พรรคพลังปวงชนไทย
เพื่อคนไทยทั้งแผ่นดิน

“พรเพชร” ชี้โหวตแคนดิเดตนายกฯ ยึดความมั่นคงระบบรัฐสภา

วันนี้ (2 ม.ค.2566) ศาสตราจารย์พิเศษ พรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา กล่าวถึงแนวทางการเลือกแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี จากบัญชีพรรคการเมืองในการเลือกตั้งครั้งหน้า ที่มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่า ส.ว.มี 2 ขั้ว คือ ขั้ว พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ กับขั้ว พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ว่า เป็นธรรมดาของสังคมที่จะวิพากษ์วิจารณ์ เพราะสมาชิกบางคนก็มีความเคารพต่อ พล.อ.ประยุทธ์ และ พล.อ.ประวิตร

ประธานวุฒิสภา ชี้แจงว่า ความคิดเห็นของทุกคนไม่เหมือนกันทั้งหมด เพราะต่างก็มีความคิดเห็นของตัวเอง และไม่เชื่อการคิดคำนวณสัดส่วนจับมือพรรคการเมืองของนายไพศาล พืชมงคล แต่เชื่อว่าสมาชิกต้องมีความเห็นต่างกัน ซึ่งต้องไปดูในการลงคะแนน

การลงคะแนนจะมีเสียงออกมาชัดเจน ซึ่งก็มีน้อยคนที่จะออกมาแสดงความชัดเจนในตอนนี้ เพราะว่าไม่อยากขัดแย้ง ยิ่งประธานวุฒิสภาก็บอกไม่ได้ แต่โดยหลักการวุฒิสภามีหน้าที่ดูว่าประเทศชาติจะเดินหน้าอย่างไร

ศาสตราจารย์พิเศษพรเพชร ระบุว่า ในการเลือกแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีจะต้องพิจารณาดูว่าเมื่อเลือกไปแล้วจะมีความมั่นคงในระบบรัฐสภาหรือไม่ ซึ่งควรเลือกให้ระบบรัฐสภาที่มี 2 สภาฯ อยู่ได้ ตามรัฐธรรมนูญกำหนดให้วุฒิสภาเลือกด้วย หากเลือกไม่ดี หรือไม่ถูกต้อง ก็จะมีผลกระทบ ซึ่งเชื่อว่าทั้ง ส.ว.และ ส.ส. ล้วนรักประเทศ และต้องการให้ประชาธิปไตยเจริญก้าวหน้า ส่วนการพิจารณาเลือกก็ขึ้นอยู่กับดุลย์พินิจของสมาชิก และบางคนอาจมีความต้องการของตนเอง

ประธานวุฒิสภา ระบุว่า การเลือกตั้งครั้งหน้าอาจจะมีการฟอร์มพรรคการเมือง และรัฐบาลต้องมั่นคง ส่วนวุฒิสภาก็จะมีบทบาทในการเลือกนายกรัฐมนตรี ที่จะต้องคำนึงถึงการสร้างความมั่นคงในระบบรัฐสภา เพราะหากไม่มั่นคงก็จะมีการยุบสภาอีก แต่ไม่ขอวิพากษ์วิจารณ์เรื่องวาระดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พล.อ.ประยุทธ์ ที่ยังเหลืออีก 2 ปีตามรัฐธรรมนูญปี 2560 ส่วนตัวไม่มั่นใจว่าในการเลือกนายกฯ จะต้องพิจารณาเรื่องวาระ 2 ปี 4 ปีหรือไม่ เพียงย้ำว่าต้องรอดูฟอร์มจัดตั้งรัฐบาลถึงจะตอบได้ถึงหลักการเลือกแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี

ประธานวุฒิสภา ยังเปิดเผยว่า การเลือกกันแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีที่ผ่านมา ตนเองใช้สิทธิงดออกเสียง ซึ่งเป็นมารยาท ในฐานะประธานฯ ส่วนการเลือกนายกรัฐมนตรีครั้งหน้าก็ไม่ได้โหวตเลือกใคร เนื่องจากทำหน้าที่ประธานในการโหวต

อย่างไรก็ตาม ไม่ได้ยินการคาดการณ์การเลือกแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี ที่มีการรวมเสียงวุฒิสภา 250 เป็นเสียงหนุนของพรรคพลังประชารัฐ หรือพรรครวมไทยสร้างชาติ 375 เสียง เพียงแต่บอกว่าค่อยติดตามดูในการโหวตเลือกหลังการเลือกตั้ง และตอบไม่ได้ว่าจะเลือกแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีจากพรรคเพื่อไทยหรือไม่ แต่การเลือกนายกฯ เชื่อว่าจะไม่ตรงกันทั้งหมด

ศาสตราจารย์พิเศษพรเพชร ยืนยันทำหน้าที่อย่างเป็นกลาง อิสระ และไม่เคยสั่งการ ส.ว.โหวต พร้อมชี้แจงเหตุผลที่ได้รับความไว้วางใจเลือกมาทำหน้าที่ประธานวุฒิสภา เนื่องจากมีประสบการณ์ในทางนิติบัญญัติตั้งแต่อายุน้อย ส่วนวิปวุฒิสภาก็ประกอบด้วย ส.ว.หลายกลุ่ม หากเห็นตรงกันก็จะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน แต่ส่วนตัวเชื่อว่าไม่ได้เป็นไปทิศทางเดียวกันตลอด

ไม่มีรัฐบาลสั่งมา หรือขอมา มีเพียงการถามไถ่ แต่ยอมรับว่ามีเพียงเรื่องเดียวที่มีการหารือกันในการโหวต คือเรื่องร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ด้วยมีคนมาถามแต่ส่วนตัวโพสต์โดยใช้วิจารณญาณของตัวเอง

ศาสตราจารย์พิเศษพรเพชร กล่าวถึงกรณีที่สมาชิกวุฒิสภาบางคนออกตัวสนับสนุนนักการเมือง หรือพรรคการเมืองใด ถือเป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญที่กำหนดไว้ให้วางตัวเป็นกลาง และเป็นอันตรายต่อตัววุฒิสภาคนดังกล่าวเอง อาจถูกดำเนินการทางกฏหมายถึงขั้นพ้นจากตำแหน่ง

ทิ้งคำตอบไว้

อีเมล์ของคุณจะไม่ถูกเผยแพร่


This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept Read More