พรรคพลังปวงชนไทย
เพื่อคนไทยทั้งแผ่นดิน

'เศรษฐา' เตรียมดัน SMEs ไทยสู่โลก เพิ่มตลาด เคลียร์เครดิตบูโร กองทุนสตาร์ทอัพ

ถอดวิสัยทัศน์ว่าด้วยนโยบายการพัฒนา SMEs ให้กลายเป็นฟันเฟืองขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ โดยเศรษฐา ทวีสิน ‘เพิ่มตลาด เคลียร์เครดิตบูโร กองทุนสตาร์ทอัพ’

เศรษฐา ทวีสิน แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวถึงมุมมองต่อนโยบายการพัฒนา SMEs ให้กลายเป็นฟันเฟืองขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ ผ่านบทสัมภาษณ์บนเพจของพรรคเพื่อไทยวันนี้ โดยเขามองว่า วิกฤตที่ SMEs กำลังเผชิญในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา เกิดจากสาเหตุหลักๆ คือ การบริหารจัดการที่ผิดพลาดของรัฐบอล และอีกส่วนคือการระบาดของโควิด-19

ที่ผ่านมา รัฐบาลพยายามแก้ปัญหาโดยการเติมงบประมาณให้ SMEs ในลักษณะ ‘มาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ’ (soft loan) โดยเศรษฐามองว่า นี่คือการแก้ให้งบประมาณที่เหมือนไม่ได้ และไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่ SMEs เผชิญได้ถูกจัด รวมไปถึงเรื่องของเครดิตบูโรที่เกิดกับ SMEs ในช่วงโควิด-19 เศรษฐายืนยันว่า พรรคเพื่อไทยต้องเข้ามาจัดการปัญหานี้ และจะมีนโยบายในการลบล้างประวัติด้านการเงินที่ไม่ดีของ SMEs อันเป็นผลกระทบจากโรคระบาด เหตุเพราะโควิด-19 ไม่ใช่ความผิดของประชาชน พวกเขาจึงควรได้รับการเยียวยาจากรัฐบาล และการเยียวยาที่สำคัญคือ การทำให้พวกเขาเข้าถึง ‘แหล่งเงินทุน’

“หากถามว่า เพราะพวกเขาไม่มีวินัยด้านการเงินการคลังหรือเปล่า เกิดจากการที่เขาไม่ทำงานหนักหรือเปล่า คำตอบคือ ไม่ใช่ เขาถูก เขาเจอกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นครั้งเดียวในชีวิต ลงโทษเขาอย่างหนัก หน้าที่รัฐบาลตรงนี้ก็ต้องเยียวยา การเข้าถึงแหล่งเงินทุนก็เป็นเรื่องสำคัญ”

ประเด็นต่อมา เศรษฐามองถึงเรื่องของ ‘การตลาด’ เนื่องจากปัจจุบัน สัดส่วนตลาด 70 เปอร์เซ็นต์อยู่ในประเทศไทย และอีก 30 เปอร์เซ็นต์อยู่ในต่างประเทศ ดังนั้น หากประเทศไทยมีผู้นำที่ออกไปค้าขายเพื่อเพิ่มสัดส่วนตลาดให้ขยายไปสู่นานาประเทศได้มากขึ้น สิ่งที่จะตามมาคือ การตลาดเพิ่มมากขึ้น ทำให้ SMEs สามารถขายของได้มากขึ้น มีเงินเข้ามาในประเทศมากขึ้น รวมไปถึงธนาคารก็อยากปล่อยเงินกู้ได้มากขึ้น

นอกจากนี้ เศรษฐายังมองถึงกลุ่มธุรกิจหนึ่งที่จะกลายเป็นฟันเฟืองสำคัญของเศรษฐกิจไทยในอีก 20 ปีข้างหน้า นั่นคือ ธุรกิจสตาร์ทอัพ (Startup) ทว่ารัฐบาลไทยในอดีต กลับไม่ได้ให้ความสำคัญและผลักดันธุรกิจ Startup มากเท่าที่ควร

“คนรุ่นใหม่อาจไม่ได้อยากทำงานเป็นลูกจ้างของสถาบันการเงิน หรือลูกจ้างบริษัทน้ำมันใหญ่ๆ หรือในบริษัทเอกชน แต่เขาอยากเป็นเถ้าแก่น้อย มีสิทธิ์มีเสียงในการบริหารจัดการธุรกิจของเขาเอง สิ่งสำคัญที่สุดคือ เขาขาดแหล่งเงินทุน”

เศรษฐาเสนอว่า กองทุนสตาร์ทอัพ (Startup fund) จะต้องเกิดขึ้นภายใต้รัฐบาลพรรคเพื่อไทย เพื่อสนับสนุนธุรกิจกลุ่มนี้ ขณะเดียวกัน เขามองว่าเรื่องนี้ต้องมีนายกรัฐมนตรีเป็นเจ้าภาพ ในการผสานความร่วมมือและบทสนทนาร่วมกันระหว่างภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชนด้านการเงิน ไม่ว่าจะธนาคารกรุงไทย ธนาคารออมสิน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ฯลฯ หรือกลุ่มคนและธุรกิจที่อยู่ยอดพีระมิดทั้งหลายของประเทศ เพื่อให้ประเทศไทยพัฒนาไปในทิศทางที่สอดคล้องกับการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจโลก ดังเช่นที่ทุกคนอย่างเห็น

“เราควรจะต้องมีข้อกำหนดใหม่สำหรับสตาร์ทอัพ ในการเข้าไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ได้ ซึ่ง ‘สตาร์ทอัพ’ ไม่ได้หมายถึงด้านเทคโนโลยีอย่างเดียว แต่จะเป็นแง่ของ กรีน (Green) ก็ได้ เพราะอันนี้ก็เป็นธุรกิจใหม่ ซึ่งคนรุ่นใหม่ไม่ได้อยากได้แค่เงินอย่างเดียว เขาอยากได้โลกที่ดีด้วย

“พรรคเพื่อไทยเข้าใจถึงเรื่องนี้ เราตระหนักดีถึงความสำคัญของเรื่องนี้ ต้องผสมผสานระหว่างความรู้ด้านเศรษฐกิจ และความเข้าใจของการพัฒนาสังคมของคนรุ่นใหม่” เศรษฐากล่าว

ทิ้งคำตอบไว้

อีเมล์ของคุณจะไม่ถูกเผยแพร่

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept Read More