หน้าแรก Thai PBS 19 วันภารกิจ “กู้เรือหลวงสุโขทัย” ไม่พบ 5 ชีวิตผู้สูญหาย

19 วันภารกิจ “กู้เรือหลวงสุโขทัย” ไม่พบ 5 ชีวิตผู้สูญหาย

83
0
19-วันภารกิจ-“กู้เรือหลวงสุโขทัย”-ไม่พบ-5-ชีวิตผู้สูญหาย

ภายหลังปฏิบัติการสำรวจเรือหลวงสุโขทัยแบบจำกัด ระหว่างกองทัพสหรัฐ กับกองทัพเรือไทย บนเรือ Ocean Valor ซึ่งเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่วันที่ 22 ก.พ.จนถึงวันที่ 11 มี.ค.รวมภารกิจ 19 วัน โดยเป็นการปฏิบัติการค้นหาและปลดวัตถุอันตรายเรือหลวงสุโขทัย มีภารกิจในการค้นหาผู้สูญหายบริเวณรอบตัวเรือ และการตัดโซ่สมอเรือ

หากไล่เรียงไทม์ไลน์ในช่วงที่ผ่านมา ในเกือบ 2 สัปดาห์ ทีมไทย-สหรัฐฯ ประสบความสำเร็จในการเข้าถึงเรือหลวงสุโขทัยที่อับปางลงใต้ทะเลอ่าวไทย อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ มากว่า 1 ปี แม้จะไม่พบผู้สูญหายอีก 5 ชีวิต เพิ่มเติมจาก 24 ชีวตที่ส่งคืนสู่อ้อมกอดของครอบครัว

1-2 มี.ค.2567

การปฏิบัติการค้นหา และปลดวัตถุอันตรายเรือหลวงสุโขทัย วันที่ 10 ชุดปฏิบัติการได้ทำการถอดถอนปืนกลขนาด 20 มิลลิเมตร ขึ้นบนเรือหลวงมันใน ขณะช่วงเช้ามีการลำเลียงท่อยิงอาวุธปล่อยนำวิถีฮาร์พูน และแท่นยิงตอร์ปิโดจากเรือ Ocean Valor ไปยังกรมสรรพาวุธทหารเรือ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี

6-7 มี.ค.2567

การปฏิบัติการค้นหาและปลดวัตถุอันตรายเรือหลวงสุโขทัย วันที่ 15
ชุดปฏิบัติการร่วมดำน้ำ จำนวน 5 เที่ยว โดยมีภารกิจในการค้นหาผู้สูญหาย การสำรวจ และถอดถอนยุทโธปกรณ์ในห้องวิทยุ สามารถถอดและปลดขีดความสามารถยุทโธปกรณ์ต่าง ๆ ได้แก่ อุปกรณ์ระบบวิทยุ 3 ชิ้น เครื่องรับ–ส่งวิทยุ 4 เครื่อง เครื่อง LAPTOP 1 เครื่อง จอแสดงผลเครื่อง ESM L3 Exellis และปลดขีดความสามารถสามารถของเครื่องมือสื่อสารในห้องวิทยุ 

ถอดและปลดขีดความสามารถยุทโธปกรณ์ต่างๆ ได้แก่ อุปกรณ์ระบบวิทยุ 3 ชิ้น เครื่องรับ–ส่งวิทยุ 4 เครื่อง เครื่อง LAPTOP 1 เครื่อง (โฆษกกองทัพเรือ)

ถอดและปลดขีดความสามารถยุทโธปกรณ์ต่างๆ ได้แก่ อุปกรณ์ระบบวิทยุ 3 ชิ้น เครื่องรับ–ส่งวิทยุ 4 เครื่อง เครื่อง LAPTOP 1 เครื่อง (โฆษกกองทัพเรือ)

5 มี.ค.2567

การปฏิบัติการค้นหาและปลดวัตถุอันตรายเรือหลวงสุโขทัย เป็นวันที่ 13 สามารถปลดขีดความสามารถเครื่องควบคุมการยิงตอร์ปิโด MK309 และแผงควบคุมการยิงอาวุธปล่อยนำวิถีฮาร์พูนสำเร็จ ผลการปฏิบัติ ไม่พบผู้สูญหาย พบเสื้อชูชีพ 1 ตัว บริเวณทางเดินไปยังห้องศูนย์ยุทธการ 

3 มี.ค.2567 

การปฏิบัติการค้นหาและปลดวัตถุอันตรายเรือหลวงสุโขทัย วันที่ 11 ชุดปฏิบัติการค้นหาในห้องศูนย์ยุทธการ ภายในเรือยังไม่พบผู้สูญหาย มีการดำน้ำ 4 เที่ยว การสำรวจและถอดถอนยุทโธปกรณ์ในห้องศูนย์ยุทธการ สามารถนำเครื่องบันทึกภาพดิจิทัล (Digital Video Recorder: DVR) ขึ้นเรือ Ocean Valor เพื่อส่งให้คณะกรรมการสอบสวนฯ แต่ยังไม่สามารถปลดขีดความสามารถเครื่องควบคุมการยิงตอร์ปิโดในห้องศูนย์ยุทธการได้ 

 ถอดถอนแท่นยิงตอร์ปิโดกราบซ้าย 3 ท่อยิงขึ้นบนผิวน้ำ (ภาพโฆษกกองทัพเรือ)

ถอดถอนแท่นยิงตอร์ปิโดกราบซ้าย 3 ท่อยิงขึ้นบนผิวน้ำ (ภาพโฆษกกองทัพเรือ)

8 มี.ค.2567 

การปฏิบัติการค้นหาและปลดวัตถุอันตรายเรือหลวงสุโขทัย วันที่ 16
ชุดปฏิบัติการดำเนินการตัดเสากระโดงเรือ ร.ล.สุโขทัย ขึ้นสู่เรือ Ocean Valor ได้สำเร็จ กำลังพลทุกนายปลอดภัย

10 มี.ค.2567 

การปฏิบัติการค้นหาและปลดวัตถุอันตรายเรือหลวงสุโขทัย วันที่ 18
สามารถตัดโซ่สมอเรือขวาได้สำเร็จ ดำน้ำ 2 เที่ยวค้นหาผู้สูญหายบริเวณรอบตัวเรือ การนำสิ่งของที่มีคุณค่า และสิ่งระลึกขึ้น รวมทั้งสมอเรือขวาขึ้นบนเรือ Ocean Valor 

ถอดป้ายชื่อเรือหลวงสุโขทัย (ภาพโฆษกกองทัพเรือ)

ถอดป้ายชื่อเรือหลวงสุโขทัย (ภาพโฆษกกองทัพเรือ)

9 มี.ค.2567 

การปฏิบัติการค้นหาและปลดวัตถุอันตรายเรือหลวงสุโขทัย วันที่ 17
ชุดปฏิบัติการร่วมของกองทัพเรือไทยและกองทัพเรือสหรัฐ สามารถตัดโซ่และยกสมอเรือซ้าย นำขึ้นเรือ Ocean Valor เรียบร้อย 

29 ก.พ.2567

วันที่ 8 ของการปฏิบัติการค้นหาและปลดวัตถุอันตรายเรือหลวงสุโขทัย สามารถถอดถอนแท่นยิงตอร์ปิโดกราบขวา (3 ท่อยิง) ขึ้นบนเรือ Ocean Valor ได้สำเร็จ และถอดถอนระบบจำลองลูกอาวุธปล่อยนำวิถีได้สำเร็จ 

28 ก.พ.2567 

การปฏิบัติการค้นหาและปลดวัตถุอันตรายเรือหลวงสุโขทัย วันที่ 7 สามารถถอดถอนแท่นยิงตอร์ปิโดกราบซ้าย 3 (ท่อยิง) ขึ้นบนผิวน้ำได้สำเร็จ
(3 ท่อยิง) ขึ้นบนเรือ Ocean Valor ได้สำเร็จ 

บริเวณทางเข้าประตูทางเข้าห้องเครื่องจักรใหญ่จากทางท้ายเรือ (โฆษกกองทัพเรือ)

บริเวณทางเข้าประตูทางเข้าห้องเครื่องจักรใหญ่จากทางท้ายเรือ (โฆษกกองทัพเรือ)

26 ก.พ.2567

การปฏิบัติการค้นหาและปลดวัตถุอันตรายเรือหลวงสุโขทัย วันที่ 5 ยังไม่พบร่างกำลังพลที่สูญหาย จากการดำน้ำ 4 เที่ยว มีภารกิจค้นหาผู้สูญหาย และตรวจสอบหลักฐานประกอบการสอบสวน บริเวณต่างๆ ภายในตัวเรือ  เที่ยวที่ 1 บริเวณทางเข้าประตูทางเข้าห้องเครื่องจักรใหญ่จากทางท้ายเรือ เที่ยวที่ 2 บริเวณภายในห้องเครื่องจักรใหญ่ เที่ยวที่ 3 บริเวณภายในห้องเมสจ่า
เที่ยวที่ 4 บริเวณภายในห้องเสมียนพลาธิการ

22 ก.พ.2567 

การปฏิบัติการค้นหาและปลดวัตถุอันตราย “เรือหลวงสุโขทัย” วันที่ 2 ยังคงภารกิจในการสำรวจและรวบรวมหลักฐานรอบตัวเรือ โดยนำป้ายชื่อเรือหลวงสุโขทัย เป็นของชิ้นแรกที่นำขึ้นจากน้ำ

ถอดป้ายชื่อเรือหลวงสุโขทัย (ภาพโฆษกกองทัพเรือ)

ถอดป้ายชื่อเรือหลวงสุโขทัย (ภาพโฆษกกองทัพเรือ)

ส่วนภารกิจดำน้ำเที่ยวที่ 1 และ 2 เป็นการสำรวจตัวเรือภายนอก และดำน้ำเพื่อถอดป้ายชื่อเรือหลวงสุโขทัย เที่ยวที่ 3 และ 4 เป็นการดำน้ำเพื่อตรวจวัดรอยทะลุบริเวณหัวเรือ และการตรวจสอบประตูผนึกกั้นน้ำบริเวณท้ายเรือ และบริเวณแท่นอาวุธปล่อย Aspide บริเวณท้ายเรือ

อ่านข่าว  กู้ป้ายชื่อ “เรือหลวงสุโขทัย” ขึ้นจากทะเลแล้ว

สำหรับเรือหลวงสุโขทัย อับปางลงเมื่อวันที่ 18 ธ.ค.2565 หลังเดินทางออกจากฐานทัพเรือสัตหีบ มุ่งหน้าไปร่วมงานคล้ายวันประสูติของเสด็จเตี่ย หรือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ที่ จ.ชุมพร แต่ต้องเผชิญกับคลื่นลมแรงในอ่าวไทย จนเรือเริ่มเอียง น้ำทะลักเข้ามาในตัวเรือ ส่งผลกระทบต่อระบบไฟฟ้าและเครื่องจักร ทำให้มีคำสั่งจากผู้บังคับการเรือให้สละเรือและอับปางลงเมื่อ 23.30 น.ที่ระดับความลึกราว 50 เมตรจากผิวน้ำ

โดยภารกิจ 19 วันถือว่าประสบความสำเร็จในการตรวจสอบค้นหาผู้สูญหายอีก 5 ชีวิต ตรวจร่องรอยความเสียหายบริเวณหัวเรือ และการนำป้ายชื่อ “เรือหลวงสุโขทัย” กลับขึ้นมาสู่ผิวน้ำ รวมถึงอุปกรณ์ยุทโธกรณ์ที่นำขึ้นมาได้ เพื่อสร้างอนุสรณ์สถานให้กับเรือหลวงสุโขทัย

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่