หน้าแรก Thai PBS ยธ.นัดถก”ขังนอกคุก” 11 ม.ค.คาดใช้เกณฑ์ “อองซาน ซูจี”

ยธ.นัดถก”ขังนอกคุก” 11 ม.ค.คาดใช้เกณฑ์ “อองซาน ซูจี”

84
0
ยธนัดถก”ขังนอกคุก”-11-มค.คาดใช้เกณฑ์-“อองซาน-ซูจี”

วันนี้ (4 ม.ค.2567) แหล่งข่าวจากกระทรวงยุติธรรม เปิดเผยความคืบหน้า กรณี นายทักษิณ ชินวัตร นักโทษที่ยังนอนรักษาตัวอยู่ที่รพ.ตำรวจเกินกว่า 120 วันว่า ยังอยู่ในอำนาจของนายสหการณ์ เพ็ชรนรินทร์ อธิบดีราชทัณฑ์ ที่จะอนุญาตและเสนอ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม รับทราบ แต่ขณะนี้ยังไม่ได้มีการลงนามคำสั่งหนังสือ เพื่อขอขยายเวลาให้นายทักษิณนอนรักษาตัวต่อที่รพ.ตำรวจ ซึ่งเลยกำหนดมากกว่า 10 วันแล้ว

และในวันที่ 11 ม.ค.2567 พ.ต.อ.ทวี รมว.ยุติธรรม ในฐานะประธานคณะกรรมการราชทัณฑ์จะเรียกประชุม เพื่อออกหลักเกณฑ์คัดกรองผู้ต้องขัง ที่เข้าข่ายตามระเบียบกรมราชทัณฑ์ว่าด้วยการดำเนินการสำหรับการคุมขังในสถานที่คุมขัง พ.ศ.2566 เพื่อให้การบริหารงาน การปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานเรือนจำและเจ้าหน้าที่การปฏิบัติตัวของผู้ต้องขังและการอื่น อันจำเป็นเกี่ยวกับสถานที่คุมขังตามมาตรา 33 แห่ง พ.ร.บ.ราชทัณฑ์ 2560 พร้อมด้วยคณะกรรมการรวม 17 คน ที่กรมราชทัณฑ์

อ่านข่าว 120 วัน “ทักษิณ” รักษาตัว รพ.ตำรวจ อยู่ต่อ หรือ กลับคุก

แหล่งข่าวจากกระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า สำหรับคณะทำงานพิจารณาการคุมขังในสถานที่คุมขัง จะมี น.ส.จุฑารัตน์ จินตกานนท์ รองอธิบดีกรมราชทัณฑ์ที่กำกับดูแล กองทัณฑวิทยาเป็นประธาน และผู้อำนวยการกองงานที่เกี่ยวข้องของกรมราชทัณฑ์ รวม 8 คน เป็นผู้เสนอหลักเกณฑ์ เพื่อเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของคณะกรรมการราชทัณฑ์ (กรฑ.) โดยพิจารณาจากภาพรวม และจะไม่มีการพิจารณาตัวบุคคลเป็นหลัก

“ยอมรับว่า มีความพยายามจากฝ่ายการเมืองในการกดดันการทำงานของเจ้าหน้าที่อย่างหนัก โดยต้องการให้คณะทำงานทั้ง 8 คนของกรมราชทัณฑ์เร่งรัดหลักเกณฑ์ ออกมาบังคับใช้ แต่ฝ่ายข้าราชการประจำไม่สามารถดำเนิน การได้ และหลายคนเกิดอาการเครียด จนต้องลาพักร้อน และบางรายคิดจะลาออกจากราชการ เนื่องจากกลัวถูกฟ้องร้อง”

แหล่งข่าวจากกระทรวงยุติธรรม กล่าวอีกว่า สำหรับระเบียบกักขังนอกเรือนจำของกรมราชทัณฑ์ เป็นตามมาตรฐานสากลที่ประเทศต่างๆ ใช้กัน และไม่ได้หมายถึงการอนุญาตให้นำผู้ต้องหาไปไว้ที่บ้าน หรือโรงพยาบาลอย่างเดียว แต่ต้องติดคุก หรือเปลี่ยนจากขังอยู่ในคุกไปอยู่บ้าน

พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม

พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม

เช่นเดียวกับกรณีของนางอองซาน ซูจี โดยผู้เข้าเยี่ยมจะต้องขออนุญาตจากเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ก่อน และต้องติดกำไลอีเอ็ม เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถติดตามความเคลื่อนไหว หรือมอนิเตอร์ได้

แต่ไม่ได้หมายความว่า กลับบ้านสบาย จัดปาร์ตี้ หรือจัดประชุมพรรคที่บ้านไม่ได้ ต้องอยู่ 24 ชั่วโมงไปไหนไม่ได้ ส่วนอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ จะได้เข้าหลักเกณฑ์ หรือเงื่อนไขนี้ หรือไม่ เป็นอีกเรื่อง

แหล่งข่าวคนเดิม กล่าวว่า ส่วนข้อสังเกตว่า เหตุใดจึงไม่ให้ศาลเป็นผู้พิจารณา ต้องอธิบายว่า มาตรการนี้มี 2 ประเภท คือ ระบบหน้าบ้าน หรือที่เรียกว่า front-end และระบบหลังบ้าน หรือ back-end

ทักษิณ ชินวัตร

ทักษิณ ชินวัตร

โดย front-end คือ ก่อนเข้าเรือนจำ ศาลสั่งไม่ต้องเข้าเรือนจำให้ใส่กำไลอีเอ็มไปขังที่บ้านแต่ back-end เป็นเรื่องเตรียมพร้อมก่อนปล่อย จูงใจให้ประพฤติดี เป็นอำนาจฝ่ายบริหารที่ออกได้ เพื่อบริหารโทษและปฏิบัติตามกฎหมาย

แหล่งข่าวจากกระทวงยุติธรรม กล่าวอีกว่า เพื่อให้เกิดความโปร่งใส่และการยอมรับจากสังคม และแทนที่จะเป็นอำนาจอธิบดีกรมราชทัณฑ์ฝ่ายเดียว ในวันประชุมดังกล่าวจะมีเสนอตั้งคณะกรรมการชุดใหญ่ โดยมีตัวแทนระดับกระทรวง และกรมอื่นๆ เข้าร่วมด้วย

เช่น กระทรวงสาธารณสุข กรมการแพทย์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย กรมการปกครองส่วนท้องถิ่น และกรมคุมประพฤติ เพื่อช่วยกันคัดกรองอีกชั้นหนึ่ง

อ่านข่าว

ทันใจ! ระเบียบกรมราชทัณฑ์คุมขังนอกเรือนจำรับ “ทักษิณ”

 

 

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่