หน้าแรก Voice TV ‘ไชยา’ ตรวจทำ “ฝนหลวง” สั่งเร่งปฏิบัติการบรรเทาปัญหาฝุ่นละออง

‘ไชยา’ ตรวจทำ “ฝนหลวง” สั่งเร่งปฏิบัติการบรรเทาปัญหาฝุ่นละออง

74
0
‘ไชยา’-ตรวจทำ-“ฝนหลวง”-สั่งเร่งปฏิบัติการบรรเทาปัญหาฝุ่นละออง

‘ไชยา’ ตรวจทำ ‘ฝนหลวง’ จ.แพร่ สั่งเร่งปฏิบัติการบรรเทาปัญหาฝุ่นละออง ตั้งแต่ 15 มี.ค.ที่ผ่านมา มั่นใจภาคเหนือตอนบน ฝนตกเพิ่ม บรรเทาปัญหาควันฝุ่น-ช่วยเติมน้ำเขื่อนสิริกิติ์ อ่างเก็บน้ำ

วันที่ 18 มี.ค. 2567 ไชยา พรหมา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะกำกับดูแลกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ลงพื้นที่ จ.แพร่ ติดตามการปฏิบัติการฝนหลวงพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง ณ ท่าอากาศยานแพร่ อ.เมือง จ.แพร่ พร้อมให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ในการปฏิบัติงาน 

ไชยา เปิดเผยว่า สถานการณ์ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กในพื้นที่ภาคเหนือทั้งตอนบนและตอนล่างยังอยู่ในสภาวะวิกฤต ได้มอบหมายให้กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ระดมเครื่องบินฝนหลวงปฏิบัติการบรรเทาปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กเกินค่ามาตรฐานและปัญหาหมอกควันและไฟป่าที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมา กำชับให้ปฏิบัติการเชิงรุก เพื่อเร่งคลี่คลายสถานการณ์ให้ดีขึ้นโดยเร็ว รวมถึงดูแลช่วยเหลือพื้นที่การเกษตร พื้นที่ลุ่มรับน้ำ เพื่อป้องกันและบรรเทาปัญหาภัยแล้งให้กับพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ 

ไชยา กล่าวว่า วันนี้หน่วยปฏิบัติการฝนหลวง จ.แพร่ และ จ.เชียงใหม่ มีภารกิจปฏิบัติการฝนหลวงบรรเทาหมอกควันและสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM10 และ PM2.5) โดยใช้เครื่องบิน CASA จำนวน 2 ลำ เครื่องบิน CN จำนวน 1 ลำ ช่วยเหลือพื้นที่ จ.พะเยา แพร่ น่าน คาดการณ์ว่า จะมีฝนตกบริเวณเหนือเขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ และ จังหวัดใกล้เคียง รวมไปถึง จ.พะเยา ที่จะมีฝนตกในวันประชุม ครม.สัญจรด้วย 

ทั้งนี้ แผนการปฏิบัติการฝนหลวงในช่วงนี้ จะเน้นช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรและพื้นที่ประสบปัญหาหมอกควันไฟป่าและฝุ่นละอองขนาดเล็ก และเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้กับเขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ และอ่างเก็บน้ำขนาดกลางจำนวน 14 แห่งในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง และมีนโยบายถึงการบรรเทาปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กในพื้นที่ภาคเหนือ โดยใช้เทคนิคการดัดแปรสภาพอากาศด้วยการโปรยน้ำแข็งแห้ง เพื่อเพิ่มการดูดซับฝุ่นละอองของเมฆให้มากขึ้น ซึ่งหากได้รับการจัดสรรงบประมาณ จะมีการจัดตั้งโรงผลิตน้ำแข็งแห้งสำหรับใช้ในการช่วยเหลือพื้นที่ภาคเหนือทั้งตอนบนและตอนล่าง จะเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรได้เพิ่มขึ้นอีกด้วย

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่