หน้าแรก Voice TV 'ภูมิธรรม' ลุยสุรินทร์ พบผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ดันของดี GI เนื้อโค 'สุรินทร์กูว์' ซอฟต์พาวเวอร์ผ้าไหม

'ภูมิธรรม' ลุยสุรินทร์ พบผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ดันของดี GI เนื้อโค 'สุรินทร์กูว์' ซอฟต์พาวเวอร์ผ้าไหม

81
0
'ภูมิธรรม'-ลุยสุรินทร์-พบผู้ประกอบการรุ่นใหม่-ดันของดี gi-เนื้อโค-'สุรินทร์กูว์'-ซอฟต์พาวเวอร์ผ้าไหม

‘ภูมิธรรม’ ลุยสุรินทร์ พบผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ดันของดี GI เนื้อโค ‘สุรินทร์กูว์’ ซอฟต์พาวเวอร์ผ้าไหม แก้ปัญหาการติดขัดทางการค้า

วันที่ 14 มี.ค. 2567 ภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้พบกับ วีรศักดิ์ พิษณุวงษ์ ประธานหอการค้าจังหวัดสุรินทร์ธีรโชต อังศุวัฒนา ประธานสภาอุตสาหกรรม กลุ่มผู้ประกอบการรุ่นใหม่ YEC โดยนายชัยภูมิ เตียวสกุล เพิ่มงาม เลขาธิการ YEC ออมสิน ศรีสุรินทร์ ที่ปรึกษา ประธาน YEC

นอกจากนี้ ยังมี ธนะกฤษฏิ์ ประสิทธิ์ธิเม อัจฉรา สุขวาสนะ สมาชิก Young smart farmer หรือ YSF จังหวัดสุรินทร์ ธรรมภรณ์ หลิน นันทิการ์ วังอมรมิตร นายจักรพงษ์ ส่วนบุญ อนุพันธ์ สงวนชื่อ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนโคขุนสุรินทร์วากิวครบวงจร ตำบลสลักได ทักษิณา ทับครบุรี 

การพบปะในครั้งนี้ ประธานหอการค้าจังหวัดสุรินทร์ ได้ขอให้มีการผลักดันการ ขึ้นทะเบียนสินค้า GI เนื้อวัวสายพันธุ์ไทย วากิว ซึ่งจังหวัดสุรินทร์ขึ้นชื่อว่าเป็นดินแดนที่มีเนื้อวากิวอร่อยที่สุดในประเทศไทย ในชื่อ “สุรินทร์ กูว์“ และการขอขยายช่องทางการส่งออก เนื้อ สุรินทร์ กูว์ ไปต่างประเทศ มีจุดเสนอสินค้าที่ต่างประเทศ เพื่อนำเสนอเนื้อให้ชาวต่างชาติได้รับรู้ เพิ่มรายได้อีกช่องทางหนึ่ง และขอให้ภาครัฐสนับสนุน งานเทศกาลสุรินทร์วากิวเฟสติวัล ในปี พ.ศ. 2568

รวมถึงทุเรียน ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะอย่างเช่นทุเรียนภูเขาไฟ ซึ่งของจังหวัดสุรินทร์ จะเป็นทุเรียนหรือช้าง ในส่วนของดีอีกอย่าง ได้แก่ ผ้าไหม ที่สุรินทร์จะผลักดันคือเป็น Soft Power ลายผ้าไหมโฮลนาคา ปัจจุบันได้ออกแบบผ้าไหมเป็นสินค้าแฟชั่น อาทิ การทำเป็นผ้าไหมคลุมไหล่ให้บัวขาวคลุมก่อนขึ้นชกนัดสำคัญ เพื่อให้ผ้าไหมของ จังหวัดสุรินทร์ ออกสู่สายตาชาวโลก ซึ่งจะเป็นการต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น และส่งเสริมรายได้ให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงไหม 

โดย การออกแบบสินค้าแฟชั่นจากผ้าไหมเพื่อให้เข้าสู่กลุ่มเป้าหมายที่เป็นวัยรุ่นใส่แล้วให้ดูเท่ห์ สบายและไม่เชย แต่ยังคงเอกลักษณ์ความเป็นไทย

นอกจากนี้ ประธานสภาอุตสาหกรรม เสนอขอให้มีการส่งเสริม SME โดยเพิ่มขีดความสามารถ การเข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยให้สินเชื่อเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ให้กลุ่ม SME อาทิเช่น การสนับสนุนงบส่งเสริมและพัฒนานวัตกรรมด้านการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม (สุราแช่) 

ผู้แทนสภาอุตสาหกรรม เสริมว่า “ขอให้ยกระดับสินค้าผู้ประกอบการชุมชน

ผลักดันสินค้าชายแดนการค้าระหว่างประเทศ ผลักดันสินค้าและบริการของจังหวัดสุรินทร์ไปต่างแดนหรือต่างจังหวัดให้ได้ทราบกันทั่วประเทศ”

สมาชิก YSF ได้กล่าวว่า “ตนเป็นเกษตรกรผู้เลี้ยงวัว ประสบปัญหาพืชอาหารสัตว์ที่มีราคาสูง กอปรกับตลาดวัวที่มีการนำเข้าเนื้อเถื่อนทำให้เกิดผลกระทบต่อผู้ประกอบการอยากได้เงินทุนเพื่อเข้ามาสนับสนุนในการเลี้ยงวัว”

ในส่วนของการอำนวยความสะดวกด้านกฎระเบียบ ได้มีการขอให้เร่งรัดการดำเนินการจดทะเบียนเป็นโรงสาวไหมจดทะเบียน ของ หจก. เรือนไหม-ใบหม่อน (สมาชิกสภาอุตสาหกรรมจ.สุรินทร์) ตามประกาศกรมการค้าต่างประเทศ เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการจดทะเบียนเป็นโรงสาวไหมจดทะเบียน พ.ศ.๒๕๔๙ 

ภูมิธรรม กล่าวว่า รับข้อเสนอของกลุ่มผู้ประกอบการและได้สั่งการให้ปลัดกระทรวงพาณิชย์และอธิบดีกรมที่เกี่ยวข้องดำเนินการเร่งรัด การดำเนินการเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบการ และมอบหมายพาณิชย์จังหวัดสุรินทร์รวบรวมปัญหาและคุยให้ชัดเจน พร้อมขอบคุณ หอการค้าจังหวัดสุรินทร์ สภาอุตสาหกรรม และผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ที่มาในวันนี้ ระบุกลุ่มคนรุ่นใหม่เป็นหัวใจของจังหวัดเป็นลูกหลานที่จบใหม่ แล้วตั้งใจกลับมาพัฒนาบ้านตัวเอง เป็นผู้ที่มีศักยภาพ เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ในส่วนของราชการจะเป็นฝ่ายสนับสนุนหากติดขัดปัญหาที่เกี่ยวกับกฎหมายหรือระเบียบ จะเร่งแก้ไขให้ผู้ประกอบการให้เดินหน้าต่อไปได้

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่