หน้าแรก Voice TV อดีต สส. ปชป. หนุนอุทธรณ์คดีโรดโชว์ งัด ม.103/7 กฎหมาย ป.ป.ช. ปี 54 เอาผิด

อดีต สส. ปชป. หนุนอุทธรณ์คดีโรดโชว์ งัด ม.103/7 กฎหมาย ป.ป.ช. ปี 54 เอาผิด

73
0
อดีต-สส-ปชป-หนุนอุทธรณ์คดีโรดโชว์-งัด-ม103/7-กฎหมาย-ปปช.-ปี-54 เอาผิด

‘ชาญชัยง งัด ม.103/7 กฎหมายป.ป.ช.ปี54 หนุนอุทธรณ์คดี ‘โรดโชว์ รัฐบาลยิ่งลักษณ์’ ใช้งบฯกลาง 240 ล้าน

9 มี.ค. 2567 ชาญชัย อิสระเสนารักษ์ อดีต สส.นครนายก พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) กล่าวว่า ในฐานะที่ตนเคยเป็นอดีตคณะกรรมาธิการ(กมธ.)วิสามัญพิจารณาพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ปีพ.ศ.2552 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่2พ.ศ2554 และเป็นผู้เสนอยกร่างมาตรา103/7 พร้อมคณะกมธ.ชุดดังกล่าว ขอชี้แจงถึงความสำคัญของ มาตรา103/7 ที่บรรดานักการเมืองและข้าราชการเกรงกลัวกฎหมายมาตรานี้ เพราะมีความสำคัญและเคยถูกใช้ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ น.ส.ยิ่งลักษณ์ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในยุคนั้น จนเป็นที่มาของการถอดถอนให้พ้นจากตำแหน่งและถูกดำเนินคดีอาญาตามกฏหมาย ป.ป.ช.มาแล้ว

“โดยมาตรา 103 / 7 บัญญัติไว้ว่า ’ให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการจัดทำข้อมูลรายละเอียดค่าใช้จ่าย เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง โดยเฉพาะราคากลางและการคำนวณราคากลางไว้ในระบบข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าตรวจดูได้  

เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ในกรณีที่มีการทำสัญญาระหว่างหน่วยงานของรัฐกับบุคคล หรือนิติบุคคลที่เป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ ให้บุคคล หรือนิติบุคคลที่เป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐนั้น มีหน้าที่แสดงบัญชีรายการรับจ่ายของโครงการที่เป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐต่อกรมสรรพากร  นอกเหนือจากบัญชีงบดุลปกติที่ยื่นประจำประจำปีเพื่อให้มีการตรวจสอบเกี่ยวกับการใช้จ่ายเงินและการคำนวณภาษีเงินได้ในโครงการที่เป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐดังกล่าว ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กำหนด กำหนด‘ จะเห็นได้ว่ากฎหมายป.ป.ช.มาตรานี้ ระบุชัดในวรรคที่สอง เพื่อเป็นการตรวจสอบเส้นทางการเงินทั้งของข้าราชการที่มีอำนาจในการใช้งบฯจัดซื้อจัดจ้าง และผู้ประมูลงานก่อสร้าง หรืองานอื่นของรัฐ โดยต้องสั่งจ่ายเงินเป็นเช็ค หรือโอนผ่านสถาบันการเงินพร้อมระบุชื่อผู้จ่ายเงิน ผู้รับเงิน โดยห้ามเบิกจ่ายเป็นเงินสด เพื่อป้องกันและตรวจสอบการทุจริต ฮั้วประมูลงาน หรือการกระทำทุจริตผิดกฎหมาย” ชาญชัย กล่าว

ชาญชัย กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ มาตรา 103/7 วรรคสี่ ยังกำหนดให้หน่วยงานรัฐทุกหน่วยที่จะจัดซื้อจัดจ้างต้องโชว์ราคากลางและวิธีการคำนวณภายใน6 เดือนหรือ 180 วัน โดยสำนักงาน ป.ป.ช. ได้มีหนังสือ ป.ป.ช.ที่ 0028/0093 ลงวันที่ 9 พ.ย.2554 แจ้งเพื่อให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกฯ ขณะนั้นรับทราบว่า กฎหมายป.ป.ช.ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมปี2554 มาตรา 103/7 และ103/8 มีผลบังคับใช้แล้ว การเปิดประมูลงานของรัฐเพื่อใช้งบประมาณแผ่นดิน ต้องมีการโชว์ราคากลางและวิธีการคำนวนให้ประชาชนรับทราบภายใน180 วันตามกฎหมายกำหนด  แต่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีได้มีหนังสือ ด่วนที่สุด ที่นร.0505/ว 265 วันที่ 16 ธ.ค. 2554 (หน้า2)แจ้งกลับมาว่า คณะรัฐมนตรีไม่พร้อมปฏิบัติตามกฎหมาย ป.ป.ช. โดยอ้างว่า เป็นอุปสรรคต่อการบริหารราชการแผ่นดินและไม่สอดคล้องกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535    ต่อมา ทางป.ป.ช. ได้มีหนังสือแจ้งกลับถึงสำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง เมื่อวันที่ 21 ก.พ. 2555 เรื่องการทบทวนมติคณะรัฐมนตรี โดยย้ำว่ากฎหมายดังกล่าวได้ผ่านการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรและมีผลบังคับใช้กับทุกหน่วยงานของรัฐแล้วจึงจำเป็นต้องปฏิบัติตามโดยเคร่งครัดไม่เช่นนั้นจะถือว่าจงใจทำผิดกฎหมายป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ 

“จากนั้นวันที่ 16 มี.ค. 2555 สำนักเลขาธิการนายกฯได้ทำหนังสือถึงเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเรื่องการทบทวนมติคณะรัฐมนตรี(ครม.) โดยส่งสำเนาหนังสือของสำนักงาน ป.ป.ช. ด่วนที่สุดที่ ปช.0028/0015 วันที่21 ก.พ. 2554 อ้างถึงประธานกรรมการ ป.ป.ช. กราบเรียนนายกฯ เพื่อพิจารณานำเสนอ ครม.พิจารณาทบทวนมติ ครม. เมื่อวันที่ 13 ธ.ค. 2554 ให้หน่วยงานของรัฐต้องทำตามกฎหมาย ป.ป.ช.ในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดซื้อ จัดจ้าง ซึ่งสำนักงานเลขาธิการนายกฯ ได้กราบเรียนนายกรัฐมนตรีเพื่อทราบแล้วจึงส่งเรื่องมาเพื่อสำนักงานเลขาธิการ ครม. พิจารณาขอความเห็นในเรื่องนี้ต่อกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา จากนั้น ครม. ได้มีมติเมื่อ 12 ก.พ. 2556 เห็นชอบให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ป.ป.ช. พ.ศ.2554 มาตรา103/7และ103/8 โดยการเปิดเผยราคากลางและวิธีการคำนวณราคาในการจัดซื้อจัดจ้างตามที่ ป.ป.ช.และกระทรวงการคลังเสนอ แต่ ปรากฏว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ นายกรัฐมนตรีขณะนั้น ได้มอบหมายให้เลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ลงนามว่าจ้างบริษัทเอกชนสองแห่งใช้งบกลางในการจัดโรดโชว์เมื่อวันที่ 1 ต.ค. 2556 ตามที่ปรากฏเป็นข่าวโดยไม่ได้ปฎิบัติตามกฏหมายป.ป.ช. ปี 2554 มาตรา103/7 ที่ตัวเองมีหนังสืออนุมัติให้ปฏิบัติตามกฎหมายเมื่อเดือนส.ค. 2556 แต่กลับประกาศข้อมูลภายหลังจากที่ทำสัญญาว่าจ้างงานบริษัทเอกชนไปแล้ว ก่อนถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลยุคนั้น เพียงวันเดียวคือ วันที่ 26 พ.ย. 2556“ ชาญชัย กล่าว

ชาญชัย ทิ้งทายว่า ขอให้ติดตามตอนต่อไปว่า ทำไม แม้แต่ทหารที่ปฏิวัติยึดอำนาจมา ยังกลัวกฎหมายดีๆมาตรานี้ แม้ร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับปราบโกง แต่กลับสั่งยกเลิกการบังคับใช้มาตรานี้ออกจาก กฎหมายป.ป.ช. ปัจจุบัน

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่