หน้าแรก Voice TV รัฐอำมหิต จัดการโควิดอัปยศ รำลึก 2 ปี สูญเสียเยาวชน ‘วาฤทธิ์ สมน้อย’

รัฐอำมหิต จัดการโควิดอัปยศ รำลึก 2 ปี สูญเสียเยาวชน ‘วาฤทธิ์ สมน้อย’

46
0
รัฐอำมหิต-จัดการโควิดอัปยศ-รำลึก-2-ปี-สูญเสียเยาวชน-‘วาฤทธิ์-สมน้อย’

ย้อนเรื่องราวความสูญเสียเยาวชนวัย 15 ปีที่ออกมาชุมนุมประท้วงรัฐบาล ในช่วงสถานการณ์โควิดถูกยิงเสียชีวิต ภาพสะท้อนที่ไม่ควรลืมการจัดการทั้งม็อบและโควิดอันอัปยศของรัฐบาลประยุทธ์ จันทร์โอชา

ย้อนหลังกลับไปเมื่อ 2 ปีก่อน วาฤทธิ์ สมน้อย เยาวชนวัย 15 ปี ได้ตั้งคำถามกับแม่ของเขา “หนูขอไปม็อบได้ไหม” แม้จะได้รับการปฏิเสธจากแม่ เขาก็หาวิธีที่จะนำพาตัวเองไปม็อบได้อยู่ดี แต่นั่นคือการร่วมม็อบเป็นครั้งสุดท้ายของเด็กชายวัย 15 

ประมาณ 3 ทุ่ม ของคืนวันที่ 16 ส.ค. 2564 กล้องวงจรปิดบันทึกภาพ วาฤทธิ์ ขณะวิ่งอยู่บนถนนมิตรไมตรี มุ่งหน้าแยกโรงกรองน้ำ ก่อนจะถูกยิงล้มลง ห่างจากบริเวณด้านหน้า สน.ดินแดงไม่ไกล บริเวณนั้นพบรอยกระสุนปืนบนกำแพง ระบุทิศทางการยิงมาจากซอยหน้า สน.ดินแดง 

วาฤทธิ์ เข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลราชวิถีในอาการโคม่า เนื่องถูกยิงบริเวณลำคอด้านซ้าย และกระสุนยังคงค้างอยู่บริเวณก้านสมอง 1 นัด และพบกระดูกต้นคอซีกที่ 1 และ 2 แตก ก่อนจะเสียชีวิตในอีก 75 วันต่อมา (28 ต.ค.) ด้วยอาการสมองบวม เขากลายเป็นผู้เสียชีวิตคนแรกหลังการชุมนุมระลอกใหม่ปะทุขึ้นตั้งแต่ช่วงปี 2563 

ทำไมถึงไปม็อบ

ทำไมเขาถึงไปเลือกที่จะไปม็อบ เป็นคำถามที่ไม่มีทางที่จะได้คำตอบจากผู้ล่วงลับ แต่สิ่งที่ตอบได้ไม่ยากนักคือ ทำไมการชุมนุมถึงเกิดขึ้น

กระแสการเคลื่อนไหวระรอกใหญ่ตั้งแต่ปี 2563-2665 เกิดจากเหตุปัจจัยหลายอย่างมาประกอบกัน เริ่มต้นจากการเคลื่อนไหวของมวลชนในรั้วมหาวิทยาลัยช่วงต้นปี 2563 หลังจากพรรคอนาคตใหม่ถูกศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรค ก่อนจะหยุดชะงักหลังไทยต้องเผชิญหน้ากับโรคติดต่อโควิด-19  และกลับมากลายเป็นกระแสอีกครั้งในเดือน ก.ค. 2563 จากการชุมนุมของกลุ่มเยาวชนปลดแอก ที่ออกมาวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาลในการบริหารสถานการณ์วิกฤตโควิด-19 ซึ่งมีการประกาศมาตราการเข้มกับประชาชน ทั้งการคิวฟิวทั่วประเทศ การล็อคดาวน์ห้ามเดินทางเข้าประเทศ ซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจมหาศาล ตัวเลขผู้ตกงานจากสำนักสถิติแห่งชาติเมื่อเดือน มี.ค. 2564 พบว่ามีผู้ตกงานในประเทศไทยสูงถึง 5.8 ล้านคน 

ขณะที่การบริหารจัดการของภาครัฐเพื่อรองรับดูแลจำนวนผู้ป่วยโควิดกลับเป็นไปอย่างไรประสิทธิภาพ จนเกิดภาพและข่าวผู้เสียชีวิตข้างถนนรายวัน ร้ายแรงถึงขั้นที่สัปเหร่อผู้ทำหน้าที่เผาศพผู้เสียชีวิตแทบไม่มีเวลาได้หยุดพัก

กระทั่งการชุมนุมได้ยกระดับข้อเรียกร้องสูงโดยต้องการให้มีการปฎิรูปสถาบันกษัตริย์ จนที่สุดได้รับการตอบรับเป็นการสลายการชุมนุมของประชาชนที่ดำเนินไปอย่างสันติ ปรากการณ์ดังกล่าวยิ่งทวีความโกรธแค้นให้กับมวลชน จากช่วงกลางเดือน ก.ค. 2563 ผ่านมาได้ประมาณ ครึ่งปี การเมืองเรื่องจำนวน การชุมนุมบนท้องถนนด้วยจำนวนผู้คนเรือนหมื่นแสนที่ออกมาแสดงพลังยื่นข้อเสนอ กลับไม่ได้ได้รับการตอบสนอง แม้แต่ข้อเสนอขั้นต่ำสุดคือ การเปิดทางให้มีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ก็ถูกปัดตก ในขณะที่ภาวะเศรษฐกิจของประเทศยังไม่เห็นทีท่าว่าจะฟื้นตัวในเร็ววัน

ความโกรธแค้นของผู้คน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มคนจนเมือง จึงปะทุออกมาผ่านการชุมนุมในอีกรูปแบบหนึ่งที่เรียกว่า ‘การเมืองของความปั่นป่วน’ เกิดปรากฎการณ์กลุ่มผู้ชุมนุมรวมตัวกันบริเวณแยกดินแดงในแทบเย็นในช่วงเดือน มี.ค.  2564 เรื่อยมา โดยเป็นการชุมนุมที่มีจุดมุ่งหมายในการเดินทางไปยังบริเวณด้านหน้า กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรราชวัลลภรักษาพระองค์ ซึ่งบ้านพักของพล.อ.ประยุทธ์ ตั้งอยู่ที่นั่น เพื่อกดดันให้พล.อ.ประยุทธ์ ลาออกจากการเป็นนายกรัฐมนตรี 

ภาพที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ผ่านมาจึงกลายเป็นภาพการเข้าปะทะกันระหว่างผู้ชุมนุม และเจ้าหน้าที่ตำรวจควบคุมฝูงชน ยิ่งเกิดภาพเจ้าหน้าที่ตำรวจใช้ความรุนแรงเกินกว่าเหตุ ยิ่งที่อุณหภูมิความโกรธแค้นของผู้คนพุ่งสูงขึ้น แต่อย่างไรก็ตามเจ้าหน้าที่ปิดฉากการชุมนุมได้สำเร็จในช่วงสิ้นเดือน ต.ค. 2564

วาฤทธิ์ อาจจะไปม็อบเพราะความอยากรู้ อยากเห็น หรือไปม็อบเพราะต้องการร่วมเรียกร้องต่อรัฐ ไม่มีใครรู้ได้แน่ชัด แต่สิ่งที่ชัดเจนที่สุดคือ ชีวิตของเขาไม่ควรหยุดลงในวัยเพียง 15 ปี

ความคืบหน้าด้านคดีความ

อย่างไรก็ตามเมื่อมีผู้ถูกกระทำ ย่อมมีผู้กระทำ แม้เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 16 ส.ค. 2564 แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจใช้เวลาในการจับกุมผู้ต้องหาทั้งหมดเกือบ 2 เดือน (30 ก.ย.2564 )ในการจับกุมผู้ต้องหาหนึ่งราย คือ ชุติพงศ์ ทิศกระโทก ขณะที่ผู้ต้องหาอีกหนึ่งรายเจ้าหน้าที่ตำรวจเปิดเผยว่าได้ออกหมายจับกุมตัวโดยใช้ภาพจากกล้องวงจรปิดแล้ว แต่ไม่สามารถเปิดข้อมูลในทางสาธารณะได้ อย่างไรก็ตามยังไม่มีรายการการจับกุมผู้ต้องรายดังกล่าว 

คดีนี้เดินทางเข้ากระบวนการยุติธรรมโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ส่งสำนวนคดีให้กับอัยการเมื่อวันที่ 20 ธ.ค. 2564 และอัยการได้ยื่นฟ้องชุติพงศ์ ใน 6 ข้อหา เมื่อวันที่ 18 ก.ค. 2565 โดยในระว่างนั้นอัยการได้ขอให้ตำรวจส่งสำนวนคดีเพิ่มเติมอีก 7 ครั้ง โดยสำนักงานคดีอาญา กอง 4 ได้ส่งฟ้องคดีต่อศาลอาญาแล้ว เป็นคดีหมายเลขดำที่ อ.1727/2565

– ร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา

– ร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน

– ร่วมกันใช้กำลังทำร้ายผู้อื่น โดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ

– ร่วมกันมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครอง โดยไม่ได้รับใบอนุญาต

– ร่วมกันพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะ โดยไม่ได้รับใบอนุญาตและไม่มีเหตุสมควร

– ร่วมกันยิงปืนซึ่งใช้ดินระเบิดโดยใช่เหตุในเมืองหมู่บ้านหรือที่ชุมนุมชน

22 ส.ค. 2565 ศาลได้นัดตรวจพยานหลักฐาน แต่ ชุติพงษ์ ทิศกระโทก จำเลยที่ 1 ไม่มีทนายมา ศาลจึงแต่งตั้งทนายอาสาเพื่อจัดการเรื่องเอกสารให้แก่จำเลย 

5 ก.ย. 2565 ศาลนัดตรวจพยานหลักฐานอีกครั้ง แต่จำเลยที่ 1 ก็ยังไม่มีทนายมา ศาลจึงตั้งทนายอาสาจัดการเรื่องเอกสารเพื่อนัดกำหนดวันสืบพยาน 

10 ต.ค. 2565 ศาลกำหนดวันนัดสืบพยาน ดังนี้ 

5, 6, 10, 11 ต.ค. 2566 ศาลนัดสืบพยานโจทย์ 15 ปาก โจทย์ร่วม 1 ปาก สืบพยาน 3 

ทั้งนอกจากวาฤทธิ์ แล้วยังมี ​​ธนพล หอมยา อายุ 14 ปี ที่ถูกยิงหน้าปากซอยประชาสงเคราะห์ 14 กระสุนเข้าบริเวณหัวไหล่ด้านหลังทะลุออกด้านหน้า ภายหลังรักษาอาการจนปลอดภัยแล้ว อย่างไรก็ตามมีผู้เสียชีวิตจากการชุมนุมในช่วงที่ผ่านมาอีก 1 รายคือ มานะ หงษ์ทอง วัย 64 ปี ถูกยิงด้วยกระสุนยางเข้าที่ศีรษะขณะเดินทางกลับแฟลตดินแดง ระหว่างการสลายการชุมนุม 15 ส.ค. 2564 ทำให้ต้องกลายเป็นผู้ป่วยติดเตียง ก่อนเสียชีวิตเมื่อ 5 มี.ค. 2565 

อ้างอิง: https://decode.plus/20211109/

https://prachatai.com/journal/2021/10/95689

https://thematter.co/quick-bite/year-after-dying-of-warit-somnoi/189388

https://plus.thairath.co.th/topic/speak/101960

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่