หน้าแรก Thai PBS จับกระแสการเมือง : 18 ม.ค.2567 มีหนาว 6 พรรคฝ่ายค้านรวมพล เตรียมลุย “รัฐบาลเพื่อไทย”

จับกระแสการเมือง : 18 ม.ค.2567 มีหนาว 6 พรรคฝ่ายค้านรวมพล เตรียมลุย “รัฐบาลเพื่อไทย”

72
0
จับกระแสการเมือง-:-18-มค.2567-มีหนาว-6-พรรคฝ่ายค้านรวมพล-เตรียมลุย-“รัฐบาลเพื่อไทย”

ฤกษ์ดีของ 6 พรรคร่วมฝ่ายค้าน ได้นัดถกอย่างเป็นทางการ ถึงแนวทางและทิศทางในการทำงานร่วมกัน หลังจากต้องรอ “ชัยธวัช ตุลาธน” ผู้นำฝ่ายค้าน มานานพอสมควร โดยมีตัวแทนจากพรรคร่วมฝ่ายค้านร่วมประชุมอย่างคึกคัก

โดย “เสี่ยต่อ” เฉลิมชัย ศรีอ่อน หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ นำคณะกรรมการบริหารพรรค และ สส.พรรค เข้าแสดงความยินดีพร้อมมอบแจกันดอกไม้ให้ “ชัยธวัช” หัวหน้าพรรคก้าวไกล ที่ได้รับตำแหน่งผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร

6 พรรคร่วมฝ่ายค้านประชุม

6 พรรคร่วมฝ่ายค้านประชุม

“เสี่ยต่อ” ขอโทษที่ไม่ได้มาตั้งแต่ครั้งแรกที่ได้รับการโปรดเกล้าฯ พร้อมขอให้การทำงานทุกอย่างราบรื่น

วงถกตั้งวางเป้าหมายนับจากนี้ ไม่ว่าจะเป็นการทำงานตามวาระปกติ ของสภาในแต่ละสัปดาห์ และข้อเสนอในการปรับปรุงการทำงานให้มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการตรวจสอบงบประมาณให้โปร่งใสมีประสิทธิภาพ

ส่วนโครงการดิจิทัลวอลเล็ต ประเด็นเดือด ที่ยังไม่มีความชัดเจนว่า จะเดินหน้าหรือถอยหลัง เพราะคำตอบสุดท้าย หากรัฐบาลตัดสินใจยื่น พ.ร.บ.เงินกู้เข้ามาสู่สภาฯ สภาก็จะเป็นกลไกสำคัญในการตรวจสอบเรื่องนี้

แต่ถ้ารัฐบาลจะใช้วิธีอื่น ในฐานะฝ่ายค้านก็คงจะต้องเลือกวิธีการตรวจสอบถ่วงดุลเรื่องนี้ในรูปแบบอื่น และปัญหาขณะนี้คือคาดเดาไม่ได้ ว่ารัฐบาลจะดำเนินการอย่างไร

สิ่งสำคัญที่สุดคือการร่วมงานร่วมในทิศทางเดียวกัน ส่วนการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล จะให้คณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน หรือวิปค้านที่มีอยู่แล้ว ได้มีการประสานงานกันมากขึ้น เชื่อว่าการทำงานหลังจากนี้ในฐานะฝ่ายค้านจะราบรื่นมากขึ้น เสี่ยต่อ กล่าว

6 พรรคร่วมฝ่ายค้านประชุม

6 พรรคร่วมฝ่ายค้านประชุม

ชัยธวัช บอกว่า สิ่งสำคัญคือความไว้วางใจ และในการประสานงานให้เป็นเอกภาพมากกว่านี้ ก็ต้องยอมรับว่า ที่ผ่านมาอาจจะมีช่องว่างบ้าง แต่จากนี้จะมีความเป็นเอกภาพมากขึ้นขอยืนยันว่าพรรคก้าวไกลในฐานะผู้นำฝ่ายค้านให้เกียรติและเคารพทุกพรรค และไม่มีปัญหา

ส่วนกรณีชั้น 14 โรงพยาบาลจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการกำหนดทิศการทำงานของฝ่ายค้านหรือไม่ เป็นประเด็นที่ไม่พลาดที่พรรคร่วมฝ่ายค้านได้หยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาคุยในที่ประชุม รวมถึงที่เป็นเรื่องกระบวนการยุติธรรม ที่ฝ่ายค้านรู้สึกว่าสองมาตรฐาน

อ่านข่าว : ถก 6 พรรคฝ่ายค้าน เดินหน้าตรวจสอบรัฐบาล จับตา “ดิจิทัลวอลเล็ต”

รศ.โอฬาร ถิ่นบางเตียว อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ ม.บูรพา

รศ.โอฬาร ถิ่นบางเตียว อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ ม.บูรพา

ฟันฉับว่าต่อรอง รศ.โอฬาร ถิ่นบางเตียว อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ ม.บูรพา มองขาดว่า การกลับเข้ามาของทักษิณ ซึ่งจริงๆ ทักษิณเข้ามาอยู่แล้ว มีบทบาทตลอดแม้ตัวจะพำนักอยู่ต่างประเทศ แต่ขณะนี้จะยิ่งมีบทบาทมากขึ้น

การเมืองแบบคณาธิปไตย การต่อรองกัน จะไม่มีใครได้อะไรทั้งหมด ทักษิณอาจได้กลับบ้าน แต่หลังจากนี้ดูอาการของเพื่อไทยก็หนัก ถ้ามาเปลี่ยนม้ากลางศึกจากเศรษฐา เป็น อุ๊งอิ๊ง ก็คงจะไม่ดี กระแสตกต่ำ นโยบายขับเคลื่อนไม่ได้ ย่อมมีผลต่อการเลือกตั้ง

ณ ตอนนี้ และปล่อยให้การเมืองไปตามสภาพ นโยบายได้ไม่ได้ก็ปล่อยให้นายกฯเศรษฐารับผิดชอบไป และตัวเองมาตั้งหลักกำหนดทิศทางอนาคตในการเลือกตั้งครั้งหน้า น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า

ส่วนขั้วอนุรักษ์ อย่างพรรคพลังประชารัฐ และพรรครวมไทยสร้างชาติ เข้าร่วมรัฐบาลเศรษฐาด้วยเงื่อนไข ด้วยความจำเป็น 

รศ.โอฬาร วิเคราะห์ว่า สิ่งที่แสดงออกผ่านตัวรัฐมนตรีที่ต่างพยายามทำงานในนามพรรคของตัวเอง เว้นระยะห่างกับคำว่าภาพรวมรัฐบาลด้านหนึ่งสะท้อนความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจ แต่ละพรรคที่ยังสงวนท่าทีพอสมควรในการร่วมไม้ร่วมมือกัน และมาเจอสถานการณ์ตอนนี้

คิดว่ามีทางเป็นไปได้ที่เป็นโอกาสครั้งสุดท้ายของ 2 พรรคลุงในการฮึดสู้ ซึ่งทำไมเป็นโอกาสสุดท้าย เนื่องจาก สว.ชุด คสช. หมดอายุ 11 พ.ค.นี้ ซึ่งจะเป็นการปิดประตูตายของ 2 พรรค 

ทักษิณ ชินวัตร

ทักษิณ ชินวัตร

อ่านข่าว : “ทักษิณ” ไม่ได้อยู่คอนโด แพทย์ชี้ป่วยจริง “ใครจะกล้าให้กลับราชทัณฑ์”

หลังจากที่ทักษิณ อยู่ระหว่างรักษาตัวนอกเรือนจำ โดยทุกห้วงเวลานับตั้งแต่รักษาตัวครบ 30 วัน ครบ 60 วันและเกินกว่า 120 วัน เป็นไปตามขั้นตอนที่อธิบดีกรมราชทัณฑ์จะต้องมีความเห็นและรายงานไปตามลำดับชั้น ซึ่งทั้งปลัดกระทรวงยุติธรรม และ รมว.ยุติธรรม ได้เซ็นรับทราบการอนุญาตนอนพักรักษาตัวนอกเรือนจำของนายทักษิณ ถือว่าเข้าเงื่อนไขและปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมาย

เชื่อมั่นว่านายทักษิณนอนพักที่ รพ.ตำรวจ จริง ไม่ได้อยู่ที่คอนโดฯ อย่างที่สังคมเคลือบแคลงสงสัยแน่นอน สมบูรณ์ ม่วงกล่ำ ปรึกษา รมว.ยุติธรรม กล่าว

ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ราชทัณฑ์ได้ประชุมและรายงานต่อคณะกรรมการราชทัณฑ์ให้รับทราบถึงการดำเนินการ เพราะกฎกระทรวงกำหนดให้กรมราชทัณฑ์ต้องออกระเบียบกรมราชทัณฑ์ ว่าด้วยการดำเนินการสำหรับการคุมขังในสถานที่คุมขัง พ.ศ.2566

โรงพยาบาลตำรวจ

โรงพยาบาลตำรวจ

รองอธิบดีกรมราชทัณฑ์ กล่าวถึงประเด็นโครงการพักการลงโทษกรณีมีเหตุพิเศษ ว่า เรื่องนี้เป็นประโยชน์ของผู้ต้องขังที่มีสิทธิ์ได้รับ แต่การพิจารณาว่าผู้ต้องขังรายใดจะเข้าเกณฑ์โครงการดังกล่าวนั้น ผู้บัญชาการเรือนจำแต่ละแห่งจะเป็นผู้พิจารณาคุณสมบัติและความเหมาะสม ทั้งแบบกรณีมีเหตุพิเศษและแบบปกติ ซึ่งผู้ต้องขังไม่สามารถเสนอตัวเองได้

อธิบดีกรมราชทัณฑ์ยังไม่ได้รับรายงานจาก ผบ.เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ถึงประเด็นรายชื่อทักษิณ ว่าเข้าเกณฑ์โครงการพักการลงโทษหรือไม่

คุณสมบัติทักษิณ หากดูจากหลักเกณฑ์ที่ว่าเป็นผู้ต้องขังเด็ดขาดชั้นกลาง สูงวัยและมีอาการเจ็บป่วย ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่จะได้รับการพิจารณาในโครงการพักการลงโทษ กรณีมีเหตุพิเศษ เนื่องจากเจ็บป่วยร้ายแรง หรือพิการ หรือมีอายุตั้งแต่ 70 ปีขึ้นไป

ชัยชนะ เดชเดโช  ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการตำรวจ สภาผู้แทนราษฎร

ชัยชนะ เดชเดโช ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการตำรวจ สภาผู้แทนราษฎร

ด้านชัยชนะ เดชเดโช สส.พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการตำรวจ สภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า ตอนนี้ทางกรรมาธิการตำรวจฯ ต้องรอหนังสือจากกรมราชทัณฑ์ทั้งหมดที่ทำส่งไป เมื่อวันที่ 26 ธ.ค.2566 ถ้าภายในเดือนนี้ไม่ตอบกลับมาก็ต้องส่งหนังสือติดตามไปอีกครั้ง

กรมราชทัณฑ์ยอมรับว่าที่ไม่เรียกนายทักษิณว่า “นักโทษชาย” เนื่องจากไม่ได้โดนคุมขัง ในเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ และยังไม่ได้นับโทษ เพราะฉะนั้นหากตีความแบบนี้ทักษิณได้รับโทษแล้วหรือไม่ ซึ่งอธิบดีกรมราชทัณฑ์จะต้องชี้แจง ต่อสังคมให้ชัดเจน

อ่านข่าว : “ชัยชนะ” แนะอธิบดีกรมราชทัณฑ์ แจงสังคมให้ชัดกรณี “ทักษิณ”

สมชาย แสวงการ สมาชิกวุฒิสภา

สมชาย แสวงการ สมาชิกวุฒิสภา

จากการแถลงของฝ่ายการเมืองในกระทรวงยุติธรรมยังไม่ชัดเจนว่าเป็นการพักโทษพิเศษหรือไม่ แต่ สว.สมชาย แสวงการ ออกโรงเตือน พร้อมยืนยันว่าจะต้องยึดพระราชบัญญัติราชทัณฑ์เป็นหลัก รวมถึงสถานที่คุมขังจะต้องพิจารณาว่าบ้านพักเข้าหลักเกณฑ์สถานที่คุมขังหรือไม่

ต้องอย่าลืมว่าทักษิณได้เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมยอมรับผิดและขอรับโทษตามขั้นตอน และศาลได้ตัดสินจำคุก 8 ปี ก่อนได้รับพระราชทานลดโทษเหลือ 1 ปี ก็ควรจะเดินไปตามกระบวนการยุติธรรมปกติไม่ควรขอสิทธิ์อะไรเพิ่มเติมอีก

วันนี้อย่าทำให้เกิดวิกฤตศรัทธาเมื่อศาลพิพากษาลงโทษแล้วก็ต้องดำเนินการตามกระบวนการที่ถูกต้อง ซึ่งการที่ฝ่ายการเมืองออกมาแถลงแบบนี้ ทำให้เกิดข้อสงสัยว่าต้องการดำเนินการเป็นพิเศษที่มากกว่าหลักเกณฑ์ปกติ ขอให้ระวัง

วันนี้สังคมตั้งคำถามเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมที่ปฏิบัติไม่เสมอภาคมีการละเว้นปฏิบัติหน้าที่ ผู้ที่จะถูกดำเนินคดีก็คือเจ้าหน้าที่รัฐที่ทำให้เกิดปัญหา

อ่านข่าวอื่น : 

“ราชทัณฑ์” รับ “ทักษิณ” เข้าเกณฑ์พักโทษกรณีพิเศษ

จับกระแสการเมือง : 17 ม.ค.2567 “ศักดิ์สยาม” ตกสวรรค์ คิวต่อไป “พิธา-ก้าวไกล”

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่