พรรคพลังปวงชนไทย
เพื่อคนไทยทั้งแผ่นดิน

วงเสวนาแนะแนวทางไทยร่วมสร้างสันติภาพในเมียนมา

เมื่อวันที่ 16 ส.ค.66 ณ หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) รำลึกถึง 78 ปี วันสันติภาพไทย สถาบันปรีดี พนมยงค์ จัดกิจกรรมเสวนา PRIDI Talks # 22 ภายใต้หัวข้อ “บทบาทอาเซียนในการเสริมสร้างสันติภาพในเมียนมา” โดยมีผู้ร่วมวงเสวนาได้แก่ นายกัณวีร์ สืบแสง เลขาธิการ พรรคเป็นธรรม รศ.อนุสรณ์ ธรรมใจ ประธานกรรมการบริหารสถาบันปรีดีพนมยงค์, รศ.ดุลยภาค ปรีชารัชช รองผู้อำนวยการสถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

นายกัณวีร์ กล่าวถึงบทบาทไทยที่ควรมีต่อสันติธรรมประชาธิปไตยในเมียนมาและอาเซียน ว่า หลังจากการรัฐประหารโดยทหารส่งผลให้ประชาชนชาวเมียนมาออกมาเรียกร้อง จนกระทั่งถูกลิดรอนสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรง

นายกัณวีร์ สืบแสง เลขาธิการ พรรคเป็นธรรม

นายกัณวีร์ สืบแสง เลขาธิการ พรรคเป็นธรรม

ส่งผลให้ภายในช่วงปลายปี 2564 มีผู้พลัดถิ่นโดยประมาณ 1 ล้านกว่าคน ในส่วน 3 แสนกว่าคนมีถิ่นที่อยู่ติดกับชายแดนไทย ทั้งนี้ในด้านตะวันออกของรัฐฉาน จนถึงคะยา คะฉิ่น มอญ โดยในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา อาจมีผู้พลัดถิ่นที่อยู่ในที่ไม่สามารถตรวจสอบตัวเลขได้จำนวนมากกว่านี้

ทั้งนี้มีผู้ลี้ภัยที่ข้ามเขตแดนเข้ามาอาศัยในศูนย์พักพิงช่วงคราว 9,000 กว่าคน ซึ่งเป็นตัวเลขอย่างเป็นทางการ ไม่รวมไปถึงจำนวนที่ไม่สามารถตรวจสอบได้

วงเสวนา PRIDI Talks # 22 ภายใต้หัวข้อ “บทบาทอาเซียนในการเสริมสร้างสันติภาพในเมียนมา”

วงเสวนา PRIDI Talks # 22 ภายใต้หัวข้อ “บทบาทอาเซียนในการเสริมสร้างสันติภาพในเมียนมา”

นายกัณวีร์ กล่าวว่าการเข้าช่วยเหลือประชาชนเหล่านี้ ไทยจำเป็นต้องเปลี่ยนจุดยืนการทูตเสียก่อน บทบาทแรกที่สามารถทำได้คือ การพิจารณาเปิดระเบียงมนุษยธรรม (humanitarian corridor) เปิดรับผู้ผลัดถิ่น 3 แสนคน ในช่วงพื้นที่ จ.เชียงราย จ.เชียงใหม่ จ.แม่ฮ่องสอน จ.ตราด จ.กาญจนบุรี จ.ราชบุรี รวมไปถึง จ.ระนอง

การพิจารณาเปิดระเบียงมนุษยธรรม ไม่ใช่เรื่องใหม่ ไม่ใช่การชักน้ำเข้าลึก ชักศึกเข้าบ้าน แต่เป็นการเปิดประตูความเป็นไปได้ ที่ประเทศไทยจะให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมต่อผู้ที่ได้รับผลกระทบ

อีกทั้ง นายกัณวีร์ กล่าวว่า ตนได้หารือกับนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาฯ เพื่อทำหนังสือยื่นไปยัง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีต่อไป และเป็นกลไกลของสภา ที่ต้องติดตามว่ารัฐบาลรักษาการในปัจจุบัน มีการตอบสนองอย่างไรบ้าง

รวมไปถึงรัฐบาลชุดใหม่ในอนาคต ที่จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับสถานการณ์ในเมียนมาที่มีผลกระทบต่อชาวไทย และให้ความสำคัญเรื่องมนุษยธรรมต่อประเทศเพื่อนบ้าน

รศ.อนุสรณ์ ธรรมใจ ประธานกรรมการบริหารสถาบันปรีดีพนมยงค์ กล่าวหยิบยกคำของนายปรีดี พนมยงค์ ที่เขียนไว้ในหนังสือโมฆสงคราม บันทึกสัจจะประวัติศาสตร์ที่ยังไม่เคยเปิดเผยของรัฐบุรุษอาวุโส ปรีดี พนมยงค์ ว่า “เราต้องรำลึกถึงสุภาษิตของไทย ที่สอนให้นึกถึงอกเขาอกเรา”

 รศ.อนุสรณ์ ธรรมใจ ประธานกรรมการบริหารสถาบันปรีดีพนมยงค์

รศ.อนุสรณ์ ธรรมใจ ประธานกรรมการบริหารสถาบันปรีดีพนมยงค์

ทั้งนี้ ถึงแม้ว่าประชาคมอาเซียนจะมีหลักการที่จะไม่แทรกแซงกิจการภายในซึ่งกันและกัน แต่เช่นนั้นไทยก็ควรติดตามสถานการณ์ และสนับสนุนประชาธิปไตย แต่การทูตของไทยในยุครัฐบาล คสช.ก็ยังคงไม่ยึดแนวทางนี้มากนัก โดยเฉพาะเมื่อต้องกดดันให้รัฐบาลทหารเมียนมาเคารพสิทธิมนุษยชน และหยุดใช้กองกำลังปราบปรามประชาชนผู้เรียกร้องประชาธิปไตย

ดังนั้นไทยควรแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้า ดังเช่น การแก้ไขกติกาสูงสุดอย่างรัฐธรรมนูญ ให้ยึดถือหลักการประชาธิปไตย รวมไปถึงปล่อยนักโทษทางการเมือง นักโทษทางความคิดออกจากการจองจำ และยกเลิกกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน หรือกล่าวได้ว่าเป็นแบบอย่างให้แก่ประเทศเพื่อนบ้านนั่นเอง

อีกทั้งควรมีบทบาทนำ ในการเรียกร้องให้รัฐบาลเผด็จการทหารเมียนมา ปฏิบัติตามฉันทามติ 5 ข้อของอาเซียน และจัดตั้งคณะกรรมการปรึกษาหารือเพื่อยุติสงครามกลางเมืองและฟื้นฟูประชาธิปไตยและสันติภาพในเมียนมา

สนับสนุนการดำเนินงานของสหประชาชาติ และเพิ่มความช่วยเหลือประชาชนที่ตกอยู่ในอันตราย หรือหลบหนีจากเมียนมา ร่วมกับอาเซียนในการเรียกร้องการปล่อยตัวผู้ถูกคุมขังโดยพลการรวมทั้งผู้ที่ถูกจับติดคุกโดยไม่เป็นธรรมทั้งหมด เพิ่มแรงกดดันทางการทูตต่อคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ประชุมสมัชชา เพื่อหยุดยั้งการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรงในเมียนมา

วงเสวนา PRIDI Talks # 22 ภายใต้หัวข้อ “บทบาทอาเซียนในการเสริมสร้างสันติภาพในเมียนมา”

วงเสวนา PRIDI Talks # 22 ภายใต้หัวข้อ “บทบาทอาเซียนในการเสริมสร้างสันติภาพในเมียนมา”

รศ.อนุสรณ์ กล่าวเสริมว่า เพื่อให้ภูมิภาคอาเซียนนี้เป็นภูมิภาคในการเคารพสิทธิมนุษชน ยึดถือมนุษยธรรม เป็นภูมิภาคที่เสถียรภาพ มีความมั่นคง สงบสันติ สิทธิเสรีภาพแบ่งบาน มีความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ และเป็นภูมิภาคอาเซียนของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน

ด้าน รศ.ดร.ดุลยภาค กล่าวว่า การยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือของไทยและอาเซียน จะต้องเริ่มต้นจากการทำความเข้าใจมโนทัศน์ของแต่ละกลุ่ม และตีความคำว่า ‘สันติภาพ’ ของแต่ละกลุ่มคืออะไร และเข้าใจตรงกันหรือไม่

ยกตัวอย่างเช่น มุมมองของทหารเมียนมาที่มีต่อสันติภาพในประเทศ คือ การรักษาความสงบเรียบร้อย การใช้กำลังเป็นทางเลือกที่ไม่มีปัญหาใด เพราะเมียนมานั้นมีการสร้างรัฐผ่านยุทธสงครามมาเนิ่นนาน ทหารจึงไม่ลังเลใจที่จะสังหารคนต่อต้านหรือเห็นต่าง ตราบใดที่ยังสามารถสร้างระเบียบเพื่อควบคุมประเทศได้

รศ.ดุลยภาค ปรีชารัชช รองผู้อำนวยการสถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

รศ.ดุลยภาค ปรีชารัชช รองผู้อำนวยการสถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ขณะที่ทางด้านฝ่ายต่อต้านมีแนวคิดว่า เมียนมาต้องปฎิวัติเพื่อนำมาสู่สันติภาพที่ยั่งยืน หรือการสถาปนาสหพันธรัฐประชาธิปไตย

ส่วนกลุ่มชาติพันธุ์มีแนวคิดว่า การเข้าร่วมกระบวนการ Peace Process เจรจาต่อรองแบ่งพื้นที่ เพื่อที่จะมีเอกราชของตนมากขึ้น หรือเจรจาว่าแต่ละฝ่ายต้องการสหพันธรัฐแบบไหน

 

ทิ้งคำตอบไว้

อีเมล์ของคุณจะไม่ถูกเผยแพร่


This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept Read More