หน้าแรก Thai PBS มติ ศาล รธน.ให้ความเป็นรัฐมนตรี “ศักดิ์สยาม” สิ้นสุดตั้งแต่ 3 มี.ค.66 คดีซุกหุ้นบุรีเจริญ

มติ ศาล รธน.ให้ความเป็นรัฐมนตรี “ศักดิ์สยาม” สิ้นสุดตั้งแต่ 3 มี.ค.66 คดีซุกหุ้นบุรีเจริญ

65
0
มติ-ศาล-รธนให้ความเป็นรัฐมนตรี-“ศักดิ์สยาม”-สิ้นสุดตั้งแต่-3-มีค.66-คดีซุกหุ้นบุรีเจริญ

วันนี้ (17 ธ.ค.2566) ศาลรัฐธรรมนูญ นัดฟังคำวินิจฉัย ในคำร้องของ สส.พรรคก้าวไกล ได้ยื่นผ่านประธานสภาผู้แทนราษฎร กรณีการถือหุ้นและเจ้าของห้างหุ้นส่วนจำกัดบุรีเจริญ คอนสตรัคชัน ของนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ อดีต รมว.คมนาคม สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญมาตรา 170 วรรคหนึ่ง (5) ประกอบกับมาตรา 187 หรือไม่

ขณะที่ในวันนี้นายศักดิ์สยาม เดินทางมารับฟังคำวินิจฉัย

คดีนี้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวน 54 คน ยื่นคำร้องต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร (ผู้ร้อง) ว่านายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (ผู้ถูกร้อง) ยังคงไว้ซึ่งหุ้นส่วนและยังคงเป็นผู้ถือหุ้นและเจ้าของห้างหุ้นส่วนจำกัด บุรีเจริญคอนสตรัคชั่น อย่างแท้จริง ซึ่งจะทำให้ผู้ถูกร้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการหุ้นหรือกิจการของห้างหุ้นส่วน เป็นการกระทำอันเป็นการต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 147 ประกอบพระราชบัญญัติการจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ.2543 มาตรา 4 (1) เป็นเหตุให้ความเป็นรัฐมนตรีของผู้ถูกร้องสิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 17 วรรคหนึ่ง (5) หรือไม่

อ่านข่าว : ศาลยกฟ้อง “พธม.” บุกสนามบินดอนเมือง สั่งปรับ 13 จำเลยคนละ 2 หมื่น

ทั้งนี้นายศักดิ์สยามได้หยุดปฎิบัติหน้าที่ตามคำสั่งของศาลตั้งแต่วันที่ 3 มี.ค.2566 โดยปัจจุบันไม่ได้ดำรงตำแหน่งใดทางการเมือง เพียงแต่ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคภูมิใจไทย

ศักดิ์สยาม ชิดชอบ

ศักดิ์สยาม ชิดชอบ

ก่อนพิจารณาคำร้องนี้ ประธานศาลรัฐธรรมนูญแจ้งว่า นายวิรุฬห์ แสงเทียน ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ลาป่วย ต่อจากนั้น ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้แถลงด้วยวาจา ปรึกษาหารือ และลงมติโดยครบองค์คณะของศาลรัฐธรรมนูญตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2561 มาตรา 52 วรรคสอง ที่บัญญัติว่า องค์คณะของศาลในการพิจารณาคดีและในการทำคำวินิจฉัย ต้องประกอบด้วยตุลาการไม่น้อยกว่าเจ็ดคน

ผลการลงมติ ศาลรัฐธรรมนูญมีมติโดยเสียงข้างมาก (7 ต่อ 1) วินิจฉัยว่า ความเป็นรัฐมนตรีของผู้ถูกร้องสิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญมาตรา 170 วรรคหนึ่ง (5) นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งให้ผู้ถูกร้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 82 วรรคสอง คือ วันที่ 3 มีนาคม 2566

โดยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างน้อยจำนวน 1 คน คือ นายอุดม สิทธิวิรัชธรรม เห็นว่า ความเป็นรัฐมนตรีของผู้ถูกร้องไม่สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคหนึ่ง (5)

 

 ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

ศาลรธน.นัดวันชี้ชะตา “ศักดิ์สยาม” ซุกหุ้น 17 ม.ค.67

ศาล รธน.สั่งผู้เกี่ยวข้องส่งหลักฐานเพิ่ม คดีหุ้น “ศักดิ์สยาม”

เปิดชีวิต “ศักดิ์สยาม ชิดชอบ” โสด ไร้หนี้ มีร้อยล้าน

ศาลรัฐธรรมนูญ ยืนคำสั่ง “ศักดิ์สยาม” หยุดปฏิบัติหน้าที่รัฐมนตรี

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่