หน้าแรก Voice TV พิพากษา ตัดสิทธิ์การเมืองตลอดชีพ 'ฉลอง-นาที' สส.ภูมิใจไทย เซ่นเสียบบัตรแทนกัน

พิพากษา ตัดสิทธิ์การเมืองตลอดชีพ 'ฉลอง-นาที' สส.ภูมิใจไทย เซ่นเสียบบัตรแทนกัน

74
0
พิพากษา-ตัดสิทธิ์การเมืองตลอดชีพ-'ฉลอง-นาที'-สส.ภูมิใจไทย-เซ่นเสียบบัตรแทนกัน

ศาลฎีกาพิพากษา ตัดสิทธิ์การเมืองตลอดไป ‘ฉลอง-นาที’ สส.ภูมิใจไทย เซ่นคดีเสียบบัตรแทนกัน ชี้ทำ พ.ร.บ.งบประมาณ ตราขึ้นโดนขัด รธน.

วันที่ 10 ม.ค. 2567 องค์คณะผู้พิพากษาศาลฎีกาอ่านคำพิพากษาคดีหมายเลขดำที่ คมจ.3/2564 หมายเลขแดงที่ คมจ.1/2567 ระหว่าง คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ผู้ร้อง ฉลอง เทอดวีระพงศ์ ที่ 1 ภูมิศิษฎ์ คงมี ที่ 2 นาที รัชกิจประการ ที่ 3 ผู้คัดค้าน โดยเมื่อวันที่ 30 ก.ค. 2564 ผู้ร้องยื่นคำร้องว่า ผู้คัดค้านทั้งสามดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สังกัดพรรคภูมิใจไทย เมื่อวันที่ 8 ม.ค. 2563 ถึงวันที่ 11 ม.ค. 2563 มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2563 ผู้คัดค้านทั้งสามลงชื่อเข้าร่วมประชุม แต่ผู้คัดค้านไม่อยู่ในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร 

โดยผู้คัดค้านทั้งสามฝากบัตรอิเล็กทรอนิกส์ไว้กับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรรายอื่นหรือกระทำด้วยประการใด ๆ ให้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ของตนไปอยู่ในความครอบครองของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรรายอื่นโดยความยินยอมของผู้คัดค้านทั้งสาม โดยมีเจตนาให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรรายนั้นใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ของผู้คัดค้านทั้งสามแสดงตนและลงมติแทนในการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว แล้วสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่รับฝากบัตรอิเล็กทรอนิกส์นำบัตรไปแสดงตนและลงมติในการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวแทนผู้คัดค้านเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในตำแหน่งหรือหน้าที่ หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหรือหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต และไม่รับผิดชอบต่อหน้าที่อันสำคัญที่ได้รับความไว้วางใจจากประชาชน เข้าลักษณะเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง  

ผู้คัดค้านทั้งสามยื่นคำคัดค้าน ศาลฎีกามีคำสั่งให้ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 หยุดปฏิบัติหน้าที่เมื่อวันที่ 3 ก.ย. 2564 ส่วนผู้คัดค้านที่ 3 พ้นจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก่อนวันที่ผู้ร้องยื่นคำร้องคดีนี้แล้ว 

ต่อมาอัยการสูงสุดเป็นโจทก์ฟ้องผู้คัดค้านทั้งสามเป็นคดีอาญาด้วยมูลเหตุเดียวกับคดีนี้ต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ซึ่งมีข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานส่วนใหญ่เป็นชุดเดียวกัน เมื่อศาลในคดีอาญาดังกล่าวมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 18 พ.ค. 2566 แล้ว จึงดำเนินกระบวนพิจารณาคดีนี้ต่อโดยไต่สวนพยานผู้ร้องวันที่ 26 ต.ค. 2566 กับไต่สวนพยานผู้คัดค้านทั้งสามวันที่ 27 ต.ค. 2560

โดยสรุป องค์คณะผู้พิพากษาพิจารณาแล้วเห็นว่า การกระทำของผู้คัดค้านเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง ฐานไม่รักษาไว้ซึ่งเกียรติภูมิและผลประโยชน์ของชาติ ฐานไม่ถือผลประโยชน์ของประเทศชาติเหนือกว่าประโยชน์ส่วนตน ฐานไม่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบเพื่อตนเองหรือผู้อื่น หรือมีพฤติการณ์ที่เห็นหรือยินยอมให้ผู้อื่นใช้ตำแหน่งหน้าที่ของตนแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ นอกจากนี้ การกระทำของผู้คัดค้านทั้งสามยังเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมฐานกระทำการที่ก่อให้เกิดความเสื่อมเสียต่อเกียรติศักดิ์ของการดำรงตำแหน่ง และฐานไม่ปฏิบัติหน้าที่ราชการอย่างเต็มกำลังความสามารถ และยึดมั่นในความถูกต้องชอบธรรม โปร่งใสและตรวจสอบได้ และไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบแบบแผนของทางราชการ โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของชาติ และความผาสุกของประชาชนโดยรวม ซึ่งเมื่อพิจารณาลักษณะของการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติ เจตนาและความร้ายแรงของความเสียหายที่เกิดขึ้นแล้ว เห็นว่า ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี งบประมาณ 2563 ถือเป็นเครื่องมือสำคัญของรัฐบาลที่จะทำให้การบริหารราชการแผ่นดินตามนโยบายที่คณะรัฐมนตรีได้แถลงไว้ต่อรัฐสภาสามารถบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายได้ อันจะสะท้อนความสามารถในการบริหารประเทศด้านการเงินและการคลัง กับเสถียรภาพของรัฐบาล และต้องอาศัยมติและเสียงของสมาชิกฝ่ายรัฐบาลเป็นหลักในการผลักดันร่างกฎหมาย 

เมื่อผู้คัดค้านทั้งสามเป็นสมาชิกพรรคการเมืองร่วมรัฐบาล ย่อมเป็นมูลเหตุจูงใจให้ผู้คัดค้านทั้งสามต้องมอบหรือฝากบัตรอิเล็กทรอนิกส์ไว้ให้บุคคลที่ได้มีการคบคิดกันมาก่อนแสดงตนและลงมติแทน ต่อมาศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่าการออก

เสียงลงมติแทนผู้ที่ไม่อยู่ร่วมประชุมเป็นการกระทำโดยไม่สุจริต ทำให้ผลการลงมติร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2563 วาระที่ 2 และวาระที่ 3 ไม่สอดคล้องกับหลักนิติธรรมและไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ เป็นเหตุให้ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าววาระที่ 2 และวาระที่ 3 ตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ การกระทำในส่วนนี้ย่อมถือได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมที่มีลักษณะร้ายแรง

พิพากษาว่า ผู้คัดค้านทั้งสามฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ รวมทั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และหัวหน้าหน่วยงานธุรการของศาลรัฐธรรมนูญและองค์กร

อิสระ 2561 ให้ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 พ้นจากตำแหน่งนับแต่วันที่ 3 ก.ย. 2564 อันเป็นวันที่ศาลฎีกามีคำสั่งในคดีนี้ ให้ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2

หยุดปฏิบัติหน้าที่ เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของผู้คัดค้านทั้งสามตลอดไป และไม่มีสิทธิดำรงตำแหน่งทางการเมืองใดๆ กับให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้คัดค้านทั้งสามมีกำหนดเวลาสิบปีนับแต่วันที่ศาลฎีกามีคำพิพากษา คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก

1.jpg2.jpg3.jpg4.jpg

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่