หน้าแรก Thai PBS ส่องนโยบายฐานเงินเดือน 25,000 บ.ทำได้หรือขายฝัน ?

ส่องนโยบายฐานเงินเดือน 25,000 บ.ทำได้หรือขายฝัน ?

52
0
ส่องนโยบายฐานเงินเดือน-25,000-บ.ทำได้หรือขายฝัน-?

นโยบายเศรษฐกิจ ของพรรคเพื่อไทย ที่กำลังถูกจับตามอง นอกจากเรื่องเงินดิจิทัล 10,000 บ.ที่พรรคเพื่อไทยออกมาแจ้งว่า จะเริ่มดำเนินการในช่วงต้นปี 67

แต่ก็ยังอีกนโยบายที่ถูกจับตามองเช่นกัน คือ นโยบายปรับฐานเงินเดือนจบปริญญาตรี 25,000 บาท นโยบายดังกล่าว ถูกตั้งคำถามว่า นโยบายดังกล่าวสามารถทำได้หรือไม่ โดยเฉพาะเสียงของตลาดแรงงานที่อยู่มาตั้งแต่ยุครัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่ปรับฐานให้ 15,000 ตั้งคำถามว่า กลไกสำคัญขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของนายจ้างที่จะยอมควักกระเป๋าจ้างมากกว่า

เทียบนโยบายปรับเงินเดือน “เพื่อไทย” 

ขณะที่ นโยบายเศรษฐกิจพรรคเพื่อไทย ที่ใช้หาเสียงตั้งแต่ปี 2565 ส่วนใหญ่ยังเป็นประชานิยม ไม่ว่าจะเป็นนโยบาย สร้างงาน 20 ล้านตำแหน่ง, รายได้ไม่ต่ำกว่า 200,000 บาท/ต่อปี, ค่าแรงขั้นต่ำ 600 บาท/วัน, กระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาท,เงินเดือนปริญญาตรี 25,000 บาท

ขณะที่ เมื่อย้อนไปดูนโยบายปี 2554 ที่พรรคเพื่อไทย มีดังนี้ ค่าแรง 300 บาท ป.ตรี 15,000 บาท ขณะที่ในการหาเสียงปี 2556 ค่าแรง 600 บาท ป.ตรี 25,000 บาท 

ทั้งนี้ การที่ค่าแรงขั้นต่ำและการปรับฐานเงินเดือนจะเกิดขึ้นได้จริง ต้องมาจากการรัฐบาลนำโดยพรรคเพื่อไทย ต้องเข้าไปช่วยและพูดคุยกับเอกชนเพื่อให้กลไกเหล่านี้ที่ขายไว้เกิดขึ้นจริง 

2 ปัจจัยเอกชนปรับฐานเงินเดือน

น.ส.วรรณกวี อยู่วัฒนา อดีตนิสิตอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อดีตพนักงานบริษัท ระบุว่า เมื่อเรียนจบได้ทำงานตรงกับสายที่เรียนมา ทั้งรายการ ละคร และเธอเป็นแรงงานที่ได้ปรับฐานเงินเดือนจบใหม่ 15,000 บ.

น.ส.วรรณกวี บอกว่า ต้องใช้เวลา 10 กว่าปี เพิ่มพูนทักษะจนเลื่อนขั้นขึ้นมาเป็นเลขาผู้บริหาร ฐานเงินเดือนถึงขยับมาที่ 25,000 บ. แต่ตัวเลขนี้ได้เมื่อ 5 ปีก่อน

แต่ด้วยภาระงานที่หนักจนป่วย น.ส.วรรณกวี จึงตัดสินใจลาออกมาขับแท็กซี่ โดยขณะนี้รายได้ต่อเดือนอยู่ที่ไม่ต่ำกว่า 30,000 บ. ซึ่งสาเหตุที่ต้องหารายได้ให้ได้มากขึ้น ก็เพราะเธอมีหนี้เช่นเดียวกับครอบครัวอื่นทั่วไป

น.ส.วรรณกวี อยู่วัฒนา อดีตนิสิตอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ปัจจุบันประกอบอาชีพขับรถแท็กซี่

น.ส.วรรณกวี อยู่วัฒนา อดีตนิสิตอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปัจจุบันประกอบอาชีพขับรถแท็กซี่

น.ส.วรรณกวี ยังสะท้อนว่า ฐานเงินเดือนขึ้นอยู่กับว่าองค์กรนั้นจะมีผลประกอบการมาก-น้อย เพียงใด ตำแหน่งนั้นมีความสำคัญอย่างไร หาก 2 ปัจจัยนี้สอดคล้องกัน องค์กรก็พร้อมจะปรับฐานเงินเดือน แต่ส่วนใหญ่ทุกองค์กรจะรัดเข็มขัดด้วยภาวะทางเศรษฐกิจ

นี่จึงเป็นโจทย์ใหญ่ของรัฐบาลเพื่อไทย ขณะเดียวกันถ้าปรับฐานเงินเดือนไม่ได้จริงในอนาคตตลาดแรงงานอาจจะขาดแคลน เพราะเด็กจบใหม่จะหันไปทำอาชีพอิสระ เพราะค่าครองชีพที่สูงขึ้น 

นักวิชาการคาด GDP ต้องโต 5 % จึงปรับฐานเงินเดือนได้

ขณะที่ นายนณริฏ พิศลยบุตร นักวิชาการอาวุโส TDRI มองว่านโยบายเชิงเศรษฐกิจโดยเฉพาะการปรับฐานเงินเดือน 25,000 บาท เป็นความท้าทายของพรรคเพื่อไทย ในฐานะรัฐบาลสามารถกำหนดกฎเกณฑ์ให้ราชการและรัฐวิสาหกิจได้ แต่ไม่สามารถบังคับภาคเอกชนให้ปรับขึ้นตามนโยบายได้

นายนณริฏ พิศลยบุตร นักวิชาการอาวุโส TDRI

นายนณริฏ พิศลยบุตร นักวิชาการอาวุโส TDRI

เมื่อพิจารณาจากการปรับขึ้นเงินเดือน 15,000 บาท ปี 2554 ผ่านมา 10 ปี บางที่ขานรับแต่บางที่ก็ยังไม่ปรับ ด้วยปัจจัยด้านเศรษฐกิจของประเทศ ยกเว้นแรงงานที่มีทักษะอาชีพเฉพาะ หรือ ผู้ที่มีประสบการณ์เท่านั้นที่อาจจะโชคดีในตลาดแรงงาน เลยทำให้เห็นปัจจุบันมีทั้งนักศึกษาจบใหม่ว่างงาน เพราะส่วนใหญ่ตำแหน่งที่เปิดไม่ตรงกับที่เรียนมา

การแก้ไขปัญหาระยะยาวคือการเข้าไปสนับสนุนภาคเอกชน ลดหย่อนภาษี และทำให้จีดีพีเติบโต 5 % เพื่อให้เศรษฐกิจขับเคลื่อนยั่งยืน ตามนโยบายที่หาเสียงไว้

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง 

เปิดโผ ครม. “เศรษฐา 1” เพื่อไทย ครองกระทรวงสำคัญ – “อนุทิน” มท.1  

“คนภูเก็ต” แห่รับ “เศรษฐา” ดูธุรกิจท่องเที่ยวหาดป่าตอง  

“สุทิน” เผยโผ ครม. คืบ 90% ทูลเกล้าฯ สัปดาห์หน้า  

“ประยุทธ์”โพสต์ลาตำแหน่งนายกฯคนที่ 29 ฝากผลงาน 9 ปี นำไปต่อยอด 

 

 

 

 

 

 

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่