หน้าแรก Voice TV ‘เสริมศักดิ์’ นำทีม วธ. เดินหน้าคุ้มครองสิทธิชาติพันธุ์ สถาปนาพื้นที่คุ้มครองฯ บ้านทับปลา – ลำปี จ.พังงา

‘เสริมศักดิ์’ นำทีม วธ. เดินหน้าคุ้มครองสิทธิชาติพันธุ์ สถาปนาพื้นที่คุ้มครองฯ บ้านทับปลา – ลำปี จ.พังงา

59
0
‘เสริมศักดิ์’-นำทีม-วธ-เดินหน้าคุ้มครองสิทธิชาติพันธุ์-สถาปนาพื้นที่คุ้มครองฯ-บ้านทับปลา-–-ลำปี-จ.พังงา

‘เสริมศักดิ์’ นำทีม วธ. เดินหน้าคุ้มครองสิทธิชาติพันธุ์ สถาปนาพื้นที่คุ้มครองฯ บ้านทับปลา – ลำปี จ.พังงา

หลังจากที่สภาผู้แทนราษฎรได้มีมติรับหลักการร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ พ.ศ. …. ไปแล้วเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567 เสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ยังเดินหน้าสร้างความมั่นใจกับพี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์ถึงความตั้งใจของรัฐบาลที่จะให้การคุ้มครองและส่งเสริมศักยภาพกลุ่มชาติพันธุ์ให้อยู่อย่างมีเกียรติ มีศักดิ์ศรี มีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยสถาปนาเขตพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ ให้เป็นพื้นที่รูปธรรมต้นแบบตามหลักการที่บัญญัติไว้ในร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ พ.ศ. … ที่กระทรวงวัฒนธรรม โดย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เสนอ 

เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2567 นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เดินทางไปเป็นประธานงานสถาปนาพื้นทึ่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล ณ ชุมชนชาวมอแกลน บ้านทับปลา – ลำปี     ต.ท้ายเหมือง อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา พร้อมรับฟังสถานการณ์ปัญหาของพี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลอันดามันทั้ง 3 กลุ่ม คือ กลุ่มชาติพันธุ์มอแกน มอแกลน และอูรักลาโว้ย ที่มาร่วมงาน เพื่อเป็นข้อมูลขับเคลื่อนแนวนโยบายฟื้นฟูวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล และกฎหมายชาติพันธุ์ เพื่อคุ้มครองสิทธิทุกกลุ่มวัฒนธรรมด้วยความเท่าเทียมอย่างเป็นธรรม 

IMG_1724.jpeg

โอกาสนี้ เสริมศักดิ์ พงษ์พานิช ได้กล่าวว่า “การประกาศเขตพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี 2 มิถุนายน 2553 ว่าด้วยแนวนโยบายฟื้นฟูวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอ โดยเป็นแนวทางคุ้มครอง “สิทธิทางวัฒนธรรม” ของกลุ่มชาติพันธุ์ ด้วยการสนับสนุนและส่งเสริมให้ชุมชนชาติพันธุ์ในฐานะ “ชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม” มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอย่างสมดุลและยั่งยืน เพื่อให้พี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์มีความมั่นคงในชีวิต มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี พึ่งตนเองได้ มีคุณภาพชีวิตที่ดีบนฐานเศรษฐกิจ กระทรวงวัฒนธรรม เห็นว่า การกำหนดเขตพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์เป็นรูปธรรมของการพัฒนาอย่างยั่งยืนด้วยมิติวัฒนธรรม ที่ทำให้ชุมชนชาติพันธุ์มีความมั่นคงในชีวิต และลดความขัดแย้งในพื้นที่ จึงกำหนดไว้เป็นสาระสำคัญในร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ พ.ศ. …. ที่กระทรวงวัฒนธรรม โดย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เสนอและสภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณารับหลักการไปแล้วเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567 ในวันนี้ผมจึงได้มาร่วมกับพี่น้องชาวมอแกลนบ้านทับปลา – ลำปี สถาปนาเขตพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล ให้เป็นพื้นที่ต้นแบบที่จะเป็นตัวอย่างรูปธรรให้เห็นถึงแนวทางในการคุ้มครองสิทธิและส่งเสริมศักยภาพของพี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์อย่างยั่งยืน และผมถือโอกาสนี้มายืนยันกับพี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์อีกครั้งว่ารัฐบาลนี้พร้อมเดินหน้าคุ้มครองพี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์ทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรมโดยจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง”

IMG_1723.jpeg

ด้าน อุไรวรรณ แดงงาม วัฒนธรรมจังหวัดพังงา กล่าวว่า “สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพังงา ได้ร่วมกับชุมชนชาวมอแกลนบ้านทับปลา – ลำปี เตรียมความพร้อมสถาปนาเขตพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่ม   ชาติพันธุ์ชาวเลมาตั้งแต่ปี 2565 โดยร่วมกับชุมชนสำรวจ รวบรวมและจัดทำข้อมูลประวัติศาสตร์และ วิถีวัฒนธรรมของชุมชน และร่วมกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องสำรวจเขตพื้นที่และจัดทำแผนบริหารจัดการพื้นที่แบบมีส่วนร่วม มีการจัดประชาคมทำกติกาชุมชน ซึ่งชุมชนชาวมอแกลนบ้านทับปลา – ลำปี ถือเป็นชุมชนมีมีความพร้อมทุกด้านที่จะสถาปนาเป็นเขตพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล ทั้งความพร้อมในเชิงศักยภาพที่ชุมชนมีการบริหารจัดการที่ดีบนฐานวัฒนธรรม และความพร้อมในเชิงการเป็นชุมชนต้นแบบที่มีการจัดกระบวนการเรียนรู้ในชุมชนอย่างเป็นระบบ จึงรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรรมให้เกียรติมาเป็นประธานในการประกาศให้ชุมชนชาวมอแกลนบ้านทับปลา – ลำปี เป็นเขตพื้นที่คุ้มครอง    วิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล ในวันนี้” 

IMG_1725.jpeg

บ้านทับปลา – ลำปี เป็นชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ชาวมอแกลน ที่มีประวัติศาสตร์การตั้งถิ่นฐานอยู่ใน    อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา มาไม่น้อยกว่า 13 ชั่วอายุคน เป็นชุมชนดั้งเดิมที่ยังคงดำรงวิถี “ทะเลหมุนเวียน” ตามภูมิปัญญา ด้วยการเกษตรและการทำประมงที่เอื้อต่อการหมุนเวียนตามวัฏจักรของธรรมชาติ ป่าชายเลน ทะเล และป่าไม้ รวมทั้งยังคงสืบทอด ประเพณี พิธีกรรมตามวัฒนธรรมอย่างเคร่งครัด เคารพพื้นที่ป่าและทะเลแห่งจิตวิญญาณ จัดการชุมชนแบบบูรณาการที่คำนึงถึงสิทธิเชิงร่วมหรือสิทธิหน้าหมู่ของชุมชน ถือเป็นชุมชนเข้มแข็งมีความสามารถบริหารจัดการชุมชนแบบมีส่วนร่วม และทุกภาคทั้งคนในชุมชนและองค์กรภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องได้ขับเคลื่อนร่วมกันประกาศให้ชุมชนมอแกลนบ้านทับปลา – ลำปี เป็นเขตพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ ลำดับที่ 21 ตามมติคณะรัฐมนตรี 2 มิถุนายน 2553 ว่าด้วยแนวนโยบายฟื้นฟูวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล และเป็นการสร้างพื้นที่รูปธรรมต้นแบบขับเคลื่อนเขตพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งเป็นหลักการสำคัญที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอให้มีการกำหนดไว้ในร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่