หน้าแรก Thai PBS เปิด 3 ชนวนเหตุความขัดแย้ง “อิสราเอล-ฮามาส” กระทบภูมิภาค

เปิด 3 ชนวนเหตุความขัดแย้ง “อิสราเอล-ฮามาส” กระทบภูมิภาค

99
0
เปิด-3-ชนวนเหตุความขัดแย้ง-“อิสราเอล-ฮามาส”-กระทบภูมิภาค

วันนี้ (9 ต.ค.2566) ดร.ศราวุฒิ อารีย์ ผู้อำนวยการศูนย์มุสลิมศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยกับไทยพีบีเอสถึงชนวนการเปิดปฏิบัติการสู้รบของกลุ่มฮามาส  และ อิสราเอล โดยระบุว่าการปฏิบัติการครั้งนี้เชื่อว่ามีการเตรียมการไว้ล่วงหน้าค่อนข้างนานพอสมควร จากที่อิสราเอลได้เข้าไปปิดล้อมฉนวนกาซาปล่อยให้กลุ่มฮามาลปกครองดินแดนฉนวนกาซาและในช่วงที่ผ่านมา 10 ปี การโจมตีของทั้งสองฝ่ายเกิดขึ้นหลายครั้ง ที่ผ่านมาจะเป็นการยิงจรวดเข้าไปอิสราเอล อิสราเอลก็จะตอบโต้ด้วยการส่งเครื่องบินทางอากาศเข้าไปถล่มในดินแดงในฉนวนกาซา

แต่ครั้งนี้ที่แปลกไป โดยฮามาสได้ทะลวงเข้ามาในอิสราเอล ไม่ได้แค่การยิงจรวดเท่านั้น แต่ส่งพลรบเข้ามาปฏิบัติการในดินแดนอิสราเอสด้วย ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ทำให้รุนแรงกว่าทุกครั้งที่่ผ่านมา และทำให้เกิดความเสียหาย มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก และขณะเดียวกันอิสราเอลก็ปฏิบัติการทางทหารในฉนวนกาซาที่ทำให้ชาวปาเลสไตน์จำนวนมากเสียชีวิต ถ้าเปรียบเทียบกับการปฏิบัติครั้งก่อนๆ ในปี 2008 , 2014 , 2010 , 2021 ครั้งนี้ดูจะยืดเยื้อและไม่มีทีท่าว่าจะจบง่ายๆ

ชาวปาเลสไตน์ตรวจสอบความเสียหายจากการโจมตีทางอากาศของอิสราเอล

ชาวปาเลสไตน์ตรวจสอบความเสียหายจากการโจมตีทางอากาศของอิสราเอล

เป้าหมายในการปฏิบัติการของกลุ่มฮามาสครั้งนี้ มี 3 ประเด็นหลัก

1.การตอบโต้อิสราเอลจากบาดแผลที่สะสมจากสิ่งที่อิสราเอลกระทำต่อปาเลสไตน์

2.ฮามาสต้องการดึงความสนใจของประชาคมโลกให้มามองสถานการณ์ในปาเลสไตน์ กระบวนการเจรจาสันติภาพไม่เคยเกิดมานับ10 ปี

3.ฮามาสต้องการตัวประกันพลเรือนของอิสราเอล ยิ่งเป็นทหารจะมีผลต่อการต่อรองเพื่อแลกเปลี่ยนนักโทษปาเลสไตน์

ชาวต่างชาติ แรงงาน ถูกจับไปด้วย การต่อรองเพื่อจะเอาตัวประกันต่างชาติกลับคืนมาก็จะทำได้ง่ายกว่า ฮามาสต้องการความชอบทำบางประการ โดยเฉพาะความชอบธรรมในประชาคมโลกในการเข้าปฏิบัติการภายใต้การยึดครอง ในมุมมองของฮามาสมองว่าการปฏิบัติการในครั้งนี้เป็นความชอบธรรม และในมิติกฎหมายระหว่างประเทศดินแดนนี้เป็นดินแดนภายใต้การยึดครองที่สหประชาชาติมีมติออกมาในช่วงปี 1967-1968

สำหรับการขัดแย้งระลอกนี้สิ่งที่น่ากลัวว่าสถานการณ์จะลุกลามบานปลายในลักษณะกลุ่มติดอาวุธรอบอิสราเอลเข้ามาผสมโรงด้วย จะทำให้ทุกพื้นที่หรือหลายพื้นที่ในดินแดนของอิสราเอลเป็นดินแดนที่อันตรายและสิ่งที่สำคัญคือ ต้องหาวิธีการที่จะรักษาปกป้องแรงงานของเราให้ดีที่สุด ขณะนี้ทางภาครัฐต้องประเมินสถานการณ์ว่าจะเป็นทิศทางใด และจะวางแผนในการอพยพคนไทยออกมา ถ้าไม่สามารถอพยพทางอากาศได้ ช่องทางที่น่าสนใจและปลอดภัย คือการขอความร่วมมือกับจอร์แดนเพื่อช่วยเหลือในการเป็นทางผ่าน

ดร.ศราวุฒิ มองว่า ขณะนี้ ที่ใดที่กลายเป็นสนามรบ หรือสนามสงคราม ก็อาจจะถูกใช้เป็นสนามของการแข่งขันของมหาอำนาจทั้งหลายได้ จะเห็นได้ชัดเจนว่าอิสราเอลอยู่ฟากตะวันตก ขณะที่อิหร่านมีความสัมพันธ์ที่ดีกับรัสเซีย และอาจทำให้ดินแดนปาเลสไตน์กลายเป็นสงครามอีกแหล่งหนึ่ง อาจจะเหมือนสงครามหลายฝ่ายที่มีมหาอำนาจหลายฝ่ายเข้ามาเชื่อมโยง อย่างไรก็ตามอีกหนึ่งมิติต้องทำความเข้าใจ สหรัฐ ตะวันตก อาจจะยังไม่พร้อมทำให้ศึก 2 ด้าน เพราะยังมีปัญหากับยูเครน 

มหาอำนาจตะวันตกแม้จะประณามการกระทำของฮามาสแต่ก็ไม่อยากให้ลุกลามกลายเป็นสงครามใหญ่

ทั้งนี้ตะวันออก เป็นภูมิภาคที่สงบลงจากการปรับเปลี่ยนนโยบายต่างประเทศซาอุดีอาระเบีย แต่ท่ามกลางความสงบในภูมิภาคตะวันออกกลาง แต่มีจุดที่เป็นปัญหายืดเยื้อคือปัญหาความขัดแย้งระหว่างอิสราเอล ปาเลสไตน์ และเป็นจุดที่สร้างปัญหาให้เกิดไร้เสถียรภาพไปใน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

หย่าศึก “อิสราเอล-ฮามาส” ยังไร้วี่แวว

รู้จักพื้นที่สู้รบ “อิสราเอล-ฮามาส”

เหตุสู้รบระหว่าง อิสราเอล – ฮามาส เสียชีวิตแล้วกว่า 1,000 คน

24 ชั่วโมงสงครามกลางเมือง “อิสราเอล-ฮามาส”

นักวิชาการ มองเหตุโจมตีในอิสราเอลยืดเยื้อ ยกระดับความรุนแรงสู่ภูมิภาค

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่