หน้าแรก Voice TV ส่องเวอร์ชันภูมิใจไทย ร่างกฎหมาย 'ยกเลิก' คำสั่ง คสช.

ส่องเวอร์ชันภูมิใจไทย ร่างกฎหมาย 'ยกเลิก' คำสั่ง คสช.

80
0
ส่องเวอร์ชันภูมิใจไทย ร่างกฎหมาย-'ยกเลิก'-คำสั่ง-คสช.

ส่อง ‘ร่าง พ.ร.บ.ยกเลิกประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ พ.ศ. …’ ของพรรคภูมิใจไทย

‘ร่าง พ.ร.บ.ยกเลิกประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ พ.ศ. …’ คือร่างของพรรคภูมิใจไทย ที่ยื่นต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร วันที่ 5 มกราคม 2567 

ร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ ให้เหตุผลโดยสรุปว่า คณะรักษาคามสงบแห่งชาติ (คสช.)  ได้ทำการรัฐประหารและยกเลิกรัฐธรรมนูญ 2550 มื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และได้ออกประกาศและคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติหลายฉบับ ที่มีเนื้อหาจำกัดสิทธิเสรีของประชาชน อาทิ เสรีภาพในการชุมนุม การนำเสนอข่าวของสื่อมวลชน การเรียกไปรายงายนตัว การกักตัว สิทธิในที่ดินทำกินและสิทธิชุมชน ฯลฯ 

นอกจากนี้ยังระบุว่า เนื่องจากรัฐธรรมนูญ 2560 บังคับใช้แล้ว แต่บรรดาคำสั่งและประกาศของ คสช. ก็ยังมีผลบังคัลใช้อยู่ อีกทั้งต่อมา หัวหน้า คสช. ยงใช้มาตรา 44 ออกคำสั่งหัวหน้า คสช. จำนวนมาก ซึ่งประกาศและคำสั่งเหล่านี้ขัดแย้งต่อรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน 

ร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ จึงเขียนไว้ในมาตรา 3  ให้ยกเลิกประกาศประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ คำสั่งคณะรักษาความสงบและแห่งชาติ และคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ทั้งสิ้น 71 ฉบับ 

โดยในวันที่ ร่าง พ.ร.บ.บังคับใช้ ให้จำหน่ายคดีทั้งหมด (ที่เกี่ยวข้องกับคำสั่งและประกาศ 71 ฉบับ) และให้ถือว่าจำเลยที่เคยต้องคำพิพากษาตามประกาศและคำสั่งที่ถูฏยกเลิก ไม่มีความผิด 

ส่วนในมาตรา 5 ระบุใจความว่า พลเรือนที่ถูกพิจารณาโดยศาลทหาร ที่มีคำพิพากษาเป็นที่สุดแล้ว หากต้องการให้ศาลยุติธรรมพิจารณาคดีใหม่ ให้ยื่นคำร้องต่อศาลยุติธรรมที่มีเขตอำนาจภายใน 30 วัน หากไม่ยื่นในเวลาดังกล่าว ให้ถือว่าคำพิพากษาของศาลทหารเป็นที่สุดแล้ว 

และหากประชาชนทีคดียังอยู่ระหว่างพิจารณา มาตรา 6 ของ ร่าง พ.ร.บ. นี้ก็เขียนไว้ว่า ให้โอนย้ายคดีมาอยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม โดยกระบวนการพิจารณาคดีภายใต้ศาลทหารที่ได้ทำไปแล้วไม่เสียไป เว้นแต่ว่าจำเลยร้องขอให้ศาลยุติธรรมเริ่มกระบวนการพิจารณาคดีใหม่ทั้งหมด

สฤษฏ์พงษ์ เกี่ยวข้อง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) จังหวัดกระบี่ พรรคภูมิใจไทย ผู้ยื่นร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าวต่อประธานสภา ระบุว่า จากการศึกษาประกาศ และคำสั่ง คสช. มีทั้งหมด 240 ฉบับ การยกเลิกต้องออกเป็นกฎหมาย ซึ่งจะมีทั้งสิ้น 71 ฉบับ โดยศักดิ์ของกฎหมาย คำสั่ง และ ประกาศของ คสช. เทียบเท่ากับพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ดังนั้น ถ้าจะยกเลิกจะต้องทำเป็น พ.ร.บ. โดยจากการศึกษา พบว่า คำสั่งของ คสช. ที่จะบังคับใช้เป็นกฎหมายต่อไปนั้นมีทั้งหมด 37 ฉบับ ที่ต้องออกเป็นพระราชกฤษฎีกาและกฎกระทรวงอย่างละ 2 ฉบับ เป็นมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) 55 เรื่อง

“ร่างพระราชบัญญัตินี้ กำหนดให้มีผลย้อนหลังด้วย เช่น ถ้ามีคนติดคุกไปแล้วจากคำสั่งหรือประกาศของ คสช. ก็ต้องปล่อย หรืออย่างกรณีของศาลทหาร หากมีการพิจารณาสิ้นสุดไปแล้ว ก็จบกันไป แต่ในกรณีที่ยังอยู่ระหว่างการพิจารณา ก็สามารถโอนย้ายถ่ายอำนาจจากศาลทหารมาที่ศาลยุติธรรมจังหวัดได้” สฤษฏ์พงษ์  กล่าว

สำหรับ ประกาศและคำสั่งของคณะ คสช. และหัวหน้า คสช. 71 ฉบับดังกล่าว  เมื่อเราลองนำไปเทียบกับ ร่าง พ.ร.บ.ยกเลิกประกาศและคำสั่ง คสช. ฯ (ฉบับประชาชน) หรือที่เรียกว่า ‘กฎหมายปลดอาวุธ คสช.’ เสนอโดยนายจอน อึ๊งภากรณ์ ผู้อำนวยการไอลอว์ กับประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวน 12,609  ที่เคยเสนอเข้าสู่สภาเมื่อปี 2564 พบว่า มีอย่างน้อย คำสั่งหัวหน้า คสช. ในประเด็นที่เกี่ยวข้องสิทธิชุมชนและสิ่งแวดล้อม 6 ฉบับที่เคยถูกเสนออยู่ในร่าง พ.ร.บ. ฉบับประชาชน กลับไม่มีอยู่ในร่าง พ.ร.บ. ฉบับภูมิใจไทย ได้แก่

  1. 3/2559 เรื่องการยกเว้นการ บังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการผังเมืองและกฎหมายว่าด้วยการควบคุม อาคารในพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ
  2. 4/2559 เรื่องการยกเว้นการบังคับใช้ กฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมสาหรับการประกอบกิจการ บางประเภท
  3. 9/2559 เรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่า ด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
  4. 31/2560 เรื่องการใช้ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมให้เกิดประโยชน์ สูงสุดแก่เกษตรกรและประโยชน์สาธารณะของประเทศ
  5. 46/2560 เรื่อง การจัดตั้งสำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
  6. 47/2560 ข้อกาหนดการใช้ประโยชน์ ในที่ดินในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก

อย่างไรก็ดี วานนี้ (5 ก.พ. 2567) ครูมานิตย์ สังข์พุ่ม สส.สุรินทร์ พรรคเพื่อไทย ในฐานะรองประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล ได้กล่าวถึง กรณีที่พรรคภูมิใจไทย ยื่นร่าง พ.ร.บ.ยกเลิกคำสั่ง คสช. ที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนและหลักประชาธิปไตย โดยระบุว่า ในส่วนของพรรคเพื่อไทยจะมีการยื่นร่างประกบด้วยเช่นกัน 

ทั้งนี้ ประกาศและคำสั่ง คสช.  หลายฉบับ มีเนื้อหาจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชน เพื่อควบคุมการต่อต้านในจังหวะที่เข้ายึดอำนาจ เมื่อบ้านเมืองเข้าสู่ภาวะปกติ เสรีภาพจะคืนสู่ความปกติด้วยหรือไม่  เรื่องนี้เราคงต้องต้องติดตามกันต่อไปว่า มรดกประกาศและคำสั่ง คสช. และคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ยังม่ถูกยกเลิก แถมถูกรับรองตามรัฐธรรมนูญ 2560 ในมาตรา 279 ให้คำสั่งดังกล่าวมีสถานะเทียบเท่ากฎหมายและมีผลบังคับใช้อยู่นั้น จะเป็นอย่างไรต่อไปในรัฐบาลชุดนี้ 

123456

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่