หน้าแรก Thai PBS “อัยการช่วยฟรี” ตั้งผจก.มรดก เหยื่อสงครามอิสราเอล

“อัยการช่วยฟรี” ตั้งผจก.มรดก เหยื่อสงครามอิสราเอล

74
0
“อัยการช่วยฟรี”-ตั้งผจก.มรดก-เหยื่อสงครามอิสราเอล

กลับคืนบ้านเกิดแล้ว ร่างแรงงานไทย 8 ศพจากสงครามอิสราเอล แม้กระทรวงแรงงานยืนยันว่า จะส่งเจ้าหน้าที่แรงงานจังหวัดเข้าแจ้งสิทธิประโยชน์ครอบครัวของแรงงานและอำนวยความสะดวกทุกขั้นตอน แต่ยังมีค่าสินไหมทดแทน ในกรณีที่ได้รับบาดเจ็บ และการจัดการมรดกในกรณีที่เสียชีวิต

นายณรงค์ ศระระสันต์ อัยการพิเศษฝ่ายแผนช่วยเหลือทางกฎหมาย สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน (สคชจ.) สำนักงานอัย การสูงสุด(อสส.) กล่าวว่า ที่ผ่านมาอสส.มีหนังสือเวียน ให้อัยการ สคชจ. ลง พื้นที่ ช่วยเหลือครอบครัวเเรงงานไทยในอิสราเอล และความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนในสถานการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นแล้ว  โดยเรื่องการจัดการศพ เป็นหน้าที่ของกระทรวงแรงงาน และกระทรวงต่างประเทศที่ต้องนำศพกลับมาด้วยกระบวนการหรือวิธีการทูต

ส่วนการจัดการมรดก อัยการจะเป็นผู้ลงพื้นที่ให้คำปรึกษากับครอบครัวแรงงาน และจัดการมรดกให้ถึงที่

หากผู้ใดต้องการความช่วยเหลือก็สามารถแจ้งเรื่องไว้ได้ เช่น มีการทำประกันภัยไว้หรือไม่ ทั้งในส่วนที่แรงงานทำประกันไว้เอง หรือนายจ้างทำประกันไว้ให้ รวมถึงสิทธิที่จะได้รับเงินจากกองทุนของกระทรวงแรงงาน

และสุดท้ายคือ เรื่องการจัดการมรดก กรณีได้รับบาดเจ็บ ซึ่งในญาติของผู้ตายตลอดชีพนั้น เป็นเรื่องที่นายจ้างตกลงกับทางญาติเอง กรณีที่หากครอบครัวแรงงานสามารถตั้งผู้จัดการมรดกได้ จะสามารถเรียกร้องเรื่องต่าง ๆ ผ่านผู้จัดการมรดกได้ ซึ่งผู้ที่จะติดตามการดำเนินการเหล่านี้คือ กระทรวงแรงงานหรือกงสุล เพื่อตรวจสอบว่าเรามีบัญชีอยู่ที่นายจ้างหรืออยู่ที่ต่างประเทศหรือไม่

อ่านข่าว ถึงบ้านแล้วนะลูก! พ่อบอกลาลูกชายคนเล็กเสียชีวิตอิสราเอล

บรรยากาศงานศพแรงงานไทยที่เสียชีวิตจากสงครามอิสราเอล

บรรยากาศงานศพแรงงานไทยที่เสียชีวิตจากสงครามอิสราเอล

เหตุสาบสูญในสงครามกฎหมายมีอายุความ 2 ปี 

นายณรงค์ บอกว่า สคชจ. มีบริการจัดตั้งผู้จัดการมรดกให้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย หากเตรียมเอกสารครบถ้วน ชาวบ้านไม่จำเป็นต้องเดินทางมาที่ศาลเอง อัยการจะเป็นผู้ดำเนินการให้ถึงบ้าน หรือลงระบบออนไลน์ให้ เหมือนกรณีเหตุกราดยิงที่เทอร์มินอล 21 โคราช ที่มีผู้เสียชีวิต 20 กว่าศพ

ทั้งนี้ อัยการจะใช้วิธีไต่สวนทางออนไลน์ทั้งหมด โดยจัดการระบบและนำคำพิพากษาคำสั่งไปให้ รวมทั้งช่วยประสาน กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ติดตามเรื่องทรัพย์สินทั้งในและต่างประเทศ

ในกรณีที่ลูกหลานของครอบครัวไหน เป็นผู้หายสาบสูญในเหตุสงครามหรือภัยพิบัติ กฎหมายมีอายุความ 2 ปี โดยหลังจาก 2 ปี ถ้ายังไม่สามารถติดต่อได้ ญาติสามารถร้องขอเป็นผู้สาบสูญได้ เสมือนเป็นผู้เสีย ชีวิตตามคำสั่งศาล และให้นำคำสั่งศาลนั้น มาจัดการมรดกต่อไปได้

หรือในกรณีที่ไม่สามารถติดต่อญาติได้หลังจาก 1 ปี ไม่รู้ว่ามีชีวิตอยู่หรือไม่อย่างไร แล้วมีเหตุจำเป็นต้องจัดการทรัพย์สิน แต่ยังไม่ครบตามกฎหมายที่ต้องหายสาบสูญเกิน 2 ปี สามารถไปพบอัยการเพื่อขอให้อัยการตั้งผู้จัดการทรัพย์ชั่วคราวไว้ก่อน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 48

ยังมีปัญหาเรื่องการจัดการสินไหมทดแทนตามพ.ร.บ.ค่าทดแทนผู้เสียหายในคดีอาญา จากการตรวจสอบกับกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ พบว่าไม่ครอบคลุมต่างประเทศ แรงงานจะได้รับเฉพาะเงินของกระทรวงแรงงานกับเงินที่ทางอิสราเอลจะจ่ายให้

ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการหารือกับกระทรวงแรงงาน โดยส่วนนี้ไม่เกี่ยวข้องกับกรณีที่นายจ้างดูแล และรับผิดชอบลูกจ้างเป็นรายคนไป ส่วนที่มีการระบุว่าจะมีการดูแลญาติของผู้ตายตลอดชีพ เป็นเรื่องที่นายจ้างตกลงกับทางญาติเอง

กลุ่มคนไทยที่ทยอยเดินทางกลับหนีภัยสงครามในอิสราเอล

กลุ่มคนไทยที่ทยอยเดินทางกลับหนีภัยสงครามในอิสราเอล

ตั้งผจก.มรดกไม่เสียค่าใช้จ่าย อัยการช่วยฟรี

นายณรงค์ ย้ำว่า สำหรับสคชจ. มีบริการจัดตั้งผู้จัดการมรดกให้ครอบครัวของแรงงานที่สูญเสียโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย หากเตรียมเอกสารครบถ้วนแล้ว ชาวบ้านไม่จำเป็นต้องเดินทางมาที่ศาลเอง แต่อัยการจะเป็นผู้ดำเนินการให้ถึงบ้าน หรือลงระบบออนไลน์อยู่ ตรงนี้เป็นการตอบคำถามว่า เสียชีวิตที่อิสราเอล แต่มีบัญชีเงินฝาก มีที่ดิน ทรัพย์สินอยู่ที่เมืองไทยจะทำอย่างไร ทางบ้านจะเอามาต่อชีวิตได้ มรณบัตรก็ยังออกที่เมือง ไทยไม่ได้

ส่วนการให้ความช่วยเหลือด้านอื่นๆ เช่น กรณีเป็นหนี้อัยการยินดีช่วยเจรจาไกล่เกลี่ยประนอมข้อพิพาทขอขยายเวลาชำระหนี้ได้ เสียชีวิตหรือสูญหายในต่างประเทศ ก็จะช่วยติดต่อประสาน งานระหว่างประเทศเพื่อนำเอกสารหลักฐานมาดำเนินการต่อในประเทศไทย

หรือหากขาดเสาหลักของครอบครัวอัยการจะช่วยต่อศาลแรงงานจังหวัดให้คนที่อยู่เมืองไทยได้หางานทำชดเชยรายได้จากอิสราเอล ขัดสนจนไร้ที่อยู่ที่กินก็พร้อมประสานหน่วยงานพัฒนาความมั่นคงและสังคมให้เข้าช่วยเหลือ ครอบครัวแรงงานไทยในอิสราเอลจะได้มีชีวิตที่เดินต่อไปได้ไม่ติดขัดติด

อ่านข่าว  “ฮามาส” คุย “กาตาร์-อียิปต์” ส่งสัญญาณปล่อยตัวประกันเพิ่ม

สงครามจบหนี้ไม่จบ

อย่างไรก็ตาม จากการลงพื้นที่ของ สคจช.ในหลายจังหวัดพบว่า แรงงานไทยที่เดินทางไปทำงานอิสลาเอล ยังมีปัญหาการกู้ยืมเงินทั้งนอกระบบและในระบบเพื่อไปทำงานอิสราเอล บางรายใช้หนี้หมดแล้ว แต่บางรายที่ใช้หนี้ยังไม่หมด และยังคงเป็นหนี้อยู่ ปัจจุบันตอนนี้ต้องหยุดงาน จึงเกรงปัญหาถูกเจ้าหนี้ที่เมืองไทยทวงหนี้

ส่วนใหญ่แรงงานจะส่งเงินกลับมาให้ครอบครัว เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย ทั้งผ่อนไร่ ผ่อนนา ผ่อนบ้าน จึงกลัวถูกยึดหรือถูกบังคับใช้หนี้ หรือไม่เพราะไม่มีเงินผ่อนแล้ว กลุ่มแรงงานที่เป็นเสาหลักของครอบครัวขาดรายได้ เพราะต้องเดินทางกลับมา

ปัญหาดังกล่าวสามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ที่ หมายเลข 1157 หรือเข้าไปพบอัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิฯทั่วประเทศฯ หากไม่มีผู้จัดการมรดกให้ อัยการก็พร้อมช่วยเหลือฟรีทุกอย่าง

อ่านข่าว

สัญญาณบวก “ศ.จรัญ มะลูลีม” วิเคราะห์ทิศทางปล่อยตัวประกัน

ไม่ต้องบินอ้อม “ซาอุฯ” ไฟเขียวบินผ่านน่านฟ้ารับคนไทยจากอิสราเอล 

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่