หน้าแรก Thai PBS กางปฏิทิน “เลือก สว.” ชุดใหม่ เช็ก “วิธี-เอกสาร” สมัครรับเลือก มีอะไรบ้าง

กางปฏิทิน “เลือก สว.” ชุดใหม่ เช็ก “วิธี-เอกสาร” สมัครรับเลือก มีอะไรบ้าง

73
0
กางปฏิทิน-“เลือก-สว.”-ชุดใหม่-เช็ก-“วิธี-เอกสาร”-สมัครรับเลือก-มีอะไรบ้าง

หลังพระราชกฤษฎีกา ให้มีการเลือกสมาชิกวุฒิสภา หรือ สว. ปี 2567 มีผลบังคับใช้แล้ว เมื่อวันที่ 11 พ.ค.ที่ผ่านมา โดยวันดังกล่าวเป็นวันสุดท้ายของ “สว.250 คน” ที่แต่งตั้งโดย คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และจากนี้ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จะประชุมเพื่อสรุปวันเปิดรับ “สมัครเลือก สว.” ชุดใหม่ จำนวน 200 คน  อ่านข่าว : โบกมือลา “สว.250” วาระ 5 ปี ก่อนส่งไม้ต่อ สว.ชุดใหม่

ปฏิทิน “เลือก สว.” ชุดใหม่ 2567

กกต.นัดประชุมเพื่อประกาศกำหนดวันรับสมัคร สว.ชุดใหม่ โดยคาดการณ์ไทม์ไลน์ “วันรับสมัคร” จะเป็นวันที่ 20 – 24 พ.ค.นี้

  • วันที่ 10 พ.ค.2567 ผู้สนใจลงสมัคร สว. ติดต่อขอรับเอกสารการสมัครจาก จากนายทะเบียนอำเภอ ที่ว่าการอำเภอหรือสำนักงานเขต 

ทั้งนี้ หลังเปิดรับใบสมัคร สว. ทั้งจากที่ว่าการอำเภอทั่วประเทศ และจากสำนักงานเขตทั้ง 50 เขต มาแล้ว 3 วัน (10 – 12 พ.ค.67) พบว่ามีผู้สนใจขอรับไปแล้วหลาย 5,164 คน พื้นที่ที่คนรับใบสมัครมากที่สุดคือ กทม. จำนวน 849 คน น้อยสุด คือ จ.บึงกาฬ มีคนรับใบสมัครเพียง 1 คน

  • วันที่ 13 พ.ค.2567 ประกาศวันรับสมัคร สว.
  • วันที่ 14 พ.ค. กกต.เชิญสื่อมวลชนคุยแนวทางปฏิบัติ ในการการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร
  • วันที่ 20-24 พ.ค.2567 คาดเป็นวันเปิดรับสมัคร สว.

เข้าสู่กระบวนการเลือกแบบไต่ระดับ 

  • วันที่ 9 มิ.ย.2567 เลือก สว. : ระดับอำเภอ
  • วันที่ 16 มิ.ย.2567 เลือก สว. : ระดับจังหวัด
  • วันที่ 26 มิ.ย.2567 เลือก สว. : ระดับประเทศ 
  • วันที่ 2 ก.ค.2567 วันประกาศผล

20 กลุ่มอาชีพ เลือก สว. 

สำหรับการเลือก สว. คนที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม มีสิทธิรับสมัครรับเลือกเป็น สว.ในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งได้ บางคนอาจพอรู้มาบางแล้ว ลองมาทวนกันดูอีกสักรอบ มีด้วยกัน 20 กลุ่ม ดังนี้ 

1. กลุ่มการบริหารราชการแผ่นดินและความมั่นคง อันได้แก่ผู้เคยเป็นข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรืออื่น ๆ ในทํานองเดียวกัน

2.กลุ่มกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม อันได้แก่ผู้เป็นหรือเคยเป็นผู้พิพากษา ตุลาการอัยการ ตํารวจ ผู้ประกอบวิชาชีพด้านกฎหมาย หรืออื่น ๆ ในทํานองเดียวกัน

3.กลุ่มการศึกษา อันได้แก่ผู้เป็นหรือเคยเป็นครู อาจารย์ นักวิจัย ผู้บริหารสถานศึกษา บุคลากรทางการศึกษา หรืออื่น ๆ ในทํานองเดียวกัน

4.กลุ่มการสาธารณสุข อันได้แก่ผู้เป็นหรือเคยเป็นแพทย์ทุกประเภท เทคนิคการแพทย์ สาธารณสุข พยาบาล เภสัชกร หรืออื่น ๆ ในทํานองเดียวกัน

5.กลุ่มอาชีพทํานา ปลูกพืชล้มลุก หรืออื่น ๆ ในทํานองเดียวกัน

6.กลุ่มอาชีพทําสวน ป่าไม้ ปศุสัตว์ ประมง หรืออื่น ๆ ในทํานองเดียวกัน

7.กลุ่มพนักงานหรือลูกจ้างของบุคคลซึ่งมิใช่ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ ผู้ใช้แรงงาน หรืออื่น ๆ ในทํานองเดียวกัน

8.กลุ่มผู้ประกอบอาชีพด้านสิ่งแวดล้อม ผังเมือง อสังหาริมทรัพย์และสาธารณูปโภค ทรัพยากรธรรมชาติ พลังงาน หรืออื่น ๆ ในทํานองเดียวกัน

9.กลุ่มผู้ประกอบกิจการขนาดกลางและขนาดย่อมตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น หรืออื่น ๆ ในทํานองเดียวกัน

10.กลุ่มผ้ประกอบกิจการอื่นนอกจากกิจการตามข้อ 9

11.กลุ่มผู้ประกอบธุรกิจหรืออาชีพด้านการท่องเที่ยว อันได้แก่ผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยว มัคคุเทศก์ ผู้ประกอบกิจการหรือพนักงานโรงแรม หรืออื่น ๆ ในทํานองเดียวกัน

12.กลุ่มผู้ประกอบอุตสาหกรรม หรืออื่น ๆ ในทํานองเดียวกัน

13.กลุ่มผู้ประกอบอาชีพด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การสื่อสารการพัฒนานวัตกรรม หรืออื่น ๆ ในทํานองเดียวกัน

14.กลุ่มสตรี

15.กลุ่มผู้สูงอายุ คนพิการหรือทุพพลภาพ กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มอัตลักษณ์อื่น หรืออื่น ๆ ในทํานองเดียวกัน

16.กลุ่มศิลปะ วัฒนธรรม ดนตรี การแสดงและบันเทิง นักกีฬา หรืออื่น ๆ ในทํานองเดียวกัน

17.กลุ่มประชาสังคม กลุ่มองค์กรสาธารณประโยชน์ หรืออื่น ๆ ในทํานองเดียวกัน

18.กลุ่มสื่อสารมวลชน ผู้สร้างสรรค์วรรณกรรม หรืออื่น ๆ ในทํานองเดียวกัน

19.กลุ่มผู้ประกอบวิชาชีพ ผู้ประกอบอาชีพอิสระ หรืออื่น ๆ ในทํานองเดียวกัน

20.กลุ่มอื่น ๆ (กรณีคลุมเครือ ไม่สามารถระบุไปที่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งได้)

วิธี-เอกสารหลักฐานสมัครรับเลือกตั้ง สว.

  • แบบใบสมัคร (แบบ สว.2)
  • แบบข้อมูลแนะนำตัว (แบบ สว.3)
  • แบบหนังสือรับรองความรู้ ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ หรือทำงานในกลุ่มที่สมัคร (ต้องมีพยานรับรองอย่างน้อยหนึ่งคนพร้อมสำเนาบัตรประชาชนผู้รับรับรอง)
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • รูปถ่ายหน้าตรงขนาด 8.5 x 13.5 เซนติเมตร จำนวน 2 รูป
  • ใบรับรองแพทย์
  • หลักฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่ยืนยันว่าเกิดในอำเภอที่สมัคร หรือมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน หรือ เคยศึกษา หรือ เคยทำงานในอำเภอที่สมัครรับเลือกติดต่อกันไม่น้อยกว่า 2 ปี
  • หลักฐานอื่น เช่นหลักฐานการลาออกจากข้าราชการ หลักฐานการเปลี่ยนเปลี่ยนชื่อ-ชื่อสกุล หลักฐานแสดงตนว่าไม่มีลักษณะต้องห้าม
  • ค่าธรรมเนียมการสมัครจำนวน 2,500 บาท (เงินสด หรือตั๋วแลกเงิน หรือแคชเชียร์เช็ค แล้วแต่กรณีกรณีกรณี)

สำหรับการสมัครรับเลือกเป็น สว. เมื่อ กกต.ประกาศวันรับสมัครแล้ว ผู้ประสงค์จะสมัครรับเลือกเป็น สว. ต้องยื่นเอกสารใบสมัครและหลักฐานประกอบการสมัครด้วยตนเอง ณ สถานที่สมัครที่ผู้อำนวยการเลือกตั้งระดับอำเภอ ที่ประสงค์จะสมัครกำหนดไว้ เมื่อผู้สมัครได้ยื่นสมัครรับเลือกแล้ว ผู้สมัครจะได้รับใบสมัครรับเลือกเป็น สว. ( สว.อ.10) ไว้เป็นหลักฐาน

อ่านข่าว : “เสียงประชาชน” ดังขึ้นดังอีก เอาคืน กกต.อย่าล้ำเส้นสิทธิ

“เลือกกันเอง” ที่มา สว.ชุดใหม่ ครั้งแรกการเมืองไทย

จะเป็น สว. ต้องทำอย่างไร ? เช็กคุณสมบัติ – ลักษณะต้องห้าม ก่อนลงสมัคร

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่