หน้าแรก Thai PBS นักวิชาการ มองเหตุโจมตีตะวันออกกลางยกระดับความรุนแรงสู่ภูมิภาค

นักวิชาการ มองเหตุโจมตีตะวันออกกลางยกระดับความรุนแรงสู่ภูมิภาค

91
0
นักวิชาการ-มองเหตุโจมตีตะวันออกกลางยกระดับความรุนแรงสู่ภูมิภาค

วันนี้ (8 ต.ค.2566) ผศ.มาโนชญ์ อารีย์ อาจารย์ภาควิชาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เปิดเผยกับไทยพีบีเอส ถึงสถานการณ์ที่กลุ่มฮามาสยิงขีปนาวุธโจมตีอิสราเอล โดยมองว่าสถานการณ์ครั้งนี้รุนแรงกว่าหลายครั้งที่ผ่านมา เนื่องจากอิสราเอลมีการประกาศอยู่ในภาวะสงครามและปฏิบัติการตอบโต้ ในอดีตที่ผ่านมาแม้ว่าอิสราเอลตอบโต้ แต่เป็นการปฏิบัติการทางทหาร ไม่ได้ประกาศภาวะสงคราม ซึ่งเมื่อใช้คำว่าสงครามจะเป็นการยกระดับการโจมตี

แต่หามองทางปาเลสไตน์ การปฏิบัติการครั้งนี้เป็นปฏิบัติการตอบโต้กับความโหดร้ายที่ปาเลสไตน์ต้องเผชิญมาทั้งหมด มองว่าเป็นการยกยอดปัญหาในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมาที่ตั้งเป้าหมายว่าเป็นปฏิบัติการปลดปล่อย หรือยึดคืนพื้นที่ปาเลสไตน์ จึงเห็นว่าความพิเศษอย่างหนึ่งคือกองกำลังของฮามาสและกลุ่มติดอาวุธปาเลสไตน์บุกข้ามเข้าไปในอิสราเอลและมีการยึดพื้นที่ ยึดอาวุธ ยุทโธปกรณ์ มีการจับทหารอิสราเอลเป็นตัวประกัน รวมถึงคนไทยด้วย

ผศ.มาโนชญ์ ยังระบุว่า อิสราเอล และ สหรัฐ ขึ้นบัญชีกลุ่มฮามาสว่าเป็นกลุ่มก่อการร้าย และนโยบายไม่เจรจากับผู้ก่อการร้าย แต่สหประชาคมโลกส่วนใหญ่ไม่ได้ออกข้อมติว่าอามาสคือกลุ่มก่อการร้าย ฉะนั้นการที่อิสราเอลไปเจรจาและแลกเปลี่ยนตัวประกันเป็นมีข้อจำกัดเชิงนโยบายของอิสราเอล และที่ผ่านมาฮามาสไม่เจรจาโดยตรงกับอิสราเอล แต่อาจจะผ่านตัวกลางอย่างประเทศอียิปต์ แต่ก็มีความเป็นไปได้ที่นำไปสู่การเจรจากันเพื่อแลกเปลี่ยนตัวประกัน ทั้งนี้มีรายงานว่าตัวประกันที่ฮามาสจับเป็นระดับผู้บัญชาการ

การโจมตีครั้งนี้อิสราเอลไม่ทันตั้งตัว และไม่คาดคิดหรือประเมินสถานการณ์ต่ำเกินไป ว่ากลุ่มฮามาสไม่กล้าโจมตีหรือบุกเข้าไปในอิสราเอล ทำให้เกิดการวิจารณ์เป็นความผิดพลาดสายลับหรือข่าวกรองอิสราเอล พลาดได้ ซึ่งการโจมตีสร้างความเสียหายและความสูญเสียให้อิสราเอลอย่างหนัก

สำหรับชนวนเหตุของการปะทะในครั้งนี้ ถ้ามองในมุมในอิสราเอลว่าฮามาสโจมตีเข้ามาจำเป็นต้องมีการตอบโต้กลับไปเพื่อรักษาอธิปไตย แต่ในมุมของปาเลสไตน์เพราะว่าการโจมตีครั้งนี้เกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกันกับการครบรอบการทำสงครามสงครามยมคิปปูร์ ในปี 1973 ซึ่งเกิดขึ้นในวันที่ 6 ต.ค.1973 เชื่อว่าปัญหาอย่างหนึ่งที่ตามมาคือกรณีของซาอุดีอาระเบียที่โลกกำลังจับตาว่ากำลังตัดความสัมพันธ์กับอิสราเอลในเร็ววันนี้ เมื่อเกิดการโจมตีซาอุดีอาระเบียก็ลำบากใจที่จะต้องตัดความสัมพันธ์กับอิสราเอลไม่อย่างนั้นปาเลสไตน์ก็จะต่อต้าน ซาอุดีอาระเบียก็จะเสียภาพลักษณ์บทบาทของผู้นำโลกมุสลิม

สาเหตุและปัจจัย ในระยะหลังมีการบุกเข้าไปในเวสต์แบงก์ต่อเนื่อง สร้างความสูญเสียให้ปาเลสไตน์ และเหตุการณ์ฟางเส้นสุดท้ายเมื่อวันหยุดยาวของอิสราเอลเป็นเทศกาลทางศาสนาชาวยิว มีชาวยิว 1 พันกว่าคนบุกขึ้นไปประกอบพิธีในมัสยิดอัล-อักซอที่โดยหลักกฎหมายแล้วพื้นที่ตรงนี้เป็นพื้นที่ให้จอร์แดนดูแล และห้ามคนนอกขึ้นไปประกอบพื้นที่ศาสนา

และเป็นประเด็นที่ฮามาสเตือนมาตลอดว่ามัสยิดดังกล่าวข้ามไม่ได้ จึงเป็นเหตุผลที่ฮามาสตอบโต้อิสราเอลกลับไป

ทั้งนี้ท่าทีของประชาคมโลก มีหลากหลาย กลุ่มที่เป็นพันธมิตร อิสราเอล อย่างประเทศสหรัฐ และชาติตะวันตก ประณามฮามาส ปาเลสไตน์มองว่าการโจมตีเป็นการป้องกันตัวเอง

แต่ในส่วนของฮามาส เป็นปฏิบัติการตอบโต้ที่ป้องกันตัวเองเช่นกัน จะมีผู้นำบางประเทศที่สนับสนุนปาเลสไตน์หลายประเทศมุสลิม มิติหนึ่งของปัญหานี้คือการแสดงจุดยืนของผู้นำโลก ในท่ามกลางที่มีคนไทยตกอยู่ในวงล้อมของความขัดแย้งและเผชิญหน้า ซึ่งประเทศไทยควรวางตัวอย่างไร

ผศ.มาโนชญ์ ยังกล่าวว่า ส่วนกรณีที่สงครามจะลุกลามบานปลายอย่างไร ภาคการต่อสู้ปะทะกันเป็นระหว่างอิสราเอลและฮามาสที่อยู่ในกาซา แต่เชื่อว่าค่อยๆ ลุกลามไป อิสราเอลและปาเลสไตน์ในฝั่งเวสต์แบงก์ และรวมไปถึงอาจจะเกิดการลุกฮือขึ้นของชาวปาเลสไตน์ที่อยู่ในพื้นที่ของอิสราเอลนี่คือระดับของวงชั้นใน เมื่อขยับออกมาอีกวงเชื่อว่าปัญหาอาจจะลุกลามเป็นความขัดแย้งและเผชิญหน้าไประดับภูมิภาค เมื่อครั้งนี้ปาเลสไตน์ลุกฮือต่อต้านอิสราเอล ก็จะวัดใจอิหร่าน และกลุ่มต่างๆ ที่สนับสนุน จะเข้าร่วมหรือเข้าช่วยอย่างไรในกรณีที่สงครามบานปลาย สงครามจะขยายตัว เป็นระดับภูมิภาค

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

อัปเดต! แรงงานไทยในอิสราเอลตาย 2 บาดเจ็บ 8 ถูกจับ 11 คน

กต.เผยรอสัญญาณช่วยคนไทยในอิสราเอล-ยังไม่ประณามฝ่ายใด

BLACK DAY “นายกฯ อิสราเอล” ประกาศกร้าวตอบโต้กลุ่มฮามาส

ปูมหลังปมขัดแย้ง “อิสราเอล-ปาเลสไตน์”

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่