หน้าแรก Thai PBS เปิดฉากฝึกคอบร้าโกลด์ 2024 ชูซอฟต์พาวเวอร์ “มวยไทย” ร่วมฝึก

เปิดฉากฝึกคอบร้าโกลด์ 2024 ชูซอฟต์พาวเวอร์ “มวยไทย” ร่วมฝึก

87
0
เปิดฉากฝึกคอบร้าโกลด์-2024-ชูซอฟต์พาวเวอร์-“มวยไทย”-ร่วมฝึก

วันนี้ (24 ก.พ. 2567) นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกกระทรวงกลาโหมฝ่ายการเมือง กล่าวว่า ในวันจันทร์ที่ 26 ก.พ.นี้ จะมีการฝึกคอบร้าโกลด์ 2024 ครั้งที่ 43 ซึ่งปีนี้กองทัพของไทยได้ขานรับนโยบาย ซอฟต์พาวเวอร์ของรัฐบาล ให้นำวัฒนธรรมประเพณีของไทย เช่น การต่อสู้มวยไทย ฯลฯ เข้าไปร่วมในการฝึกครั้งนี้ เพราะนอกจากการฝึกทางทหารแล้วประเทศไทยต้องได้การส่งเสริมเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวอีกด้วย

โดยเฉพาะพื้นที่การท่องเที่ยว เช่น พัทยา จอมเทียน บางเสร่ และพื้นที่ท่องเที่ยวอื่น ๆ ในภาคตะวันออก และภาคกลางที่ใช้ในการฝึก ซึ่งทหารกว่าหมื่นนายจาก 30 ประเทศ จะได้นำกลับไปประชาสัมพันธ์เรื่องการท่องเที่ยวไทยได้อีกด้วย โดยการฝึกครั้งนี้มีระยะเวลา กว่า 12 วัน ตั้งแต่ 26 ก.พ. – 8 มี.ค.2567 ซึ่งเป็นการฝึกเต็มรูปแบบ หลังจากลดขนาดการฝึกในช่วงโควิดไป กว่า3 ปี

นายจิรายุ ย้ำว่า การฝึกคอบร้าโกลด์ 2024 เป็นการฝึกร่วมผสมทางทหารขนาดใหญ่และมีประวัติยาวนานที่สุดการฝึกหนึ่ง ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งกองทัพไทย และกองกำลังสหรัฐฯ ภาคพื้นอินโดแปซิฟิก ร่วมกันเป็นเจ้าภาพจัดการฝึกในประเทศไทยเป็นประจำทุกปี

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง: สถาบันพระบรมราชชนก แจง เรียนพยาบาล 2 ปีครึ่ง ไม่แตกต่าง 4 ปี

โดยมีประเทศเข้าร่วมการฝึกหลักจำนวน 7 ประเทศ ประกอบด้วย ไทย สหรัฐฯ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี และ มาเลเซีย นอกจากนี้ ยังมีประเทศที่เข้าร่วมการฝึกเพิ่มเติมในโครงการช่วยเหลือประชาชนอีก 2 ประเทศ ได้แก่ จีน และ อินเดีย ส่วนประเทศที่เข้าร่วมการฝึกเพิ่มเติมในการฝึกการควบคุมและบังคับบัญชา คือ ออสเตรเลีย

สำหรับกลุ่มประเทศที่หมุนเวียนเข้าร่วมกิจกรรม ได้แก่ ประเทศในโครงการเสนาธิการผสมส่วนเพิ่มนานาชาติ จำนวน 10 ประเทศ ประกอบด้วย บังกลาเทศ แคนาดา ฝรั่งเศส มองโกเลีย เนปาล นิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์ ฟิจิ สหราชอาณาจักร และบรูไน และประเทศที่เข้าร่วมในโครงการสังเกตการณ์ฝึก (Combined Observer Liaison Team : COLT) จำนวน 10 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา ลาว บราซิล ปากีสถาน เวียดนาม เยอรมนี สวีเดน สาธารณรัฐเฮลเลนิก (กรีซ) คูเวต และ ศรีลังกา รวม 30 ประเทศ มีผู้เข้าร่วมการฝึก 9,590 นาย

การฝึกนอกจาก พัฒนาความสัมพันธ์ทางทหารที่ดี ระหว่างมิตรประเทศที่เข้าร่วมการฝึก ยังพัฒนาขีดความสามารถในการอำนวยการยุทธ์ร่วมและผสม โดยการประยุกต์ ใช้กำลังรบในสถานการณ์วิกฤตต่าง ๆ อีกทั้ง ยังเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศไทยในสายตามิตรประเทศและประชาคมโลกต่อไป

นอกจากนี้ยังเป็นการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ส่งเสริมการใช้จ่ายให้กับพื้นที่และชุมชนที่มีกองทัพมิตรประเทศเข้าร่วมการฝึก ตลอดจนส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทย 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง : “ซิฟิลิส-หนองใน” ระบาด กรมควบคุมโรคเตือนเยาวชน

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่