วันนี้ (18 ส.ค.2566) ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) นายแสวง บุญมี เลขาธิการ กกต. กล่าวตอนหนึ่งถึงประเด็นคำถามที่ว่า “กระบวนการทำงานของ กกต. รังแก นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หรือไม่ ทั้งๆ ที่ได้รับการเลือกตั้งมาเป็นอันดับ 1 ว่า”
อันดับแรก ทุกคนต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย อย่างที่สอง คือ การเลือกตั้งคือความชอบธรรมที่จะมาบริหารประเทศ
แต่ไม่ได้บอกว่า คนเลือกตั้งจะไม่มีความผิด หรือทำอะไรก็จะได้รับการยกเว้น
ไม่ได้บอกว่าคนชนะเลือกตั้งจะทำอะไรก็ได้ ต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย
ทั้งนี้กรณีการถือหุ้นสื่อที่เป็นลักษณะต้องห้าม ซึ่งมี 2 องค์ประกอบ คือ การเป็นเจ้าของ หรือ การเป็นผู้ถือหุ้น และ เป็นสื่อมวลชนประเภทใด
คนตัดสินก่อนเลือกตั้ง คือ ศาลฎีกา
หลังการเลือกตั้ง คือ ศาลรัฐธรรมนูญ
กกต.ไม่ใช่คนตัดสินเรื่องนี้
เรื่องนี้เป็นเรื่องคุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม ซึ่งเป็นเรื่องที่มีเอกสารยืนยันอยู่แล้ว หาก ผอ.เขตเลือกตั้งเจอการกระทำความผิดก่อน ก็สามารถส่งเรื่องก่อนได้เลย หากเป็น สส.บัญชีรายชื่อ ทาง กกต. จะเป็นคนส่ง และถ้าหลังการเลือกตั้ง คนส่งจะเป็น สส. ก็ได้ สว. ก็ได้หรือ กกต. แล้วแต่โครงสร้างของเรื่อง
สำหรับแนวทางข้อเท็จจริงที่ใช้วินิจฉัยเรื่องนี้ ศาลรัฐธรรมนูญวางไว้ว่า
- เป็นเจ้าของ หรือ ผู้ถือหุ้น หรือไม่
- หุ้นเป็นกิจการสื่อหรือไม่
- ยังประกอบกิจการหรือไม่
- หรือเลิกกิจการไปแล้ว
เมื่อดูข้อเท็จจริงจะเห็นทั้งหมด 3 ประการ
ลักษณะแรกตรงตามตัวหนังสือ คือ เป็นผู้ถือหุ้นสถานีโทรทัศน์ ซึ่งเข้าองค์ประกอบทั้ง 4 เรื่อง
แต่พอมาดูข้อเท็จจริงที่ 2 คือเป็นหุ้นสื่อหรือไม่ หากบอกว่าไม่ได้เป็นสื่อ แต่ในหนังสือบริคณห์สนธิ เขียนว่ามีวัตถุประสงค์ในการทำสื่อ เรื่องนี้ศาลรัฐธรรมนูญก็จะฟังและวินิจฉัยว่าเข้าองค์ประกอบทั้ง 4 เรื่องหรือไม่ ถ้าไม่เคยประกอบกิจการสื่อเลย ศาลก็ไม่ถือว่าเป็นสื่อ ลักษณะอย่างนี้เคยมีเคสกว่าร้อยเรื่องในการเลือกตั้งครั้งที่แล้ว ซึ่งศาลยกคำร้อง
ข้อเท็จจริงประการที่ 3 เป็นสื่อประกอบกิจการหรือไม่ ก็พบว่าตั้งแต่ต้นประกอบกิจการสื่อ แต่ว่าถูกสั่งหยุดการดำเนินงานไป เพราะมีข้อพิพาทให้หยุด แต่ยังไม่เลิกกิจการ ดังนั้นข้อเท็จจริงจะต่างกัน ซึ่งยังไม่เคยมีแนววินิจฉัยมาก่อน แต่เมื่อมีปัญหา กกต. จะไม่ใช่คนวินิจฉัย กกต. เป็นเพียงคนส่งเรื่อง
อ่าน : ชาวเน็ตแห่ถาม ชลน่านลาออกกี่โมง หลังจับมือรวมไทยสร้างชาติ
นายแสวง กล่าวเพิ่มเติมว่า ถ้าถามว่าทำไม กกต. ตรวจไม่เจอ ก็ต้องขอชี้แจงว่า กกต.จะมีการขอข้อมูลด้านต่างๆ กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกว่า 26 หน่วยงาน เมื่อส่งมาว่าไม่พบข้อมูล กกต.ก็จะไม่ทราบ
กฎหมายมีการเขียนไว้ด้วยว่า “รู้ทั้งรู้ว่าไม่มีสิทธิก็ยังไปสมัคร” บางครั้งกฎหมายก็เขียนให้พรรคการเมืองและผู้สมัครรับรองตัวเองด้วย ดังนั้นเมื่อหน่วยงานที่ตรวจสอบแจ้งมาว่า ไม่มีรายการตามนี้ไม่ว่าจะปี 2562 และ 2566 แต่เมื่อมีคนมาร้อง กกต. ก็ดำเนินการตามกระบวนการพิจารณาตามข้อเท็จจริงที่ต่างกันอยู่ 3 ข้อดังกล่าว แล้วยื่นไปที่ศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกระบวนการที่ไม่มีใครมาแทรกแซงได้ เป็นข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่แล้ว
ส่วนกรณีที่ นายพิธา ได้ฝากคำถามถึง กกต. 2 เรื่อง ประเด็นการถือหุ้นสื่อ นายแสวง กล่าวว่า เรื่องสำนวนจะมีกระบวนการอยู่ ซึ่งยังไม่แล้วเสร็จ เมื่อถามย้ำว่า กรณี นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ อัยการก็มีการยกฟ้อง ทำให้ครั้งนี้ต้องรัดกุม หรือต้องรอคำวินิจฉัยของศาลถึงส่งฟ้อง
อ่าน : “โรม” ไม่ทวงถาม “หมอชลน่านลาออก” หลังดึงพรรคลุงร่วมรัฐบาล
นายแสวง กล่าวว่า เรื่องมาตรา 151 นั้น ต้องมีความสัมพันธ์กับเรื่องคุณสมบัติ ซึ่งมาตรา 151 เป็นคดีอาญา จึงต้องดูที่เจตนา ต้องดูว่าศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยอย่างไร และต้องพิสูจน์เจตนาด้วย ส่วนที่ไม่ได้เรียกมาชี้แจงนั้น ตนไม่ทราบว่าในชั้นคณะกรรมการสอบสวน (ซึ่งได้มอบรองเลขาฯ กกต. เป็นผู้กำกับดูแล รวมถึงอนุกรรมการวินิจฉัย) มีวิธีการอยู่ ไม่สามารถไปแทรกแซงได้
แต่หากมีลักษณะที่จะเป็นการให้คุณให้โทษเขา ก็ต้องเชิญมาชี้แจง ซึ่งต่างจากลักษณะคุณสมบัติต้องห้าม อย่างไรก็ตาม ตอนนี้กระบวนการสอบสวนตามมาตรา 151 ยังไม่แล้วเสร็จ