หน้าแรก Thai PBS 40 สว.ยื่นสอยบานปลาย ลุ้นนายกฯ หยุดทำหน้าที่?

40 สว.ยื่นสอยบานปลาย ลุ้นนายกฯ หยุดทำหน้าที่?

100
0
40-สว.ยื่นสอยบานปลาย-ลุ้นนายกฯ-หยุดทำหน้าที่?

โดยจะพิจารณาจะรับคำร้องไว้วินิจฉัยหรือไม่ และหากรับไว้จะมีคำสั่งให้นายเศรษฐา และนายพิชิต หยุดปฏิบัติหน้าที่ไว้ก่อนหรือไม่

เพราะในคำร้องของ 40 สว. ได้ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้ผู้ถูกร้องทั้งสองหยุดปฏิบัติหน้าที่พ่วงไว้ด้วย

ก่อนหน้านั้น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ขณะเป็นนายกฯ และถูกร้องเรื่องปมเป็นนายกฯครบ 8 ปีหรือไม่ ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำสั่งให้ พล.อ.ประยุทธ์ หยุดปฏิบัติหน้าที่กระทั่งศาลมีคำวินิจฉัย

เป็นประเด็นแรกที่มีเสียงวิพากษ์ในวงกว้าง เพราะหากศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้หยุดทำหน้าที่นายกฯ กรณีนายเศรษฐา จะมีผลกระทบทางการเมืองอย่างเลี่ยงไม่ได้ ในฐานะผู้นำรัฐบาลตามรัฐธรรมนูญ แม้จะยังไม่มีผลต่อคณะรัฐมนตรีในทันทีก็ตาม

สถานภาพนายเศรษฐา จะต่างจาก พล.อ.ประยุทธ์ ที่ยังมีเก้าอี้ รัฐมนตรีกลาโหม รองรับ ในตอนนั้น แต่นายเศรษฐาตอนนี้ ไม่ได้นั่งควบรัฐมนตรีการคลัง อีกแล้ว จึงไม่สามารถไปนั่งแทรกในครม.ได้

อย่างไรก็ตาม ประเด็นนี้ดังกล่าวถือเป็น “เวิร์สเคส ซีนาริโอ” หรือกรณีเป็นผลลัพธ์ที่แย่ที่สุดของนายเศรษฐา แต่ในทางปฏิบัติจะเป็นอย่างนั้นหรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ส่วนนายเศรษฐา แม้เจ้าตัวยืนยันจะไม่กดดันศาลพร้อมรับวินิจฉัย แต่ไม่เชื่อว่าจะมีคำสั่งให้หยุดทำหน้าที่ออกมาในวันที่ 23 พ.ค.ทันที

ในทัศนะของ สว.ที่ร่วมลงชื่อ มองว่าการแต่งตั้งนายพิชิตซึ่งมีปัญหาคุณสมบัติตามมาตรา 160 (4) ว่าด้วยความซื่อสัตย์ต้องเป็นที่ประจักษ์ และ (5) เรื่องขัดจริยธรรมอย่างร้ายแรง นายเศรษฐา น่าจะทราบเรื่องดีอยู่แล้ว

การลงนามแต่งตั้งนายพิชิตเป็นรัฐมนตรี จึงเป็นการกระทำด้วยความไม่ซื่อสัตย์สุจริตต่อตำแหน่งหน้าที่ มีพฤติกรรมที่รู้เห็นและยินยอมให้ผู้อื่นใช้ตำแหน่งหน้าที่ของตนแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ เป็นการกระทำที่ขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนตนกับประโยชน์ส่วนรวม

ประเด็นถัดมา คือไม่มีการเปิดเผยรายชื่อ 40 สว.ที่ร่วมลงชื่อยื่นคำร้องดังกล่าว โดยนายดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม หนึ่งใน สว. 40 คนที่ร่วมลงชื่อ และเป็นเพียงไม่กี่คนที่เปิดเผยตัว ให้เหตุผลว่า เป็นเอกสิทธิ์ของแต่ละคนที่จะเปิดเผยหรือไม่ก็ได้ บางคนไม่อยากเปิดเผยเพราะกังวลว่าจะมีผลกระทบตามมา และเป็นเรื่องตีตราลับ แต่รายชื่อของ สว.เหล่านี้ สุดท้ายต้องถูกเปิดเผยต่อศาลอยู่ดี

เป็นเหตุให้ สว. อย่าง นายเสรี สุวรรณภานนท์ ประธานกรรมาธิการพัฒนาการเมืองฯ ของวุฒิสภา ออกโรงมาปฏิเสธไม่ได้ร่วมลงนามในคำร้อง และไม่มีนัยถูกแอบอ้างชื่อ แม้นว่า นายดิเรกฤทธิ์ เป็นรองประธานกรรมาธิการชุดนี้ และเคยร่วมเคลื่อนไหวกับกรรมาธิการพัฒนาการเมืองมาอย่างต่อเนื่อง

จึงไม่เพียงสะท้อนการไม่ลงรอยกันของสว. หรือปรากฏการณ์ “สว.เสียงแตก” แล้ว 40 สว.ที่ร่วมลงชื่อยังไม่ยอมเปิดเผยชื่อ เกรงจะรู้ว่าเป็น สว.ใน “สายลุง” คนไหน สาย “ลุงป้อม” หรือ “สายลุงตู่” ซึ่งจะมีความหมายในทางการเมืองด้วย เพราะในสาย “ลุงตู่” ส่วนใหญ่โหวตหนุนนายเศรษฐาเป็นนายกฯ ส่วนสาย “ลุงป้อม” ส่วนใหญ่งดออกเสียง และไม่ได้ร่วมโหวตในวันที่ 22 ส.ค.2566

ไม่เพียงเท่านั้น ยังอาจมีการเชื่อมโยงไปถึงคดีสำคัญที่ยังเหลืออยู่ของนายทักษิณ ชินวัตร ที่อัยการสูงสุด เลื่อนนัดฟังคำสั่งคดี ม.112 จาก 10 เม.ย. เป็นวันที่ 29 พ.ค. หลังอัยการสูงสุด มีความเห็นให้พนักงานสอบสวนส่งผลสอบเพิ่มเติม

ไม่ว่าจะออกหน้าไหน สั่งฟ้อง หรือสั่งไม่ฟ้อง หรือเลื่อนฟังคำสั่งออกไป ล้วนแล้วแต่มีนัยและความหมายทั้งสิ้น รวมกระทั่งเรื่อง “ดีลลับ” ระหว่าง 2 ฝ่ายที่มีอำนาจที่พูดถึงกันมาตลอด จะเป็นอย่างไร ไปต่อหรือหักกันไปแล้ว ซึ่งอาจมีผลต่อการเดินหน้าของรัฐบาล ต่อการเมืองในอนาคตจากนี้ และอาจรวมถึงการเตรียมเดินทางกลับประเทศของ “ปู” น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกฯ

เรื่องเข้าชื่อ 40 สว.ยื่นสอยนายกฯ ซึ่งครั้งแรกดูเหมือนจะเป็นเรื่องปกติ และถูกมองว่าอาจเป็นเพียงการ”ทิ้งทวน”ของสว. แต่สุดท้ายกลายเป็นเรื่องสำคัญ

และจะเป็น “ทางแยกใหญ่” ชี้อนาคตการเมืองไทย จะไปทางไหนต่อ?

วิเคราะห์ : ประจักษ์ มะวงศ์สา

อ่านข่าว : ยื่นสอบ “วนรัชต์” ผู้ต้องหาหุ้นกู้ STARK รักษาตัวชั้น 14 รพ.ตำรวจ

รัฐบาล​เล็งเปิดประมูลข้าว​ 10 ปี​ไม่เกิน มิ.ย.นี้ ยันไม่มีสารตกค้าง

“กลุ่มทะลุวัง” บุกทำเนียบฯ ทวงสอบปม “บุ้ง เนติพร” เสียชีวิต

 

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่