หน้าแรก Voice TV 'ไอลอว์' แนะรัฐบาลใหม่เร่งเปิดเผยคำถามประชามติ หวั่นซ้ำรอยปี 62

'ไอลอว์' แนะรัฐบาลใหม่เร่งเปิดเผยคำถามประชามติ หวั่นซ้ำรอยปี 62

75
0
'ไอลอว์'-แนะรัฐบาลใหม่เร่งเปิดเผยคำถามประชามติ-หวั่นซ้ำรอยปี-62

‘ไอลอว์’ แนะรัฐบาลใหม่เร่งเปิดเผยคำถามประชามติ หวั่นซ้ำรอยปี 62 ย้ำ สสร. ต้องมาจากการเลือกตั้ง-แก้ได้ทั้งฉบับ ชี้อย่าใช้การแก้ รธน. ฟอกขาวขั้วอำนาจเดิม

วันที่ 11 ส.ค. โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน หรือ iLaw นำโดย ยิ่งชีพ อัชชานนท์ ผู้จัดการ iLaw รัชพงษ์ แจ่มจิรไชยกุล ในหัวข้อความกังวลต่อแถลงการณ์จัดตั้งรัฐบาลแล้วเร่งทำประชามติรัฐธรรมนูญ

โดย รัชพงษ์ กล่าวยินดีที่พรรคเพื่อไทยแถลงว่าจะดำเนินการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทันที ถือเป็นเรื่องที่รอมานาน เป็นสัญญาณที่ดี และเป็นการใช้กลไกตามรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2564 คือใช้มติของคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยไม่ต้องผ่านรัฐสภา แต่สิ่งแรกที่ภาคประชาชนต้องร่วมกันผลักดัน คือคำถามประชามติที่มีความรัดกุม

อย่างไรก็ตาม ใน 3 วาระของการผลักดันให้มีการทำประชามติจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดยสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ต้องอาศัยเสียงจาก สส.ฝ่ายค้าน 20% และเสียงของ สว. ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 การกำหนดเงื่อนไขของ สส. และ สว. จึงยังมีบทบาทอยู่ 

และหลังจากมีการจัดทำประชามติครั้งแรกแล้ว ต่อไปจะเป็นการเลือก สสร. เพื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2568 จากนั้นจึงทำประชามติครั้งที่ 3 ว่าเห็นชอบในการบังคับใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้หรือไม่ กระบวนการทั้งหมดใช้เวลาราว 2 ปี อย่างเร็วที่สุด

ทั้งนี้ มีข้อสังเกตว่า ในแถลงการณ์ของพรรคเพื่อไทย ระบุว่าจะเร่งทำประชามติตั้งแต่การประชุม ครม. ครั้งแรก และเมื่อจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่สำเร็จ จะคืนอำนาจให้กับประชาชนด้วยการยุบสภา แต่การจัดทำประชามติไม่ได้มีครั้งเดียว ต้องมีอย่างน้อย 3 ครั้ง และยังมีกระบวนการที่ซับซ้อนไม่น้อยกว่า 2 ปี จึงมองได้ว่าการคืนอำนาจให้ประชาชน คงไม่ได้คืนโดยเร็ว

รัชพงษ์ ย้ำว่า ปัญหาใหญ่อยู่ที่คำถามประชามติ สืบเนื่องจาก ปี 2559 คำถามประชามติมีความซับซ้อน ทำให้ประชาชนสับสน เมื่อประชาชนมีสิทธิ์เลือกแค่เห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ คำถามที่ดีจึงมีความสำคัญมาก หากคำถามมีความรัดกุมตั้งแต่แรก ว่า สว. ทำอะไรได้หรือไม่ได้บ้างในสภา จะทำให้ สส. และ สว. ในรัฐสภา ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงคำถามหรือสร้างเงื่อนไขใหม่ๆ ได้

โดยมีข้อเสนอแนวคำถามที่สำคัญ ต้องมี 2 ประเด็นหลักด้วยกัน ประกอบด้วย

1) การสร้างรัฐธรรมนูญใหม่ต้องทำได้ทั้งฉบับ เพราะมีความกังวลว่า สว. อาจจะตั้งเงื่อนไขว่าห้ามแตะต้องหมวดองค์กรอิสระ เป็นต้น

2) สสร. ต้องมาจากการเลือกตั้งของประชาชนเท่านั้น 

เปิดแคมเปญ เสนอคำถามประชามติ

ด้าน ยิ่งชีพ มองว่า ประชามติไม่ได้จำเป็นต้องเร่งทำ และไม่ได้บังคับให้ต้องทำ และหากเร่งเกินไป ประชาชนอาจยังไม่เข้าใจกระบวนการประชามติให้ประชาชนเข้าใจโดยชัดเจน โดยเป็นหน้าที่ของแกนนำจัดตั้งรัฐบาลในตอนนี้จะต้องอธิบาย

ยิ่งชีพ เรียกร้องให้แกนนำจัดตั้งรัฐบาล เปิดเผยคำถามประชามติออกมาทันที หรือโดยเร็วที่สุด ให้ประชาชนเห็นว่าเป็นคำถามที่ดีหรือไม่ และได้มีส่วนร่วมกับการตั้งคำถาม ยิ่งขณะนี้มีแนวโน้มสูงว่าจะมีพรรคพลังประชารัฐ พรรครวมไทยสร้างชาติ และพรรคภูมิใจไทย มาร่วมรัฐบาล ทำให้เกิดความกังวลใจ เพราะที่ผ่านมาพรรคดังกล่าวไม่ได้เปิดช่องให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเลย

ยิ่งชีพ ยังระบุว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญใหม่จะต้องไม่เป็นเครื่องมือฟอกตัวของขั้วอำนาจเดิม หรือรัฐบาลข้ามขั้ว ประชาชนควรได้เห็นกระบวนการทั้งหมดก่อนเริ่ม ไม่เช่นนั้นคงไม่อาจไว้ใจได้ ว่าอาจเปิดโอกาสให้ขั้วรัฐบาลเดิมกลับมามีอำนาจหรือไม่ และยังมีข้อใส่ใจสำคัญคือ ที่มาของ สสร. เป็นอย่างไร ประชาชนมีส่วนร่วมหรือไม่ และจะมีการยกเว้นไม่ให้เขียนเนื้อหาใดขึ้นมาใหม่หรือไม่ เช่น บทบาทของ สว. องค์กรอิสระต่างๆ

ข้อกังวลอีกประการคือ ไม่จำเป็นว่าต้องมีรัฐธรรมนูญใหม่แล้วจึงจะยุบสภาได้ แต่ที่สำคัญคือต้องจัดตั้ง สสร. ให้สำเร็จ หากจัดตั้ง สสร. แล้วก็สามารถยุบสภาเลือกตั้งใหม่ได้เลย โดยไม่ต้องรอให้มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ก่อน

นอกจากนี้ ในวันที่ 13 ส.ค. นี้ iLaw และภาคประชนชน เตรียมเปิดตัวแคมเปญ ‘เขียนใหม่ทั้งฉบับ เลือกตั้ง 100%’ ประชาชนเข้าชื่อเสนอทำประชามติโดยกำหนดคำถามเอง เวลา 15.00 น. ที่หอศิลป์ กรุงเทพฯ

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่