หน้าแรก Voice TV ‘ศาลฯ สารคาม’ จับมือ ‘จังหวัด’ นำร่องขอตั้งผู้จัดการมรดกอีเล็กทรอนิกส์

‘ศาลฯ สารคาม’ จับมือ ‘จังหวัด’ นำร่องขอตั้งผู้จัดการมรดกอีเล็กทรอนิกส์

78
0
‘ศาลฯ-สารคาม’-จับมือ-‘จังหวัด’-นำร่องขอตั้งผู้จัดการมรดกอีเล็กทรอนิกส์

ศาลจังหวัดมหาสารคาม ร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัด จับมือลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ เปิดยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ นำร่องจังหวัดแรกของประเทศ

ที่ห้องประชุม รพีพัฒนศักดิ์ ศาลจังหวัดมหาสารคาม ศาลจังหวัดมหาสารคามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ นำร่องแห่งแรก โดยมี วิบูรณ์ แววบัณฑิต ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม เป็นประธาน พร้อมกับมีพยานจาก 3 หน่วยงานคือ ปลัดจังหวัดมหาสารคาม หัวหน้าสำนักงานจังหวัดมหาสารคาม สำนักอำนวยการประจำศาลจังหวัด ผู้อำนวยการสำนักงานศาลแขวงจังหวัดมหาสารคาม เข้าร่วมเป็นสักขีพยาน 

อัครพันธ์ สัปปพันธ์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดมหาสารคาม กล่าวว่า บันทึกข้อตกลงความร่วมมือฉบับนี้ทำขึ้นเพื่อประสานความร่วมมือ ยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างศาลจังหวัดมหาสารคามและศาลแขวงพยัคฆภูมิพิสัยกับจังหวัดมหาสารคาม เนื่องจากศาลยุติธรรมจัดให้มีนวัตกรรมแก่ประชาชนในการยื่นคำร้องขอจัดการมรดกได้เองผ่านระบบ e-Filing

โดยไม่ต้องไปศาลใน 2 กรณีได้แก่ กรณีไม่มีทายาทคัดค้าน หรือกรณีมีพินัยกรรมกำหนดให้เป็นผู้จัดการมรดก ช่วยให้ประชาชนได้รับความสะดวก รวดเร็ว และประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ตามวิสัยทัศน์ของประธานศาลฎีกา “ต่อยอด ขยายผลและสร้างสรรค์ความยุติธรรมที่ยั่งยืนโดยมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง” นโยบายของประธาน ศาลฎีกา 

ข้อ 1. ที่พึ่ง ศาลยุติธรรมพร้อมเป็นที่พึ่งของประชาชนในโอกาสแรกที่ได้รับความเดือดร้อนหรือมีข้อพิพาท

1.2 พัฒนาช่องทางที่ประชาชนสามารถเข้าถึงความยุติธรรมได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว

1.3 ปฏิรูประบบงานเพื่อขจัด ขั้นตอนซ้ำซ้อน ล่าช้า ที่เป็นอุปสรรคต่อการบริการประชาชน

1.4 ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและ เอกชน เพื่อความรวดเร็วและประสิทธิภาพในการพิจารณาพิพากษาคดี การปฏิบัติตามคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาล

และนโยบายทันโลก ศาลยุติธรรมเป็นผู้นำในการใช้เทคโนโลยีและองค์ความรู้ที่ทันสมัยในการบริหารงาน และการพิจารณาพิพากษาคดี โดยคัดสรรเทคโนโลยีที่เหมาะสมและคุ้มค่ามาใช้เพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพและความรวดเร็วในการบริการประชาชน พัฒนาระบบสารสนเทศของศาลยุติธรรมให้มีความทันสมัยและเข้าถึงง่าย เพื่อเป็นช่องทางในการสื่อสารระหว่างศาลยุติธรรมกับประชาชน 

ซึ่งศาลจังหวัดมหาสารคามได้ดำเนินการตาม โครงการดังกล่าวมาระยะหนึ่งแล้ว พบว่า การให้บริการดังกล่าวยังมีข้อขัดข้อง เนื่องจากประชาชนบางส่วนยังขาดแคลน อุปกรณ์ที่จำเป็น อาทิ เครื่องคอมพิวเตอร์ และเครื่องสแกนเอกสาร รวมถึงขาดความรู้ความเข้าใจในการยื่นคำร้องหรือดำเนินการทางอิเล็กทรอนิกส์

ศาลจังหวัดมหาสารคามและศาลแขวงพยัคฆภูมิพิสัยจึงได้ประสานความร่วมมือ กับจังหวัดมหาสารคาม เพื่อให้ประชาชนสามารถดำเนินการยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านการช่วยเหลือของศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดและอำเภอ เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาการเข้าไม่ถึงเทคโนโลยีของประชาชน 

โดยมีวิธีการและขั้นตอนการดำเนินงาน โดย ให้ศาลจังหวัดมหาสารคามและศาลแขวงพยัคฆภูมิพิสัยจัดเจ้าหน้าที่อบรมให้ความรู้และ ฝึกปฏิบัติแก่เจ้าหน้าที่ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดและอำเภอทุกอำเภอที่ศาลจังหวัดมหาสารคาม เพื่อให้สามารถช่วยเหลือ ประชาชนดำเนินการยื่นคำร้องขอจัดการมรดกผ่านระบบ e-Filing ของสำนักงานศาลยุติธรรม และให้จังหวัดมหาสารคามมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดและอำเภอทุกอำเภอ

เพื่อเข้ารับการฝึกอบรมการยื่นคำร้องขอจัดการมรดกผ่านระบบ e-Filing ของสำนักงานศาลยุติธรรม จากศาลจังหวัดมหาสารคาม และ ให้ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดและอำเภอทุกอำเภอจัดเตรียมสถานที่พร้อมอุปกรณ์ที่จำเป็น อาทิ เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องสแกนเอกสาร และระบบอินเทอร์เน็ต รวมถึงจัดให้มีเจ้าหน้าที่ที่ผ่านการอบรมจาก ศาลจังหวัดมหาสารคามให้คำาแนะนำ เพื่อให้บริการประชาชนที่มาขอรับบริการยื่นคำร้องขอจัดการมรดก 

ด้านผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม กล่าวว่าโครงการยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ทางจังหวัดได้ร่วมกับศาลระหว่างศาลจังหวัดมหาสารคามและศาลแขวงพยัคฆภูมิพิสัยเพื่อเป็นการลดภาระของประชาชน โดยปกติประชาชนต้องไปยื่นที่ศาล หรือมาไต่สวนที่ศาล ซึ่งหลังจากที่มีความลงนามร่วมมือกับศาล ประชาชนสามารถยื่นคำร้องได้ที่ศูนย์ดำรงธรรมในพื้นที่ที่ตนเองอยู่หรือพื้นที่ที่สะดวก

เพื่อเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ข้อสำคัญศูนย์ดำรงธรรมอยู่ใกล้ชิดกับประชาชน อยู่ใกล้ชิดกำนันผู้ใหญ่บ้าน เวลาซักถามข้อมูลจะได้สะดวก หากต้องการซักถามพยายานอยู่ในพื้นที่จะสะดวกกว่า ซึ่งนวัตกรรมระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้ร่วมมือกับศาลถือว่าเป็นการลดภาระ อำนวยความสะดวกให้กัประชาชนในการที่จะนำประชาชนเข้ามาทำข้อมูลให้ถูกต้องตามกฎหมาย และลดค่าใช้จ่าย 

โดยปกติคดีทั่วไปต้องเดินทางไปศาล ส่วนในเรื่องของการยื่นเป็นผู้จัดการมรดกหากเป็นสมัยก่อนต้องยื่นด้วยตนเองแต่ปัจจุบัน ศาลได้ทำระบบ อิเล็กทรอนิกส์ ประชาชนสามารถยื่นด้วยตนเองในพื้นที่ได้ แต่เนื่องจากจังหวัดมหาสารคามประชาชนส่วนมากยังเข้าไม่ถึงเรื่องของอิเล็กทรอนิกส์ยังมีปัญหาอินเตอร์ล่าช้า ดังนั้นจึงให้ศูนย์ดำรงธรมเป็นผู้ยื่นให้แทน โดยประชาชนนำเอกสารให้ศูนย์ดำรงธรรมสามารถสแกนหรือทำเรื่องเอกสารให้ได้ ถือว่าเป็นการอำนวยความสะดอกและสามารถดำเนินการได้เร็วขึ้น

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่