หน้าแรก Voice TV 'จุลพันธ์' ผิดหวัง 'ศิริกัญญา' สร้างวาทกรรมหวังจับผิด รบ.

'จุลพันธ์' ผิดหวัง 'ศิริกัญญา' สร้างวาทกรรมหวังจับผิด รบ.

55
0
'จุลพันธ์' ผิดหวัง-'ศิริกัญญา'-สร้างวาทกรรมหวังจับผิด-รบ.

‘จุลพันธ์’ ผิดหวัง ‘ศิริกัญญา’ หยิบตัวเลข GDP บางส่วนมาอภิปรายงบ 67 สร้างวาทกรรมหวังจับผิด ชี้เอกสารงบฯทั้งเล่มมีหน้าเดียวแสดง Nominal GDP นอกนั้นแสดงปกติที่ 3.2%

วันที่ 4 มกราคม จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวถึงกรณีที่ น.ส. ศิริกัญญา ตันสกุล ส.ส.พรรคก้าวไกล อภิปรายตั้งข้อสังเกตร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ต่อสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งพบว่ามีความเข้าใจผิดและสร้างความสับสนให้กับสังคมในหลายประเด็น

โดยเฉพาะกรณีที่ระบุว่า คาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจ หรือ GDPในปี 2566 ในเอกสารงบประมาณ 2 ชุดไม่ตรงกัน และใช้วาทกรรมว่า ‘โกงGDP’ นั้น ส่วนตัวรู้สึกผิดหวังที่น.ส.ศิริกัญญาหยิบยกประเด็นนี้ขึ้นมาอภิปราย เพราะเข้าใจว่าน.ส.ศิริกัญญามีความเข้าใจเรื่องเศรษฐกิจมากกว่านั้น แต่กลับนำมาเป็นวาทกรรมทางการเมือง ซึ่งโดยปกติแล้วการคาดการณ์GDP มี 2 รูปแบบ คือ 

1.“ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศที่เป็นตัวเงิน” หรือ Nominal GDP คือค่าGDPที่ได้จากการคำนวณมูลค่าของสินค้า หรือการลงทุนแบบตรงไปตรงมา “โดยไม่ได้นำอัตราเงินเฟ้อ เงินฝืด หรือค่าเงิน ณ ขณะนั้นมาคำนวณด้วย” ซึ่งตัวเลข GDP ที่แสดงในเอกสารงบประมาณ ที่ 5.4% เป็นการแสดงตัวเลขการคำนวณรายได้ของสำนักงบประมาณ เป็นการทำงานโดยปกติ หน้าอื่นของงบประมาณแสดงตัวเลขเป็น Real GDP มีเพียงหน้านั้นหน้าเดียวที่โชว์เป็น nominal สาเหตุที่ต้องรวมผลกระทบเงินเฟ้อ เพื่อให้สอดคล้องกับงบประมาณการจัดเก็บรายได้ซึ่งเป็นตัวเลข nominal เช่นเดียวกัน ถ้าจะโกงตัวเลข ทุกหน้าก็ต้องเปลี่ยนเป็น 5.4% แต่น.ส.ศิริกัญญา กลับหยิบยกหน้านี้ขึ้นมาโดยหวังให้มีประเด็น

ส่วน GDP ที่ 3.2% เป็นการคำนวณGDPในแบบที่ 2.“ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศที่แท้จริง” หรือ Real GDP คือ ค่า GDP ที่ได้จากการนำอัตราเศรษฐกิจต่าง ๆ เช่น อัตราเงินเฟ้อ เงินฝืด และอัตราค่าเงินมาคิดคำนวณด้วย ซึ่งต้องให้สอดคล้องกับการจัดทำประมาณการจัดเก็บรายได้ และโดยปกติในการรายงานGDPของทุกสำนัก จะใช้ตัวเลขนี้ ซึ่งในเอกสารงบประมาณทุกหน้า ก็ใช้ตัวเลขนี้ทั้งเล่ม 

“เป็นแค่วาทกรรม คงไม่ได้สร้างความสับสนให้ประชาชน โดยเฉพาะหากเป็นผู้ที่อยู่ในสายการเงิน กลางการคลัง จะเข้าใจอยู่แล้วครับ เป็นตัวเลขหนึ่งที่นำเสนอในเอกสารงบประมาณเท่านั้น ซึ่งเอกสารทุกหน้า แสดงตัวเลข GDP ที่ 3.2% เวลาเปรียบเทียบกับงบประมาณ คือการจัดเก็บจริง จึงเอาตัวเลขที่เป็น Nominal GDP มาแสดงให้เห็น ซึ่งตรงนี้มันเป็นหลักการที่ทำมาโดยตลอด” จุลพันธ์ กล่าว

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่