หน้าแรก Thai PBS “เลือกกันเอง” ที่มา สว.ชุดใหม่ ครั้งแรกการเมืองไทย

“เลือกกันเอง” ที่มา สว.ชุดใหม่ ครั้งแรกการเมืองไทย

75
0
“เลือกกันเอง”-ที่มา-สว.ชุดใหม่-ครั้งแรกการเมืองไทย

คุณสมบัติผู้สมัครรับเลือกเป็น สว.

  1. มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด
  2. อายุไม่ต่ำกว่า 40 ปี ในวันที่สมัครรับเลือก
  3. มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ หรือทำงานในด้านที่สมัครไม่น้อยกว่า 10 ปี ไม่นับรวมกลุ่มที่ 8 คือ กลุ่มสตรี ผู้สูงอายุ คนพิการหรือทุพพลภาพ กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มอัตลักษณ์อื่น ประชาสังคม องค์กรสาธารณประโยชน์
  4. ต้องมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
    • เกิดในอำเภอที่ลงสมัครรับเลือก
    • มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านของอำเภอที่ลงสมัครรับเลือก เป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 2 ปีนับถึงวันที่สมัคร
    • เคยทำงานอยู่ในอำเภอที่สมัครรับเลือก เป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 2 ปีนับถึงวันที่สมัคร
    • เคยทำงานหรือเคยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านอยู่ในอำเภอที่สมัครรับเลือก แล้วแต่กรณี เป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 2 ปี
    • เคยศึกษาในสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในอำเภอที่สมัครรับเลือกเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 2 ปีการศึกษา
      ภาพประกอบข่าว

      ภาพประกอบข่าว

26 ลักษณะต้องห้ามผู้สมัครรับเลือกเป็น สว.

  1. ติดยาเสพติดให้โทษ
  2. เป็นบุคคลล้มละลาย หรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต
  3. เป็นเจ้าของ หรือผู้ถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนใดๆ
  4. เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช
  5. อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ไม่ว่าคดีนั้นจะถึงที่สุดแล้วหรือไม่
  6. วิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
  7. อยู่ระหว่างถูกระงับการใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นการชั่วคราว หรือถูกเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง
  8. ต้องคำพิพากษาให้จำคุก และถูกคุมขังอยู่โดยหมายของศาล
  9. เคยได้รับโทษจำคุก โดยได้พ้นโทษมายังไม่ถึงสิบปีนับถึงวันเลือกในระดับอำเภอ ยกเว้นความผิดที่กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ
  10. เคยถูกสั่งให้พ้นจากราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจเพราะทุจริตต่อหน้าที่ หรือถือว่ากระทำการทุจริต หรือประพฤติมิชอบในวงราชการ
    ภาพประกอบข่าว

    ภาพประกอบข่าว

  11. เคยต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอันถึงที่สุดให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินเพราะร่ำรวยผิดปกติ หรือเคยต้องคำพิพากษาอันถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุกเพราะกระทำความผิดตามกฎหมาย ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
  12. เคยต้องคำพิพากษาอันถึงที่สุดว่ากระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการหรือ ต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม หรือกระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ หรือความผิดในกฎหมายว่าด้วยยาเสพติด การพนัน การค้ามนุษย์ หรือการฟอกเงิน
  13. เคยต้องคำพิพากษาอันถึงที่สุดว่ากระทำการอันเป็นการทุจริตในการเลือกตั้ง
  14. อยู่ในระหว่างต้องห้ามมิให้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
  15. เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือเป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ
  16. เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ หรือผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ
  17. เคยพ้นจากตำแหน่งเพราะศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า มีการเสนอ การแปรญัตติ หรือ การกระทำด้วยประการใดๆ ที่มีผลให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือกรรมาธิการ มีส่วนไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ในการใช้งบประมาณรายจ่าย
  18. เคยพ้นจากตำแหน่งเพราะศาลฎีกาหรือศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีคำพิพากษาว่า เป็นผู้มีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ หรือกระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ หรือจงใจปฏิบัติหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง
  19. เป็นข้าราชการ
  20. เป็นหรือเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เว้นแต่ได้พ้นจากการเป็น สส. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี นับถึงวันสมัครรับเลือก
    ภาพประกอบข่าว

    ภาพประกอบข่าว

  21. เป็นสมาชิกพรรคการเมือง
  22. เป็นหรือเคยเป็นผู้ดำรงตำแหน่งใดในพรรคการเมือง เว้นแต่ได้พ้นจากการดำรงตำแหน่งในพรรคการเมืองมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี นับถึงวันสมัครรับเลือก
  23. เป็นหรือเคยเป็นรัฐมนตรี เว้นแต่ได้พ้นจากการเป็นรัฐมนตรีมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี นับถึงวันสมัครรับเลือก
  24. เป็นหรือเคยเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น เว้นแต่ได้พ้นจากการเป็นสมาชิกมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี นับถึงวันสมัครรับเลือก
  25. เป็นบุพการี คู่สมรส หรือบุตร ของผู้ดำรงตำแหน่ง สส. สว. ข้าราชการการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ผู้สมัครรับเลือกเป็น สว. ในคราวเดียวกัน หรือผู้ดำรงตำแหน่งใดในศาลรัฐธรรมนูญหรือองค์กรอิสระ
  26. เคยเป็นสมาชิกวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญ
    ภาพประกอบข่าว

    ภาพประกอบข่าว

20 กลุ่มอาชีพอะไรบ้างที่สมัคร สว. ได้

  1. กลุ่มการบริหารราชการแผ่นดินและความมั่นคง เช่น อดีตข้าราชการ อดีตเจ้าหน้าที่ของรัฐ
  2. กลุ่มกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม เช่น ผู้ที่เป็นหรือเคยเป็นผู้พิพากษา อัยการ ตำรวจ หรือผู้ประกอบวิชาชีพด้านกฎหมาย
  3. กลุ่มการศึกษา เช่น เช่น ผู้เป็นหรือเคยเป็นครู อาจารย์ นักวิจัย ผู้บริหารสถานศึกษา บุคลากรทางการศึกษา
  4. กลุ่มการสาธารณสุข เช่น แพทย์ทุกประเภท พยาบาล เภสัชกร
  5. กลุ่มอาชีพทำนา ปลูกพืชล้มลุก
  6. กลุ่มอาชีพทำสวน ป่าไม้ ปศุสัตว์ ประมง
  7. กลุ่มพนักงานหรือลูกจ้างของบุคคล ซึ่งมิใช่ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ
  8. กลุ่มผู้ประกอบอาชีพด้านสิ่งแวดล้อม ผังเมือง อสังหาริมทรัพย์และสาธารณูปโภค ทรัพยากรธรรมชาติ พลังงาน
  9. กลุ่มผู้ประกอบกิจการขนาดกลางและขนาดย่อมตามกฎหมาย (SME) และ ผู้ประกอบกิจการอื่นๆ
  10. กลุ่มผู้ประกอบกิจการอื่นนอกจากข้อ (9)
    ภาพประกอบข่าว

    ภาพประกอบข่าว

  11. กลุ่มผู้ประกอบธุรกิจหรืออาชีพด้านการท่องเที่ยว เช่น มัคคุเทศก์ ผู้ประกอบกิจการหรือพนักงานโรงแรม
  12. กลุ่มผู้ประกอบอุตสาหกรรม หรืออื่นๆ ในทำนองเดียวกัน
  13. กลุ่มผู้ประกอบอาชีพด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การสื่อสาร การพัฒนานวัตรกรรม หรืออื่นๆ ในทำนองเดียวกัน
  14. กลุ่มสตรี
  15. กลุ่มผู้สูงอายุ คนพิการหรือทุพพลภาพ กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มอัตลักษณ์อื่น
  16. กลุ่มศิลปะ วัฒนธรรม ดนตรี การแสดงและบันเทิง
  17. กลุ่มประชาสังคม องค์กรสาธารณประโยชน์
  18. กลุ่มนักกีฬา สื่อสารมวลชน ผู้สร้างสรรค์วรรณกรรม
  19. กลุ่มผู้ประกอบวิชาชีพ ผู้ประกอบอาชีพอิสระ
  20. กลุ่มอื่นๆ
    ภาพประกอบข่าว

    ภาพประกอบข่าว

อ่าน : จะเป็น สว. ต้องทำอย่างไร ?

ครั้งแรกประวัติศาสตร์ “เลือกกันเอง” การได้มาซึ่ง สว.ชุดที่ 13

หากย้อนดูประวัติศาสตร์การได้มาของ “สภาสูง” หรือสมาชิกวุฒิสภาของประเทศไทยนั้น พบว่าตั้งแต่ สว.ชุดที่ 1 มาจากการ “เลือกตั้งทางอ้อม” ต่อมา สว.ชุดที่ 2-7 มาจากการ “แต่งตั้ง” สว.ชุดที่ 8 และ 9 ใช้วิธีการ “เลือกตั้ง 100%” ส่วน สว.ชุดที่ 10 และ 11 ใช้การ “เลือกตั้งผสมสรรหา” จนกระทั่ง สว.ชุดที่ 12 ที่กำลังจะหมดวาระในเดือน พ.ค.2567 มาจากการแต่งตั้งโดยคณะ คสช. จำนวน 250 คน 

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

เมื่อหมดวาระลงแล้วนั้น สว.ชุดที่ 13 จะใช้วิธีการ “ผู้สมัครเลือกกันเอง” ซึ่งถือว่าเป็นวิธีที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประวัติศาสตร์ สว.ไทย และเมื่อลงลึกในรายละเอียกพบว่า เป็นวิธีการที่ซับซ้อนมากที่สุดอีกด้วย ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่ระดับอำเภอ-จังหวัด-ประเทศ มีขั้นตอน ดังนี้

ขั้นตอนการเลือกในระดับอำเภอ (มาตรา 40)

  • เริ่มด้วยการเลือกกันเองภายในกลุ่มที่ผู้สมัครฯ ก่อน โดยเลือกบุคคลในกลุ่มเดียวกันได้ไม่เกิน 2 คน สามารถลงคะแนนให้ตัวเองก็ได้ แต่ไม่สามารถลงคะแนนให้ผู้ใดได้เกิน 1 คะแนน
  • ผู้ได้คะแนนสูงสุด 5 อันดับแรก ถือเป็นผู้ได้รับเลือกขั้นต้นของแต่ละกลุ่ม
  • แต่ละกลุ่มเมื่อได้ผู้ได้รับเลือกขั้นต้นแล้ว จะถูกแบ่งออกตามสาย แบ่งออกไปไม่เกิน 4 สาย และให้มีจำนวนกลุ่มเท่าๆ กัน
  • ผู้ได้รับเลือกขั้นต้นของแต่ละกลุ่ม จะต้องเลือกผู้ได้รับเลือกขั้นต้นของกลุ่มอื่นที่อยู่ในสายเดียวกัน กลุ่มละ 1 คน ห้ามเลือกคนที่อยู่กลุ่มเดียวกันหรือเลือกตนเองในขั้นนี้
  • ผู้ได้คะแนน 3 ลำดับแรกของแต่ละกลุ่ม ถือเป็นผู้ได้รับเลือกในระดับอำเภอสำหรับกลุ่มนั้น และเข้าสู่การเลือกต่อในระดับจังหวัด

ขั้นตอนการเลือกในระดับจังหวัด (มาตรา 41)

  • ผู้ได้รับเลือกระดับอำเภอแต่ละกลุ่ม ลงคะแนนเลือกกันเองภายในกลุ่ม ซึ่งจะเลือกบุคคลในกลุ่มเดียวกันได้ไม่เกิน 2 คน โดยจะลงคะแนนให้ตัวเองก็ได้ แต่ไม่สามารถลงคะแนนให้ผู้ใดได้เกิน 1 คะแนน
  • ผู้ได้รับคะแนนสูงสุด 5 อันดับแรก ให้ถือเป็นผู้ได้รับเลือกขั้นต้นของแต่ละกลุ่ม
  • แต่ละกลุ่มเมื่อได้ผู้ได้รับเลือกขั้นต้นของแต่ละกลุ่มแล้ว จะถูกแบ่งออกตามสาย ไม่เกิน 4 สาย และให้มีจำนวนกลุ่มเท่าๆ กัน
  • ผู้ได้รับเลือกขั้นต้นของแต่ละกลุ่มจะต้องเลือกผู้ได้รับเลือกตั้งขั้นต้นของกลุ่มอื่น ที่อยู่ในสายเดียวกัน ห้ามเลือกคนที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันหรือเลือกตนเอง
  • ผู้ได้รับคะแนนสูงสุดสองลำดับแรกของแต่ละกลุ่ม จะถือว่าได้รับเลือกในระดับจังหวัดของกลุ่มนั้น และเข้าสู่การคัดเลือกในระดับประเทศต่อไป

ขั้นตอนการเลือกในระดับประเทศ (มาตรา 42)

  • ผู้ได้รับเลือกระดับจังหวัดแต่ละกลุ่ม ลงคะแนนเลือกกันเองภายในกลุ่ม ซึ่งจะเลือกบุคคลในกลุ่มเดียวกันได้ไม่เกิน 10 คน โดยจะลงคะแนนให้ตัวเองก็ได้ แต่ไม่สามารถลงคะแนนให้ผู้ใดได้เกินหนึ่งคะแนน
  • ผู้ได้คะแนนสูงสุด 40 อันดับแรกของแต่ละกลุ่ม ถือเป็นผู้ได้รับเลือกตั้งขั้นต้นของแต่ละกลุ่ม ในขั้นนี้หากแต่ละกลุ่มได้ไม่ครบ 40 คน ก็ถือตามจำนวนเท่าที่มี แต่จะน้อยกว่า 20 คนไม่ได้ โดยผู้อำนวยการเลือกตั้งระดับประเทศจะจัดให้ผู้ที่ไม่ได้รับเลือก ซึ่งยังอยู่ ณ สถานที่นั้น เลือกกันเองในกลุ่มจนกว่าจะได้จำนวนอย่างต่ำ 20 คน
  • แต่ละกลุ่ม เมื่อได้ผู้ได้รับเลือกขั้นต้นแล้ว จะถูกแบ่งออกตามสาย แบ่งออกไม่เกิน 4 สาย และให้มีจำนวนกลุ่มเท่าๆ กัน
  • ผู้ได้รับเลือกขั้นต้นของแต่ละกลุ่มจะต้องเลือกผู้ได้รับเลือกขั้นต้นของกลุ่มอื่นในสายเดียวกัน กลุ่มละไม่เกิน 5 คน ห้ามเลือกคนที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันหรือเลือกตนเอง
  • ผู้ได้รับคะแนนสูงสุด 10 อันดับแรกของแต่ละกลุ่ม (20 กลุ่ม คูณ 10 คน = 200 คน) เป็นผู้ได้รับเลือกเป็น สว. สำหรับกลุ่มนั้น และผู้ที่ได้ลำดับที่ 11-15 จะเป็นผู้ที่อยู่ในบัญชีสำรองของกลุ่มนั้น
    ภาพประกอบข่าว

    ภาพประกอบข่าว

อ่าน : เปิดรายรับ-ค่าใช้จ่าย ส.ว. 1 คนใช้เงินเท่าไร?

เป็น สว.ชุดใหม่ ทำอะไรได้บ้าง 

  1. พิจารณาแก้รัฐธรรมนูญ สว. มีบทบาทในการเสนอร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญได้ แต่ต้องรวบรวมรายชื่อ สส. เพื่อเสนอร่วมกัน สว. เพียงฝ่ายเดียวไม่สามารถเสนอร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญได้  
  2. พิจารณากฎหมาย สส. มีอำนาจหลักพิจารณากฎหมาย สว. อำนาจน้อยกว่า แต่ถ้าพิจารณากฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ สว. อำนาจเท่า สส.
  3. ให้ความเห็นชอบบุคคลดำรงตำแหน่ง ศาลรัฐธรรมนูญ-องค์กรอิสระ และผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงในหน่วยงานรัฐ
    • ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
    • คณะกรรมการการเลือกตั้ง 7 คน 
    • ผู้ตรวจการแผ่นดิน 3 คน
    • คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ 9 คน 
    • คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน 7 คน 
    • ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน
    • คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน7 คน 
  4. ตรวจสอบฝ่ายบริหาร ส่งต่อปัญหาประชาชนให้ดำเนินการแก้ไข
    ภาพประกอบข่าว

    ภาพประกอบข่าว

ที่มา : คณะกรรมการการเลือกตั้ง, วุฒิสภา 

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่