วันนี้ (19 ต.ค.2566) นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ สส.พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจ ของสภา ผู้แทนราษฎร กล่าวถึงญัตติที่กรรมาธิการได้เชิญ ตัวแทนจากกระทรวงการคลัง ผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทย และผู้แทน ป.ป.ช. มาให้ข้อมูลนโยบายการจ่ายเงินดิจิทัล เป็นสิทธิ์ของหลายฝ่ายที่จะตั้งคำถาม ขณะเดียวกันก็เป็นสิทธิ์ของรัฐบาลที่จะดำเนินนโยบายที่ต้องมาพร้อมความรับผิดชอบหากเกิดความเสียหาย ต่อประเทศและส่วนรวม
โดยตั้งประเด็นสอบถาม 2 เรื่อง ว่าจะมีการดำเนินนโยบายอย่างไรและจะนำงบประมาณมาจากที่ไหน หากไม่ได้ใช้งบประมาณแผ่นดินและไม่ใช่การกู้เงิน เชื่อว่าทุกคนต้องการคำตอบ เนื่องจากในขณะนี้ทุกอย่างยังคลุมเครือไม่มีความชัดเจน จากผู้ที่มีหน้าที่กำหนดนโยบายและลงปฏิบัติจริง วันนี้จึงหวังว่าจะได้คำตอบที่ชัดเจน และสามารถแจ้งให้ประชาชนเจ้าของเงินภาษีได้รับทราบ เพราะสุดท้ายก็เชื่อว่าจะเป็นการนำเงินภาษีของคนไทยมาแจกโดยไม่ได้เอาเงินส่วนตัวมาแจก
สุดท้ายแล้วทำไมมีมืดๆ ดำๆ คลุมๆ เครือๆ ไม่มีความชัดเจนจนวันนี้ เป็นไปได้ยังไงเมื่อเป็นนโยบายหาเสียง หากเป็นนโยบายหาเสียงต้องมีความชัดเจนมาตั้งแต่แรก ว่าจะทำอย่างไร แต่นี่เป็นมาเริ่มต้นนับหนึ่งในช่วงเป็นรัฐบาล จนขณะนี้ยังไม่ได้เริ่มนับ 1.1 คือยังไม่มีความชัดเจนใดๆ เกิดขึ้น จึงหวังว่าวันนึงจะมีความชัดเจนสักวัน แต่ว่าระหว่างทางอย่าไปตำหนิคนที่ตั้งคำถามอย่าไปตำหนิคนที่ตั้งข้อสังเกตและอย่าไปตำหนิประชาชนที่มีสิทธิ์รับรู้เพราะเอาเงินเขามาใช้ เอาเงินเขามาจากเจ้าของเงินย่อมมีสิทธิ์ที่จะรับรู้ได้
นายจุรินทร์ ปฏิเสธที่จะวิพากษ์วิจารณ์ข้อสังเกตว่าการนโยบายดังกล่าวนั้นอาจนำไปสู่การฟอกเงินครั้งใหญ่ในระบบ ด้วยเพราะพยายามที่จะให้โอกาสรัฐบาลและให้ความเป็นธรรม เพราะไม่เคยออกมาคัดค้านให้ยกเลิก แต่ผมว่าเป็นสิทธิ์ของรัฐบาลที่จะมีนโยบายในการบริหารราชการแผ่นดิน แต่ชี้ว่ารัฐบาลไม่มีสิทธิ์ที่จะนำเงินภาษีของคนทั้งประเทศทำในสิ่งที่อาจเกิดความเสียหายแก่บ้านเมืองและเกิดการทุจริตคอรัปชัน
พร้อมตั้งคำถามว่าเป็นข้อสังเกตและข้อซักถามกับประชาชนเพราะเหตุใดในการดำเนินนโยบายไม่แจกเป็นเงินสด หรือแจกเงินผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตัง ส่วนตัวยังไม่ได้สอบถามในประเด็นนี้เนื่องจากสินค้ายังไม่รู้ว่ารายละเอียดการดำเนินนโยบายจะเป็นอย่างไร หรือยังคงยืนยันว่าจะแจกเป็นโทเคนอยู่หรือไม่ หรือจะแจกเป็นเงินสดตามที่มีหลายฝ่ายเรียกร้อง เพราะจะเป็นภาระของคนทั้งประเทศที่จะมาใช้หนี้ต่อไปในอนาคต ในฐานะกรรมาธิการหลังจากนี้ก็จะติดตามแทนประชาชนในฐานะฝ่ายตรวจสอบฝ่ายนิติบัญญัติที่ทำหน้าที่
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
“หมอวรงค์” ชี้ ดิจิทัล 1 หมื่น ช่วยคนรวย เอาคนจนบังหน้า
“คลัง” ห่วงข้อจำกัด กม.-แอปฯ อาจแจกเงินดิจิทัลไม่ทัน ก.พ.67
“จุลพันธ์” ปัดใช้งบ 1.2 หมื่นล้านทำซูเปอร์แอปฯ แจกดิจิทัลวอลเล็ต