หน้าแรก Thai PBS วิเคราะห์ เลือก สว.ชุดใหม่ “เงียบ-ซับซ้อน” ที่สุดในโลก

วิเคราะห์ เลือก สว.ชุดใหม่ “เงียบ-ซับซ้อน” ที่สุดในโลก

77
0
วิเคราะห์-เลือก-สว.ชุดใหม่-“เงียบ-ซับซ้อน”-ที่สุดในโลก

ผู้สมัครลงรับเลือกเป็น สว. เมื่อวานนี้ แถลงเปิดตัวแล้ว นำโดยนายพนัส ทัศนียานนท์ พร้อมเพื่อนในเครือข่ายรณรงค์รัฐธรรมนูญ ประกาศพร้อมจะฝ่ากระบวนการที่ซับซ้อนนี้ เข้าไปทำงานในฝ่ายนิติบัญญัติ เพื่อผลักดันรัฐธรรมนูญฉบับ ที่เป็นประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์

การเลือก สว. 200 คน ในแบบเลือกไขว้ หรือ เลือกกันเอง ในแต่ละกลุ่มวิชาการชีพ ที่กำลังจะมีขึ้น “กกต.” บอกว่าอาจไม่เงียบที่สุดในโลก หากทุกฝ่ายตระหนักที่จะมีส่วนร่วมด้วย แต่กระบวนการเลือกที่ว่าซับซ้อนที่สุดในโลก “กกต.” ยอมรับเอง “ว่าจริง” แต่ชี้ว่า หลักการที่ต้องยึด คือ การจัดให้มีการเลือกโดยประชาชน ดังนั้นอะไรที่ไม่ใช่ถือว่าสุ่มเสี่ยงผิดกฎหมาย

ขณะที่การเปิดอบรมและถ่ายทอด กระบวนการเลือก สว.ทั้งหมด 200 คน แทน สว.จำนวน 250 คน ที่กำลังจะสิ้นสุดวาระในวันที่ 10 พ.ค.นี้ ผ่านสื่อมวลชน โดยคาดหวังจะสื่อสารกับทุกฝ่ายที่จะตระหนักในการมีส่วนร่วม เพื่อไม่ให้การเลือก สว.ครั้งนี้ กลายเป็นการเลือกที่เงียบที่สุดในโลก ด้วยกฎหมายมีข้อห้ามแนะนำตัว-รณรงค์หาเสียง และอิงกับกลุ่มหรือพรรคการเมือง โดยนายอิทธิพร บุญประครอง ประธาน กกต.เคยอ้างอิงให้ยึดว่า การจัดให้มีการเลือกโดยประชาชน

กกต.คาดการณ์ว่า ประชาชนในแต่ละวิชาและอาชีพ จะสมัครลงรับเลือก สว.ไม่น้อยกว่า 1 แสนคน และตามกระบวนการขั้นตอน จะเลือกกัน รวม 3 ระดับ เริ่มที่ระดับอำเภอ ทั่วประเทศมี 928 อำเภอ ผู้สมัครจะมีด้วยกัน 20 กลุ่ม ผู้ผ่านเข้ารอบ น่าจะได้รับคะแนนสูงสุด 3 ลำดับแรก รวมแล้ว 55,680 คน

ขณะที่ระดับจังหวัด จะมีด้วยกัน 77 จังหวัดทั่วไทย ในมี 20 กลุ่ม คาดว่าจะมีผู้ได้รับเลือกและเข้ารอบไปได้ด้วยคะแนนสูงสุด 2 ลำดับแรกของกลุ่ม รวมแล้ว 3,080 คน

จากนั้นในระดับประเทศ การเลือกในรอบนี้ จะเลือกเป็น สว.น่าจะมาจากผู้ได้คะแนนลำดับที่ 1 ถึง 10 ของแต่ละกลุ่ม รวม 200 คน จากนั้น ผู้ที่อยู่ในลำดับที่ 11 – 15 จะอยู่ในบัญชีสำรองของแต่ละกลุ่ม รวมอีก 100 คน

ทั้งนี้ กระบวนการดังกล่าวที่ว่า “ซับซ้อน” หรือซับซ้อนที่สุดในโลก กกต.ก็ยอมรับและยังไม่ทราบว่า ในทางปฏิบัติแท้จริงนั้นจะ จะเป็นไปตามโมเดลหรือ ตุ๊กตา ที่ กกต.วางหรือคาดการณ์ไว้หรือไม่

ก่อนหน้านี้ เคยทดลองเลือก สว.50 คน โดยใช้รูปแบบนี้มาแล้ว แต่ก็คือ เป็นเพียงกลุ่มเล็ก ๆ ซึ่งจะต่างกับการเลือกเต็มรูปแบบที่จะมีขึ้น แต่ กกต.ก็พยายามจะ “ย่อยและย่อ” เพื่อสื่อสารกับสื่อมวลชนถึงประชาชน โดยเฉพาะการจัดทำคลิปเผยแพร่

ตามกฎหมาย “กฎเหล็ก” หรือข้อห้ามและข้อจำกัด ในการเลือก สว.คือ “ห้ามหาเสียง” ทำได้เพียงออกข้อความแนะนำตัว จึงเป็นที่สังเกตว่า คนดัง-คนมีต้นทุนทางสังคม จะมีแนวโน้มเป็น “ผู้ได้รับเลือก” สูง

แม้ค่าสมัครจะอยู่ที่ 2,500 บาท โดยให้สิทธิ์กับประชาชนมากที่สุดแล้ว แต่ก็มีข้อสังเกตว่า ผู้ที่ฮั้วกันและจัดตั้งกัน ก็สามารถสมัครเข้าไปโหวตหรือล็อกโหวต ผู้สมัคร สว.ที่ต้องการ

แต่ไม่ว่าจะ “ช่องว่าง-ช่องโหว่” จะอยู่ที่จุดไหน กกต.บอกว่า พร้อมรับมือ เช่นเดียวกับกลุ่มผู้สมัคร สว.กลุ่มแรก ซึ่งนำโดยนายพนัส ทัศนียานนท์ อดีต สว. ปี 2540 แถลงเปิดตัวพร้อมฝ่าฟันอุปสรรค เข้าไปทำงานผลักดันรัฐธรรมนูญฉบับที่มีความเป็นประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์

สำหรับไทม์ไลน์ที่ กกต.เปิดไว้ คือ หลัง ส.ว.ชุดนี้ สิ้นสุดวาระ ในวันที่ 10 พ.ค.จากนั้นจะมีประกาศ พ.ร.ฎ.ให้มีการเลือก สว.ภายใน 15 วัน และตามกระบวนการเปิดรับสมัครจะ 5 วัน และประกาศรายชื่อผู้สมัครอีก 5 วัน

หลังจากปิดรับสมัครไม่เกิน 20 วัน จะเริ่มกระบวนการเลือกระดับอำเภอ และภายใน 7 วัน จะเลือกระดับจังหวัด และอีก 10 วันจะเลือกระดับประเทศ เสร็จแล้ว กกต.จะใช้เวลาอีก 5 วัน ประกาศรายชื่อ 200 คน เป็น สว.และอีก 100 คนเป็นบัญชีสำรอง

ที่ว่ามาทั้งหมดนี้ เป็นไปตามกฎหมายการได้มาซึ่ง สว.ปี 2561 ที่เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ปี 2560 จากนี้ก็รอพ.ร.ฎ.ที่จะเป็นแผนแม่บทในทางปฏิบัติทั้งหมด หากแต่ว่าในทางการเมือง ก็มีกระแสข่าวว่า ประธาน สว.คนต่อไป ผู้นำทางการเมืองได้วางตัวไว้แล้วว่าจะเป็นใคร

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่