หน้าแรก Voice TV คน กสทช. ชี้  ‘ไตรรัตน์’ รองเลขาฯ กสทช. ใช้อำนาจโยกย้ายไม่เป็นธรรม เชื่อ ปธ.กสทช.-รักษาการเลขาฯ ส่อโดน ม.157

คน กสทช. ชี้  ‘ไตรรัตน์’ รองเลขาฯ กสทช. ใช้อำนาจโยกย้ายไม่เป็นธรรม เชื่อ ปธ.กสทช.-รักษาการเลขาฯ ส่อโดน ม.157

80
0
คน-กสทช-ชี้  ‘ไตรรัตน์’-รองเลขาฯ-กสทช-ใช้อำนาจโยกย้ายไม่เป็นธรรม-เชื่อ-ปธกสทช-รักษาการเลขาฯ-ส่อโดน-ม.157

“คน กสทช.” มองข่าวเชียร์ “ไตรรัตน์” ไม่เป็นธรรมชาติ เชื่อคนในเชียร์จริงแต่แค่ส่วนน้อย ส่วน “โอเปอร์เรเตอร์” ก็แค่บางค่าย ลากไส้ปัญหา กสทช.เหตุบางคนหลงผิดคิดว่ามีอำนาจ แฉยับแต่งตั้ง-โยกย้ายไร้กติกา ดันคนสนิทข้ามหน้าอาวุโส เชื่อส่อโดน ม.157 ทั้ง “ประธานฯ” ที่ละเว้นฯ “รักษาการเลขาฯ” ที่ปฏิบัติมิชอบ

ภายหลังจากมีสื่อบางสำนักเผยแพร่ข่าวระบุว่า พนักงานในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) รวมไปถึงเอกชนผู้ประกอบการโทรคมนาคม (โอเปอร์เรเตอร์) ยังคงสนับสนุน ‘ไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล’ รองเลขาธิการ กสทช. ให้ได้รับแต่งตั้งเป็น เลขาธิการ กสทช. แม้ที่ประชุมคณะกรรมการ กสทช. จะมีมติเสียงข้างมากว่ากระบวนการสรรหา และเสนอชื่อ ไตรรัตน์ นั้นไม่ถูกต้อง ก็ตาม

ล่าสุด วันที่ 25 ม.ค. แหล่งข่าวในสำนักงาน กสทช. ระบุว่า ข่าวการเชียร์ ไตรรัตน์ ที่ออกมาดูไม่เป็นธรรมชาติเท่าที่ควร เพราะกระบวนการสรรหาเลขาฯ กสทช.ครั้งล่าสุดนั้นสิ้นสุดไปตามมติบอร์ด กสทช.แล้ว แต่ก็ยอมรับว่า ไตรรัตน์ ก็เป็นที่รักของพนักงาน กสทช.บางกลุ่มที่ได้ดีในช่วงที่ ไตรรัตน์ เป็นรักษาการเลขาฯ กสทข. รวมไปถึงโอเปอเรเตอร์บางรายจริง จนบางครั้งยังมีการแซวกันว่า ไตรรัตน์ แทบจะเป็นพรีเซนเตอร์ของโอปอเรเตอร์บางค่ายด้วยซ้ำ

แหล่งข่าว กล่าวต่อว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการสรรหาเลขาฯ กสทช. ซึ่งบอร์ด กสทช.บางรายให้การสนับสนุน ไตรรัตน์ เพียงคนเดียว ทั้งที่มีความกังขาในกระบวนการสรรหาที่มีผู้สมัครเข้ารับการสรรหาร้องเรียกถึงความไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะในเรื่องเกณฑ์การให้คะแนน ตัวชี้วัดมาตรฐานการตัดสินใจต่างๆ ที่ไม่เป็นไปตามแบบที่องค์กรอื่นทั่วไปใช้กัน แม้แต่ผลการสรรหาที่ว่า ใครตก หรือใครผ่านอย่างไร 

ประธาน กสทช. ที่เป็นผู้รับผิดชอบ กลับไม่สามารถชี้แจงกติกา หรือเกณฑ์การให้คะแนนได้ จนไม่มีใครรู้ว้า ใช้เกณฑ์อะไรตัดสิน และเมื่อไม่สามารถเนนอชื่อ นายไตรรัตน์ ได้ ก็โทษว่า เป็นความผิดของที่ประชุม กสทช. ทั้งที่บอร์ด กสทช.หลายคนพยายามบอกแล้วว่า กระบวนการสรรหาไม่ถูกต้อง

“ความพยายามดันไตรรัตน์จนออกนอกหน้า พลอยทำให้ กสทช. คนอื่นๆ เสื่อมเสียไปด้วย พอไม่ได้อย่างที่ตนเองต้องการก็โบ้ยเป็นความผิดคนอื่น จนคนอดสงสัยไม่ว่า ทำไม ท่านประธานถึงต้องสนับสนุน ไตรรัตน์ ขนาดนี้ โยงไปถึงเรื่องที่ไม่ยอมเซ็นเปลี่ยนรักษาการเลขาฯ กสทช. ก็เพราะต้องการให้อยู่เซ็นสัญญาบางโปรเจ็คต์หรือไม่” 

แหล่งข่าว กล่าวอีกว่า ตำแหน่ง รักษาการ ไม่ใช่ตำแหน่งตัวจริง สามารถเปลี่ยนแปลงได้ทุกเมื่อ ตามความเหมาะสม แม้ไม่มีโทษ หรือความผิดที่ชัดเจนอะไรก็ตาม แต่ทั้งๆที่มีมติเปลี่ยนตัวรักษาการเลขาธิการไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยที่ ประธาน กสทช. ก็ทำการโหวตด้วยตัวเองด้วย กลับไม่ยอมปฏิบัติตามมติที่ประชุมบอร์ด 

ขณะเดียวกัน ไตรรัตน์ ก็ใช้ช้อำนาจโยกย้ายบางตำแหน่งในระดับบริหาร โดยย้ายผู้ที่มีความรู้ความสามารถ และประสบการณ์ด้านนั้นๆ ออกไปประจำตำแหน่งอื่น และตั้งผู้ที่ไม่เข้าใจเนื้องานแต่มีความสนิทสนม และไว้ใจมาแทน

แหล่งข่างเปิดเผยด้วยว่า ตำแหน่งเลขาธิการ กสทช. มีหน้าที่บริหารสำนักงานให้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับ และตามนโยบายจากการตัดสินใจของบอร์ด รวมทั้งยังเป็นผู้ประเมิน และโยกย้ายพนักงาน รวมถึงผู้บริหารบางตำแหน่งตามอำนาจหน้าที่ของตน และยังมีหน้าที่กำกับควบคุมดูแลในเรื่องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการจัดซื้อจัดจ้าง การบริหารการใช้งบประมาณ ซึ่งก็มักทำให้เกิดข้อครางแคลงใจภายในสำนักงานบ่อยครั้ง  เช่น การแต่งตั้งคนสนิทที่ถูกตั้งกรรมการสอบสวนวินัยร้ายแรงมาเป็นผู้บริหารสำนักงาน หรือเกณท์การประเมินประจำปีที่ไม่ชัดเจน มีการแบ่งชนชั้น ให้คะแนนตามความสนิทสนม เป็นต้น

“จากการบริหารสำนักงาน กสทช.ที่ผ่านมา จึงพอเข้าใจแล้วว่า ทำไมไตรรัตน์ถึงเป็นที่รักของพนักงานบางกลุ่มราว 15-20% และต้องเดินจูงมือด้วยกันตลอดไป แต่ก็ยังมีพนักงานส่วนใหญ่อีกราว 80-85% ที่นั่งดูน้องรักคนสนิทของไตรรัตน์เติบโตในหน้าที่การงานทั้งที่อายุยังน้อย บางคนเพิ่งเลื่อนขั้นขึ้นมาก็นั่งรักษาการจองเก้าอี้รอเลื่อนขั้นต่อไป ทั้งที่มีคนอาวุโสมากกว่า ส่วนการได้รับการสนับสนุนไม่ควรแอบอ้างเอง เพราะไม่มีโอเปอเรเตอร์เจ้าใดต้องมาสนับสนุน เนื่องจาก กสทช. เป็นเรกูเลเตอร์ ย่อมต้องปฏิบัติหน้าที่เป็นกลาง ไม่สามารถเข้าข้างโอเปอเรเตอร์เจ้าไหนได้” 

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นใน กสทช. ล้วนแล้วมาจากความหลงผิดในอำนาจที่ว่าประธาน กสทช. มีสิทธิ์เลือกเลขาธิการได้ด้วยตัวเองเพียงคนเดียว ทั้งที่มติเห็นชอบจริงๆแล้วเป็นขององค์คณะกรรมการ กสทช. และความเข้าใจผิดที่ว่า ถ้าประธาน กสทช.ไม่เซ็นแล้วมติที่ประชุม กสทช.จะไม่มีผล ทั้งที่ความจริงมีผลไปตั้งแต่มีมติที่ประชุม กสทช.ออกมาแล้ว จนตอนนี้ ผศ.ดร.ภูมิศิษฐ์ มหาเวสน์ศิริ รองเลขาธิการ กสทช. ที่บอร์ดมีมติแต่งตั้งเป็นรักษาการเลขาธิการ กสทช. ได้เกษียณอายุราชการไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว 

ทำให้ไม่ว่าประธาน กสทช.จะลงนามหรือไม่ลงนามให้ปฏิบัติตามมติที่ประชุม กสทช. เมื่อวันที่ 9 มิ.ย.66 ก็เข้าข่ายละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 156 แล้วหรือไม่ เช่นเดียวกับ นายไตรรัตน์ ที่ต้อฃพ้นจากรักษาการเลขาฯ กสทช.จากมติเดียวกัน ก็ไม่มีอำนาจออกคำสั่งแต่งตั้งโยกย้ายใดๆ ก็อาจเข้าข่ายปฎิบัติหน้าที่โดยมิชอบด้วยใช่หรือไม่ 

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่