หน้าแรก Voice TV นศ. ร่วมหารืออนุกรรมการฯ ประชามติ ชู แก้ รธน.ได้ทั้งฉบับ-คำถามไม่ผูกมัด-ปชช.มีส่วนร่วม

นศ. ร่วมหารืออนุกรรมการฯ ประชามติ ชู แก้ รธน.ได้ทั้งฉบับ-คำถามไม่ผูกมัด-ปชช.มีส่วนร่วม

103
0
นศ-ร่วมหารืออนุกรรมการฯ-ประชามติ-ชู-แก้-รธนได้ทั้งฉบับ-คำถามไม่ผูกมัด-ปชช.มีส่วนร่วม

ตัวแทนนักศึกษาร่วมหารือคณะอนุกรรมการฯ ประชามติ ชู 3 จุดยืน รธน.ต้องแก้ได้ทั้งฉบับ-คำถามไม่ผูกมัด-ประชาชนมีส่วนร่วมมากที่สุด

วันที่ 8 พ.ย. เวลา 13.15 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล สิรภพ พุ่มพึงพุทธ ตัวแทนนักศึกษา พร้อมด้วยตัวแทนจากประธานสภานักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม กล่าวก่อนการหารือร่วมกับคณะอนุกรรมการรับฟังความคิดเห็นประชาชนเพื่อจัดทำประชามติในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ว่า ในฐานะตัวแทนนักศึกษาจากทั้งประเทศแม้จะไม่ใช่ทั้งหมด เรามาพูดถึงเรื่องประชามติที่จะเกิดขึ้น เพราะเรื่องนี้มีความสำคัญในแง่พลวัตที่ผ่านมาตลอดตั้งแต่ปี 63-65 จากการเคลื่อนไหวทางการเมือง 

เมื่อเปิดให้ทำประชามติแล้ว เหตุใดจึงยังมีการจำกัดให้แก้แค่บางมาตรา ซึ่งบางหมวดได้ถูกกำหนดแล้วว่าแก้ไขไม่ได้ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 255 ว่าด้วยรูปแบบรัฐและการปกครอง โดยประเด็นสำคัญที่จะพูดในวันนี้ คือ 1. เราต้องการแสดงความเห็นว่าเราควรแก้ได้ทุกหมวด ทุกมาตรา ไม่มีข้อจำกัด 2. คำถามประชามติที่จะเกิดขึ้นไม่ควรมีข้อผูกมัดตายตัว หรือนำไปสู่การถูกทำให้เป็นโมฆะ และ 3. การมีส่วนรวมของประชาชน ทุกภาคส่วนจะต้องมีส่วนร่วม 

ทั้งนี้ ตนในฐานะนักศึกษาปริญญาโท พร้อมกับอีกหลายองค์กร มีความคาดหวังอย่างยิ่งจากคณะอนุกรรมการฯ หรือแม้แต่ทุกคนที่อยู่ในที่นี้ว่าจะรับฟังความคิดเห็นของพวกเรา และนำไปประกอบกับคำถามรัฐธรรมนูญต่อไป

นัสรี พุ่มเกื้อ ประธานสภานักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่าคำถามประชามติจะนำไปสู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญ เราต้องการแก้ได้ทุกหมวด ทุก มาตรา ดังนั้นการทำประชามติครั้งนี้ถือเป็นทางเลี้ยวของประเทศ สำคัญที่สุดคือคำถามประชามติต้องไม่กว้างและแคบเกินไป ก่อนหน้านี้ภาคประชาสังคมและประชาชนกว่า 2 แสนคน ได้ยื่นคำถามประชามติไปที่ กกต. เพื่อรอส่งเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พวกเราต้องการคำถามประชาติ โดยมีใจความ 2 ข้อ คือ แก้ไขได้ทุกหมวดทุกมาตรา และรัฐธรรมนูญที่มาจากสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ซึ่งเนื้อหาของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะต้องคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน เปิดกว้างสำหรับความหลากหลายทางเพศ กระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น สร้างความเป็นประชาธิปไตยให้กับสถาบันการเมือง ส่งเสริมการรักษาสิ่งแวดล้อม วางพื้นฐานรัฐสวัสดิการ สร้างกลไกป้องกันรัฐประหาร และปฏิรูปสถาบันกษัตริย์

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่