หน้าแรก Thai PBS กกต.ตอบข้อต้องห้ามสมัครสว.ตำแหน่งผช.สส.-ลูกจ้างราชการ

กกต.ตอบข้อต้องห้ามสมัครสว.ตำแหน่งผช.สส.-ลูกจ้างราชการ

74
0
กกตตอบข้อต้องห้ามสมัครสวตำแหน่งผชสส.-ลูกจ้างราชการ

วันนี้ (4 เม.ย.2567) สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ตอบข้อหารือเกี่ยวกับลักษณะต้องห้ามในการสมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา (สว.)
ใน 3 ประเด็น ดังนี้

  • ตำแหน่ง ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ชำนาญการ และผู้ช่วยดำเนินการ สส.เป็นตำแหน่งใดในพรรคการเมือง ถือเป็นลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 14 (22) แห่งพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มา ซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2561 หรือไม่
  • ตำแหน่ง ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ชำนาญการ และผู้ช่วยดำเนินการ สส. เป็นพนักงาน หรือลูกจ้าง ของหน่วยงานราชการ หน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ หรือเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามมาตรา 14 (15)
    แห่งพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2561 หรือไม่
  • ตำแหน่ง ตัวแทนพรรคประจำอำเภอ ของพรรคการเมืองเข้าข่าย มาตรา 14 (15) และ (22) แห่งพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2561 หรือไม่

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งพิจารณาแล้ว มีความเห็นดังนี้ ประเด็นที่ 1 และประเด็นที่ 3 ตามข้อหารือนั้น ผู้ดำรงตำแหน่งในพรรคการเมืองตาม พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2566 ได้แก่ ตำแหน่งกรรมการบริหารพรรคการเมือง กรรม การสาขาพรรคการเมือง และตัวแทนพรรค การเมืองประจำจังหวัด

ส่วนตำแหน่งอื่น ๆ ในพรรคการเมือง เป็นตำแหน่งที่พรรคการเมืองแต่ละพรรค
การเมืองกำหนดขึ้นเอง ดังนั้น เพื่อให้การพิจารณาเป็นไปด้วยความถูกต้องและเกิดความชัดเจนว่าตำแหน่งตามข้อหารือในประเด็นที่ 1

และประเด็นที่ 3 จะถือเป็นลักษณะต้องห้ามในการสมัครรับเลือก เป็นสมาชิกวุฒิสภาตามมาตรา 14 (15) และ (22) แห่งพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มา ซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2561 หรือไม่

เห็นควรหารือไปยังพรรคการเมืองต้นสังกัดที่มีอำนาจและหน้าที่ ในการพิจารณา

ส่วนประเด็นที่ 2 ตามข้อหารือนั้น ตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญ ผู้ชำนาญการ และผู้ช่วยดำเนินการสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร มาจากการแต่งตั้งบุคคล เพื่อปฏิบัติงานให้แก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามประกาศ สภาผู้แทนราษฎรเรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งบุคคลเพื่อปฏิบัติงานให้แก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ลงวันที่ 9 ธ.ค.2554

ดังนั้นการพิจารณาว่าตำแหน่งดังกล่าวเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยราชการหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ หรือเป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ อันจะเป็นลักษณะต้องห้ามในการสมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภาตามมาตรา 14 (15) แห่งพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาพ.ศ. 2561 หรือไม่ จึงควรหารือไปยังสำนักงานเลขาธิการสภาฯ เพื่อวินิจฉัย

ทั้งนี้ ศาลรัฐธรรมนูญ ได้เคยมีคำวินิจฉัยที่ 5/2543 ลงวันที่ 14 ก.พ.2543 สรุปลักษณะของ “เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ” ไว้โดยเป็นบุคคลที่ได้รับแต่งตั้งหรือเลือกตั้งตามกฎหมาย

รวมทั้งมีอำนาจหน้าที่ดำเนินการ หรือหน้าที่ปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายและปฏิบัติงานประจำโดยอยู่ในบังคับบัญชา หรือกำกับดูแลของรัฐและมีเงินเดือน ค่าจ้าง หรือค่าตอบแทนตามกฎหมาย การที่บุคคลใดจะมีสถานะเป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐหรือไม่ ต้องพิจารณาตามแนวคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าว

อย่างไรก็ตาม การพิจารณาคุณสมบัติ หรือลักษณะต้องห้ามของผู้สมัครรับเลือกในเบื้องต้น เป็นหน้าที่และอำนาจของ ผอ.การเลือกระดับอำเภอตามมาตรา 20 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2561

ทั้งนี้ สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จากพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2561 และระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการเลือกสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2567 พรป.ว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2561 ระเบียบ กกต.ว่าด้วยการเลือกสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2567

 

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่