัน” จึงเข้าข่ายที่จะสามารถเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามราคาทุนประเมินที่ดิน ของกรมที่ดิน ส่วนเงินที่รับตามราคาที่ขายไม่เกี่ยวกัน และไม่ต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ในช่วงปลายปีอีก) เพราะได้รับการยกเว้นแล้ว 

การเสียภาษีดังกล่าว ยังไม่รวมค่าโอน คาดว่าไม่เกิน 60 ล้านบาท ซึ่งต้องจ้างบริษัทที่ปรึกษาภาษี คาดว่าต้องจ้างประมาณ 3% จากราคาที่ดิน คาดว่าไม่น้อยกว่า 50 ล้าน บาท ซึ่งถือว่าคุ้มค่า และทำตามกฎหมายการขายที่ดินในฐานะบุคคลธรรมดา เป็นการวางแผนภาษี 

“การวางแผนภาษี เป็นคนละเรื่องกับการเลี่ยงภาษี ซึ่งการเลี่ยงภาษี เป็นการเสียภาษีไม่ถูกต้อง คือกฎหมายให้ทำ แต่เราไม่ทำแบบนั้น แต่กรณีนี้ กฎหมายให้ทำแบบนี้ ได้ เราทำแบบนี้ จบ ยกตัวอย่างเราเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ที่ต้องยื่นปลายปี) เราไปเอาเบี้ยประกันชีวิต เบี้ยผ่อนบ้าน ซื้อกองทุนแอลทีเอฟ เงินบริจาค เขาเปิดโอกาสให้เราเอามาใช้เป็นค่าใช้จ่าย ที่จะทำให้เราเสียเงินได้สุทธิ ที่จะต้องคำนวนการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมลดลง เราก็ทำ เป็นเรื่องปกติ เป็นการวางแผนภาษี แน่นอนคนที่เกี่ยวข้องกับเงินเยอะ ๆ ก็อยากเสียภาษีให้น้อยที่สุดและถูกต้องตามกฎ กติกา มารยาท ทั้งเรื่องภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีธุรกิจเฉพาะ ค่าธรรมเนียมการโอน”

IMG_9775.jpeg

วีระ กล่าวว่า หากถามว่า แล้วแสนสิริทำผิดหรือเปล่า เขาจะไปล่วงรู้ว่า ผู้ที่ขาย เขาไปทำยังไงมา เขาจำเป็นต้องรู้ไหม เขาต้องการที่ดินผืนนี้ เขาซื้อในราคานี้ ส่วนคุณจะไปทำยังไง คุณก็ไปทำให้ถูก เพราะถ้าไม่ถูก กรมสรรพากรก็ไปจัดการเอง ต้องดูอย่างนั้นก่อน สเตปนี้เป็นเรื่องของบริษัททั้งหมด ซึ่งการซื้อขายระดับพันล้าน กรรมการต้องรับรู้ มีคนที่รับผิดชอบในระดับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ มันเป็นไปไม่ได้หรอก อย่างถ้าตนไปซื้อบ้านแลนด์แอนด์เฮาส์ ผมจะเจอ อนันต์ อัศวโภคิน ที่สำนักงานที่ดินหรือ ตนก็เจอแต่เด็กๆ มีใบมอบฉันทะมา 

เรื่องนี้ต้องมีการนำเข้าที่ประชุมของกรรมการบริษัทแสนสิริ เท่าที่ทราบในเดือน ส.ค. 2562 ที่ทำรายการ ก็อนุมัติซื้อที่ดินนี้ ในมูลค่าการลงทุนนี้ เพราะเห็นความเป็นไปได้ในการพัฒนาโครงการ ตนเป็นกรรมการบริษัท ก็ซักถาม แล้วอนุมัติตามที่เจ้าหน้าที่ดำเนินเรื่องมา 

“แต่ถ้าไปผูกโยงโดยข้อเท็จจริงอันแรกที่ไม่ครบถ้วน แล้วไปโยงว่า เศรษฐา ทวีสิน รู้เห็นเป็นใจให้เขาทำอย่างนี้ ซึ่งที่เขาทำมันไม่ผิดนะ ผมก็ไม่เห็นว่าจะมีประเด็นอะไร ที่จะไปท้าทายว่า อย่างนี้คุณเป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีไม่ได้ ผมว่าไปกันไกลสุด ผมพูดหลายครั้งแล้ว ต้องเริ่มจากข้อเท็จจริงที่เป็นสารตั้งต้นก่อน การขายที่ดินของคน 12 คนให้แสนสิริ มูลค่ากว่า 1,500 ล้านบาท มันผิดไหม ถ้าไม่ผิด มันถูกต้อง ที่เหลือไม่ต้องคุยแล้ว ไม่ต้องไปถึงแสนสิริ ไม่ต้องไปถึงกรรมการที่เป็นคนจัดซื้อ ไม่ต้องไปเลย” วีระกล่าว 

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่