หน้าแรก Voice TV ‘หมอชลน่าน' ลุยแก้หนี้บุคลากรสาธารณสุข ‘ตรีชฎา’ ชี้ เดินหน้าปลดหนี้ทั้งในและนอกระบบ

‘หมอชลน่าน' ลุยแก้หนี้บุคลากรสาธารณสุข ‘ตรีชฎา’ ชี้ เดินหน้าปลดหนี้ทั้งในและนอกระบบ

93
0
‘หมอชลน่าน'-ลุยแก้หนี้บุคลากรสาธารณสุข-‘ตรีชฎา’-ชี้-เดินหน้าปลดหนี้ทั้งในและนอกระบบ

‘ตรีชฎา’ ชู ‘หมอชลน่าน’ คิกออฟแก้หนี้บุคลากรสาธารณสุข เดินหน้าปลดหนี้ทั้งในและนอกระบบ ตามนโยบายรัฐบาล เร่งแก้ปัญหาประชาชนทันที

ตรีชฎา ศรีธาดา ประจำสำนักเลขานายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ประกาศแก้หนี้ทั้งระบบเป็นวาระแห่งชาติ โดยเปิดให้ประชาชนลงทะเบียนผ่านทางเว็บไซต์ https://debt.dopa.go.th ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2566 เป็นต้นไป ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขโดยนายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

ได้มอบนโยบาย ‘แก้หนี้ เสริมกำลังใจให้คนสาธารณสุข’ ไปยังบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขทั่วประเทศเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2566 ซึ่งถือเป็นวันคิก ออฟ (kick-off) การเริ่มต้นเดินเครื่องกระบวนการ ‘ปลดหนี้ เพื่อชีวีเป็นสุข’ เพื่อคืนอิสรภาพและความหวังที่ถูกพรากไปเพื่อให้บุคลากรของกระทรวงสาธารณสุขมีขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานดูแลคนไทยให้มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งคือ จะต้องไม่มีหนี้มีสิน เป็นทางออกของการแก้ปัญหาภาวะเศรษฐกิจอีกทางหนึ่งให้กับข้าราชการในกระทรวงสาธารณสุข

สำหรับหนี้นอกระบบที่ดอกเบี้ยสูงผิดปกติ ได้สร้างภาระบีบคั้นกับบุคลากรสาธารณสุขอย่างมาก ซึ่งนายแพทย์ชลน่าน มีความห่วงใยในเรื่องนี้และได้วางนโยบายไว้ว่าจะต้องปลดทุกข์เรื่องนี้ให้ได้ โดยตั้งคณะทำงานเจรจาหาทางออกระหว่างกระทรวงสาธารณสุขกับธนาคารออมสิน จัดให้มีคลินิกรักษาสุขภาพความมั่นคงทางการเงิน ทุกแห่งในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ในโรงพยาบาลทุกระดับและได้ประกาศอย่างชัดเจนว่า ลูกหนี้ที่อยู่ในภาวะวิกฤตจะเร่งช่วยเหลือโดยเร่งด่วน สถาบันทางการเงินจะเข้ามามีส่วนแก้ปัญหา 

บุคลากรสาธารณสุข นอกจากประกอบไปด้วยวิชาชีพด้านการแพทย์ พยาบาล เภสัชกร และอื่นๆ แล้ว ยังรวมถึงข้าราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานกระทรวง พนักงานราชการ ลูกจ้างชั่วคราว ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างโครงการ ตลอดทั้งอาสาสมัครด้านสาธารณสุข แม้ว่าโดยทั่วไปจะมีรายได้และชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี แต่ก็มีอีกจำนวนหนึ่งที่ประสบปัญหาความเดือดร้อน จากผลสำรวจของ Happy Money ระหว่างวันที่ 29 ตุลาคม – 16 พฤศจิกายน 2564 พบว่า บุคลากรสาธารณสุขมีหนี้ครัวเรือน 62,764 คน ส่วนใหญ่เกือบครึ่งหนึ่งเป็นหนี้สหกรณ์ รองลงมาคือ กู้ซื้อบ้าน ซื้อรถ กู้เพื่อการศึกษา ขณะที่สถานะทางการเงินพบว่า รายได้เพียงพอกับรายจ่าย แต่ไม่เหลือเก็บ 41.1% รายได้มากกว่ารายจ่าย 34.20% 

“นายแพทย์ชลน่าน ในฐานะ รมว.สาธารณสุข เข้าใจปัญหาชีวิตของบุคลากรกระทรวงสาธารณสุขที่เดือดร้อนในเรื่องนี้เป็นอย่างดี โครงการช่วยเหลือในครั้งนี้จะทำให้บุคลากรกระทรวงสาธารณสุขมีเงินเหลือเก็บได้มากขึ้น ประหยัดค่าใช้จ่ายภาพรวมของกระทรวงได้ถึง 6,000 กว่าล้านบาทต่อปี ต่อยอดจากโครงการแก้หนี้ทั้งระบบของนายกรัฐมนตรีในทันที โดยเปิดให้ลงทะเบียนในวันที่ 8 ธันวาคม 2566 เป็นวันแรก คาดว่าจะมีบุคลากรของกระทรวงสาธารณสุขเขhาร่วมโครงการจำนวนมาก” ตรีชฎากล่าว

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่