ศูนย์สำรวจความคิดเห็นนิด้าโพล สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง ‘เงินเดือนข้าราชการ’ ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 19-21 ก.ย. 2566 จากกลุ่มข้าราชการ/พนักงาน/ลูกจ้างของรัฐ และพนักงานรัฐวิสาหกิจ รวมทั้งสิ้นจำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง การสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของนิด้าโพล สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0
จากการสำรวจเมื่อถามถึงความเพียงพอของเงินเดือนที่ได้รับไม่รวมรายได้พิเศษอื่นๆ ที่ถูกกฎหมาย กับการใช้จ่ายและการมีเงินเก็บ ในปัจจุบัน พบว่า
- ร้อยละ 44.81 ระบุว่า ไม่เพียงพอต่อการใช้จ่ายและไม่มีเงินเก็บ
- ร้อยละ 28.32 ระบุว่า เพียงพอต่อการใช้จ่ายและมีเงินเก็บ
- ร้อยละ 26.87 ระบุว่า เพียงพอต่อการใช้จ่ายแต่ไม่มีเงินเก็บ
ด้านความเพียงพอของเงินเดือนที่ได้รับเมื่อรวมรายได้พิเศษอื่นๆ ที่ถูกกฎหมาย กับการใช้จ่ายและการมีเงินเก็บในปัจจุบัน พบว่า
- ร้อยละ 31.76 ระบุว่า เพียงพอต่อการใช้จ่ายและมีเงินเก็บ
- ร้อยละ 24.12 ระบุว่า เพียงพอต่อการใช้จ่ายแต่ไม่มีเงินเก็บ
- ร้อยละ 22.90 ระบุว่า ไม่มีรายได้พิเศษอื่นๆ (ที่ถูกกฎหมาย)
- ร้อยละ 21.22 ระบุว่า ไม่เพียงพอต่อการใช้จ่ายและไม่มีเงินเก็บ
ส่วนการมีหนี้สินจากการกู้ยืม พบว่า
- ร้อยละ 44.35 ระบุว่า มีหนี้สินกับสถาบันทางการเงิน
- ร้อยละ 43.36 ระบุว่า มีหนี้สินกับสหกรณ์
- ร้อยละ 25.57 ระบุว่า ไม่มีหนี้สินใดๆ
- ร้อยละ 3.66 ระบุว่า มีหนี้สินนอกระบบ (รวมถึงการกู้ยืมเงินจากเพื่อน ญาติพี่น้อง)
สำหรับความคิดเห็นต่อแนวคิดของรัฐบาลเกี่ยวกับการแบ่งจ่ายเงินเดือนข้าราชการ 2 รอบ พบว่า
- ร้อยละ 71.30 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย
- ร้อยละ 11.83 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย
- ร้อยละ 8.32 ระบุว่า เห็นด้วยมาก
- ร้อยละ 7.71 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย
- ร้อยละ 0.84 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความคิดเห็นต่อนโยบายเงินเดือนผู้จบปริญญาตรี 25,000 บาท พบว่า
- ร้อยละ 57.86 ระบุว่า เห็นด้วยมาก
- ร้อยละ 20.38 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย
- ร้อยละ 13.36 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย
- ร้อยละ 7.94 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย
- ร้อยละ 0.46 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 8.55 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 18.55 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง ร้อยละ 18.01 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.44 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 13.74 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ และร้อยละ 7.71 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออก ตัวอย่าง ร้อยละ 49.92 เป็นเพศชาย และร้อยละ 50.08 เป็นเพศหญิง
ตัวอย่าง ร้อยละ 7.02 อายุ 18-25 ปี ร้อยละ 22.67 อายุ 26-35 ปี ร้อยละ 23.36 อายุ 36-45 ปี ร้อยละ 32.90 อายุ 46-59 ปี และร้อยละ 14.05 อายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 96.26 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.13 นับถือศาสนาอิสลาม และร้อยละ 0.61 นับถือศาสนาคริสต์ และศาสนาอื่น ๆ
ตัวอย่าง ร้อยละ 37.56 สถานภาพโสด ร้อยละ 60.00 สมรส และร้อยละ 2.44 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ ตัวอย่าง ร้อยละ 0.69 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 12.90 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 8.24 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 58.40 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 19.77 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 83.21 ประกอบอาชีพข้าราชการ ร้อยละ 4.88 ประกอบอาชีพพนักงานของรัฐ ร้อยละ 5.80 ประกอบอาชีพลูกจ้างของรัฐ และร้อยละ 6.11 ประกอบอาชีพพนักงานรัฐวิสาหกิจ
ตัวอย่าง ร้อยละ 4.89 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 31.68 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 26.26 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 16.49 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท ร้อยละ 18.70 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 1.98 ไม่ระบุรายได้