หน้าแรก Voice TV 'ไชยา' ดันปัตตานี ส่งออกสินค้าฮาลาล ลงพื้นที่ติดตามงาน 'โคบาลชายแดนใต้'

'ไชยา' ดันปัตตานี ส่งออกสินค้าฮาลาล ลงพื้นที่ติดตามงาน 'โคบาลชายแดนใต้'

93
0
'ไชยา'-ดันปัตตานี-ส่งออกสินค้าฮาลาล-ลงพื้นที่ติดตามงาน-'โคบาลชายแดนใต้'

รมช.ไชยา ลุยปัตตานี แก้ปัญหา“โครงการโคบาลชายแดนใต้” พร้อมผลักดันให้เป็นพื้นที่ส่งออกสินค้าฮาลาล

29 ม.ค. 2567 ไชยา พรหมา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ติดตามโครงการ “โคบาลชายแดนใต้” จากกรณีเกษตรกร “ร้องส่งโคไม่ตรงปก” 2 จุด ได้แก่ กลุ่มผู้เลี้ยงโคตันหยงลุโละ หมู่ที่ 2 ตำบลตันหยงลุโละ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี และเกษตรกรกลุ่มบ้านทุ่งใหญ่ หมู่ 1 ตำบลบ้านนอก อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี โดยมีผู้บริหารและเจ้าหน้าที่สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วย นางพาตีเมาะ สะดียามู ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี และเจ้าหน้าที่หน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง รอต้อนรับในพื้นที่ สำหรับวัตถุประสงค์ของโครงการโคบาลชายแดนใต้ เป็นโครงการระยะ 7 ปี (ปี 2565-2571) เพื่อสร้างเศรษฐกิจฐานรากให้กับประชาชนในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนใต้ จากการสร้างแปลงอาหารสัตว์ สร้างโรงเรือน การจัดซื้อแม่โคพื้นเมือง และการจัดจ้างเจ้าหน้าที่ดูแลฟาร์ม เพื่อพัฒนาเป็นพื้นที่อุตสาหกรรมส่งออกสินค้าฮาลาลที่มีศักยภาพไปยังตลาดโลกมุสลิม ตามนโยบายรัฐบาลที่ต้องการยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรให้มีรายได้เพิ่มขึ้น 3 เท่าในระยะ 4 ปี โดยในระยะแรกตั้งเป้าหมายให้มีโคในพื้นที่เพิ่มขึ้น 3,000 ตัว และตลอดโครงการจะมีโคที่พร้อมออกสู่ตลาดฮาลาล ไม่น้อยกว่า 50,000 ตัว

ไชยา กล่าวว่า การลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมโครงการในครั้งนี้ เพื่อให้กำลังใจและรับฟังปัญหาของพี่น้องเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากโครงการโคบาลชายแดนใต้ ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรฯ มุ่งหวังให้อาชีพการเลี้ยงปศุสัตว์เป็นอาชีพหลัก ที่สามารถสร้างรายได้ให้เกษตรกร สร้างโอกาสทางเศรษฐกิจ ลดความเหลื่อมล้ำ พร้อมผลักดันให้คุณภาพชีวิตของเกษตรกร ดียิ่งขึ้น โดยมอบนโยบายให้กรมปศุสัตว์ดูแลการตรวจรับแม่โคให้ตรงตามคุณลักษณะปลอดโรค ปลอดภัย เป็นแม่โคพร้อมท้อง และมีเอกสารรองรับที่มาของโค พร้อมแก้ไขปัญหาโคที่ไม่ตรงคุณลักษณะตามตกลงให้ถูกต้อง เพื่อลดปัญหาการแบกรับลดทุนของเกษตรกรและให้การดำเนินโครงการในระยะถัดไปเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งหากโคตัวใดที่ตรวจรับแล้ว มีปัญหาสามารถส่งเคลมกับฟาร์มที่จำหน่ายได้ตามเงื่อนไขสัญญา หรือหากเกษตรกรต้องการจัดซื้อโคด้วยตนเอง สามารถทำได้เช่นกัน อาทิ การซื้อโคจากฟาร์มปลอดโรคที่ได้รับการตรวจจากกรมปศุสัตว์แล้วที่จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และชุมพร สำหรับพี่น้องเกษตรกรที่ต้องการจัดทำธนาคารโค-กระบือขอให้กรมปศุสัตว์ดูแลในส่วนนี้รวมถึง พร้อมนำแนวทางการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมทำอาหารแปรรูปส่งตะวันออกกลางที่ตัวแทนเกษตรกรเสนอนำเรียนให้นายกรัฐมนตรีทราบ

ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรฯ จะมีการประชุมหารือเกี่ยวกับโครงการโคบาลชายแดนใต้ร่วมกับศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนใต้ (ศอ.บต.) และกระทรวงมหาดไทย ในช่วงสัปดาห์นี้ อีกด้วย

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่