หน้าแรก Thai PBS ศาลฯ ตัดสิน”ยิ่งลักษณ์” ย้ายเลขาฯ สมช. วันนี้

ศาลฯ ตัดสิน”ยิ่งลักษณ์” ย้ายเลขาฯ สมช. วันนี้

70
0
ศาลฯ-ตัดสิน”ยิ่งลักษณ์”-ย้ายเลขาฯ-สมช.-วันนี้

วันนี้ (26 ธ.ค.66) ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง นัดฟังคำพิพากษา คดี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกฯ สั่งโยกย้าย นายถวิล เปลี่ยนศรี อดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อ 12 ปีที่แล้ว 

คดีดังกล่าว อัยการสูงสุด เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ฐานปฏิบัติหน้าที่มิชอบ กรณีเมื่อช่วงเดือน ก.ย. 54 น.ส.ยิ่งลักษณ์ มีคำสั่งโยกย้ายนายถวิล เชาฯ สมช.ในขณะนั้น มาเป็นที่ปรึกษานายกฯ โดยมิชอบ โดยนัดอ่านไปเมื่อเดือน พ.ย.ที่ผ่านมา

อ่านข่าว : ศาลเลื่อนพิพากษาคดี “ยิ่งลักษณ์” ย้าย “ถวิล เปลี่ยนศรี” เป็น 29 พ.ย. 

เนื่องจากผู้พิพากษาถึงแก่อนิจกรรมและได้เลือกใหม่ จึงต้องให้ผู้พิพากษาที่ได้รับเลือกพิจารณาคดีได้อย่างพอเพียง และไม่กระชั้นชิด จึงมีคำสั่งให้ยกเลิกวันนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 29 พ.ย.ที่ผ่านมา และนัดอ่านอีกครั้งในวันนี้ เวลา 13.30 น.

น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกฯ

น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกฯ

คดีดังกล่าว นายถวิล ยื่นคำร้องต่อศาลปกครองสูงสุดและศาลได้มีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งแต่งตั้งโยกย้ายดังกล่าว อีกทั้งศาลรัฐธรรมนูญ มีมติเป็นเอกฉันท์ว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ใช้ตำแหน่งหน้าที่เข้าไปก้าวก่ายแทรกแซงการแต่งตั้งโยกย้าย และ ป.ป.ช.มีมติชี้มูลความผิดในการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ในวันที่ 1 ก.ค. 2563 และส่งให้อัยการสูงสุดส่งฟ้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยอัยการสูงสุดจึงได้ส่งฟ้องต่อศาลฎีกา และมีการออกหมายจับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ในที่สุด

อ่านข่าว : ศาลออกหมายจับ “ยิ่งลักษณ์” คดีสั่งย้ายอดีต เลขาฯ สมช.โดยมิชอบ 

ก่อนหน้านี้เอง ชื่อของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ มีประเด็นถูกนำมาโยงถึงรับผลประโยชน์ จากคำสั่งกรมราชทัณฑ์ ที่มีเนื้อหาระบุการประกาศใช้ระเบียบกรมราชทัณฑ์ว่าด้วยการดำเนินการสำหรับการคุมขังในสถานที่คุมขัง พ.ศ.2560 โดยสาระสำคัญของระเบียบนี้เป็นการกำหนดสถานที่คุมขังอื่นที่มิใช่เรือนจำ หรือ จำคุกนอกเรือนจำ

นายถวิล เปลี่ยนศรี อดีต เลขาฯ สมช.

นายถวิล เปลี่ยนศรี อดีต เลขาฯ สมช.

ล่าสุด นายวิษณุ เครืองาม อดีตรองนายกฯ ฝ่ายกฎหมาย กล่าวว่า หาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ จะขอพระราชทานอภัยโทษเหมือนกับนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ จะต้องเดินทางกลับเข้ามาประเทศ และต้องมามอบตัวเป็นนักโทษ แล้วจึงจะถวายฎีกาได้ ถ้ายังไม่ได้รับโทษก็ยังถวายฎีกาไม่ได้ จะไม่เรียกว่าฎีกา เพราะฎีกานั้นคือสิ่งที่นักโทษเด็ดขาดเป็นผู้ถวายขึ้นไป พร้อมปฏิเสธตอบถึงขั้นตอนการดำเนินการจะเหมือนกับนายทักษิณ  

 

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่