หน้าแรก Thai PBS กฤษฎีกาชี้ปลด “บิ๊กโจ๊ก”ออกราชการ-นายกฯ ต้องกราบบังคมทูล

กฤษฎีกาชี้ปลด “บิ๊กโจ๊ก”ออกราชการ-นายกฯ ต้องกราบบังคมทูล

83
0
กฤษฎีกาชี้ปลด-“บิ๊กโจ๊ก”ออกราชการ-นายกฯ-ต้องกราบบังคมทูล

กรณีสำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ส่งเรื่องให้คณะกรรมการกฤษฎีกา ตรวจสอบข้อกฎหมายเกี่ยวกับคำสั่งให้ “บิ๊กโจ๊ก” พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รองผบ.ตร.ออกจากราชการไว้ก่อน ให้คณะกรรมการกฤษฎีกาได้พิจารณาว่าชอบด้วยกฎหมายหรือไม่​

ล่าสุดได้มีบันทึก (เรื่องเสร็จที่ 637/2567) สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่อง การดำเนินการเกี่ยวกับการให้ข้าราชการตำรวจออกจากราชการไว้ก่อน ตอบกลับมายังสำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โดยมีเนื้อหาสาระสำคัญ ดังนี้

อ่านข่าว “บิ๊กโจ๊ก” ยื่น “คัดค้านกรรมการสอบสวนวินัย” ยกชุด

คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 2) ได้พิจารณาข้อหารือของสำนักงานเลขาธิ การนายกรัฐมนตรี โดยมีผู้แทนสำนักนายกรัฐมนตรี (สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี และสำนักงาน ก.พ.) และผู้แทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ(ตร.) เป็นผู้ชี้แจงข้อเท็จจริงแล้ว ปรากฏข้อเท็จจริงเพิ่มเติม ตามคำชี้แจงของผู้แทน ตร.ว่า

กรณีตามข้อหารือนี้ ตร.ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้าราชการตำรวจรายดังกล่าวตามมาตรา 105,108,119 และ 179 แห่งพ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2565 ในวันเดียวกันกับที่ ตร.มีคำสั่งให้ข้าราชการตำรวจรายดังกล่าวออกจากราชการไว้ก่อน

อ่านข่าว “บิ๊กโจ๊ก” ถอนฟ้อง “ผบช.น.-พนักงานสอบสวน” อ้างร้อง ป.ป.ช.แล้ว

พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รองผบ.ตร.

พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รองผบ.ตร.

นอกจากนี้ ปรากฏข้อเท็จจริงเพิ่มเติม ตามคำชี้แจงของผู้แทนสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีว่า ข้าราชการตำรวจรายดังกล่าว (พล.ต.อ.สุรเชษฐ์) ได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนต่อคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมข้าราชการตำรวจแล้ว

คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 2) พิจารณาข้อหารือ และข้อเท็จจริงเพิ่มเติมดังกล่าวแล้ว เห็นว่าข้อหารือนี้มีประเด็นที่ต้องพิจารณาว่า เมื่อ ตร.มีคำสั่งให้ข้าราชการตำรวจตำแหน่งรอง ผบ.ตร.ออกจากราชการไว้ก่อน

นายกรัฐมนตรีมีหน้าที่ต้องนำความกราบบังคมทูล เพื่อทรงมีพระบรมราชโองการให้ข้าราชการตำรวจรายดังกล่าวพ้นจากตำแหน่ง ตั้งแต่วันออกจากราชการไว้ก่อน ตามมาตรา 140 วรรคหนึ่ง และมาตรา 179 แห่ง พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2565

ประกอบกับข้อ 11 แห่งกฎ ก.ตร.ว่าด้วยการสั่งพักราชการ และการสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน พ.ศ. 2547 หรือไม่ และจะต้องดำเนินการเมื่อใด ซึ่งคณะกรรมการกฤษฎีกา คณะที่ 2 เห็นว่า มาตรา 131 วรรค 6 แห่งพ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2565 บัญญัติให้การสั่งให้ข้าราชการตำรวจ ซึ่งมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยร้ายแรง

จนถูกตั้งกรรมการสอบสวนหรือต้องหาว่ากระทำผิดอาญา หรือถูกฟ้องคดีอาญา ออกจากราชการไว้ก่อน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ตามที่กำหนดในกฎ ก.ตร.ซึ่งปัจจุบัน ก.ตร.ยังไม่ได้ออกกฎ ก.ตร.ในเรื่องดังกล่าว แต่มาตรา 179 แห่งพ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 ได้บัญญัติรองรับไว้ว่า

ในระหว่างที่ยังไม่ได้ออกกฎ ก.ตร.ให้นำกฎ ก.ตร.ซึ่งใช้อยู่เดิมมาใช้บังคับเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพ.ร.บ.นี้ ด้วยเหตุนี้การดำเนินการเกี่ยวกับการสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน จึงต้องดำเนินการตามกฎ ก.ตร. ว่าด้วยการสั่งพักราชการ และการสั่งให้ออกจากราชการพ.ศ. 2547 ที่ออกโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติพ.ศ. 2547 และใช้บังคับอยู่เดิมต่อไป เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับ พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติพ.ศ. 2565

อ่านข่าว “บิ๊กโจ๊ก” ยันช่วยเหลือป้าคดีที่ดิน โอดช่วยเหลือเสมือนเป็นร้อยเวร

กรณีนี้จึงต้องพิจารณาต่อไปว่าข้อ 11 แห่งกฎ ก.ตร. ว่าด้วยการสั่งพักราชการ และการสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน ซึ่งกำหนดหลักเกณฑ์ในการสั่งให้ข้าราชการตำรวจตำแหน่งรอง ผบ.ตร. ออกจากราชการไว้ก่อน ให้ต้องนำความกราบบังคมทูล เพื่อทรงมีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตำแหน่ง ตั้งแต่วันออกจากราชการไว้ก่อน ขัดหรือแย้งกับพ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2565 หรือไม่

ซึ่งมีความเห็นว่า เมื่อมาตรา 140 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2565 บัญญัติหลักการเกี่ยวกับการพ้นจากตำแหน่งของข้าราชการตำรวจตำแหน่งรองผบ.ตร.ว่าจะต้องนำความกราบบังคมทูล เพื่อทรงมีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตำแหน่ง

เว้นแต่กรณีที่พ้นจากตำแหน่งเพราะความตาย เกษียณอายุ หรือพ้นจากราชการเพราะถูกลงโทษ ซึ่งส่งผลให้การสั่งให้ข้าราชการตำรวจตำแหน่งรองผบ.ตร.ออกจากราชการไว้ก่อน เพื่อรอผลการสอบสวนพิจารณาทางวินัย ไม่เข้าข้อยกเว้น ที่จะไม่ต้องนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงมีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตำแหน่งตามมาตรา 140 วรรคหนึ่ง

อ่านข่าว เปิดขั้นตอน “ก.พ.ค.ตร.” รับอุทธรณ์ “บิ๊กโจ๊ก” ให้ออกจากราชการฯ

เนื่องจากมิใช่การพ้นจากตำแหน่งเพราะความตาย เกษียณอายุ หรือพ้นจากราชการเพราะถูกลงโทษ ด้วยเหตุที่การออกจากราชการไว้ก่อน มิใช่โทษทางวินัยตามมาตรา 115 แห่งพ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2565

จึงเห็นว่าข้อ 11 แห่งกฎ ก.ตร.ว่าด้วยการสั่งพักราชการ และการสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน มิได้ขัด หรือแย้งกับ พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2565 ดังนั้นในการสั่งให้ข้าราชการตำรวจตำแหน่งรองผบ.ตร.ออกจากราชการไว้ก่อน ตามข้อหารือนี้ จึงต้องดำเนินการตามข้อ 11 แห่งกฎ ก.ตร.ดังกล่าว

กล่าวคือนายกรัฐมนตรี จะต้องนำความกราบบังคมทูล เพื่อทรงมีพระบรมราชโองการให้ข้าราชการตำรวจตำแหน่งรองผบ.ตร.รายดังกล่าว พ้นจากตำแหน่ง ตั้งแต่วันออกจากราชการไว้ก่อน

สำหรับกรอบระยะเวลาที่จะต้องนำความกราบบังคมทูล เพื่อทรงมีพระบรมราชโองการให้ข้าราชการตำรวจดังกล่าวพ้นจากตำแหน่งนั้น เมื่อพ.ร.บ.
ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2565 ไม่ได้บัญญัติระยะเวลาที่จะต้องดำเนินการในกรณีนี้ไว้ จึงเป็นดุลพินิจของนายกรัฐมนตรี ที่จะต้องพิจารณาดำเนินการด้วยความรอบคอบภายในระยะเวลาอันเหมาะสมตามควรแก่กรณีต่อไป

อนึ่งคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 2) มีข้อสังเกตว่า ในการนำความกราบบังคมทูล เพื่อทรงมีพระบรมราชโองการให้ข้าราชการตำรวจรายใดพ้นจากตำแหน่งนั้น โดยที่นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ นายกรัฐมนตรีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงมีหน้าที่ต้องตรวจสอบ และรับรองความถูกต้องของการสั่งให้ข้าราชการรายดังกล่าวออกจากราชการไว้ก่อนอย่างรอบคอบ ให้เป็นที่ยุติเสียก่อน

เมื่อในกรณีนี้ พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2565 ที่ใช้บังคับในปัจจุบัน มีผลเป็นการปรับปรุงบทบัญญัติขึ้นมาใหม่ จากที่เคยบัญญัติไว้แต่เดิมในพ.ร.บ. ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2565 หลายประการ มีเจตนารมณ์สำคัญเพื่อให้การจัดระเบียบข้าราชการตำรวจเป็นไปตามหลักนิติธรรม และเกิดความเป็นธรรม ดังจะเห็นได้จากคำปรารภของพ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2565 และมาตรา 60 ที่ได้บัญญัติหลักการใหม่ ให้การจัดระเบียบข้าราชการตำรวจคำนึงถึงระบบคุณธรรม มาตรา 60(4) บัญญัติให้การดำเนินการทางวินัยต้องเป็นไปด้วยความยุติธรรม และโดยปราศจากอคติ

อ่านข่าว จับกระแสการเมือง 25 เม.ย.2567 “บิ๊กโจ๊ก” วิ่งสู้ฟัด ทวงคืนตำแหน่ง “รอง ผบ.ตร.”

รวมทั้งบัญญัติให้มีคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมข้าราชการตำรวจและคณะกรรมการพิจารณาเรื่องร้องเรียนตำรวจ ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการพิทักษ์ระบบคุณธรรม และพิจารณาเรื่องร้องเรียนประกอบกับมาตรา 120 วรรค 4 ได้เพิ่มหลักการใหม่นอกเหนือจากมาตรา 131 วรรคหนึ่ง

โดยบัญญัติว่าในระหว่างการสอบสวนจะนำเหตุแห่งการถูกสอบสวนมาเป็นข้ออ้างให้กระทบสิทธิของผู้ถูกสอบสวนไม่ได้ เว้นแต่ผู้บังคับบัญชา จะสั่งพักราชการ หรือสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการสอบสวน

ซึ่งในกรณีนี้คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนมีขึ้นในวันเดียวกันกับวันที่มีคำสั่งให้ข้าราชการตำรวจออกจากราชการไว้ก่อน และการสอบสวนย่อมเป็นการกระทบสิทธิหลายประการของผู้ถูกสอบสวน

กรณีจึงเห็นได้ว่า การสั่งให้ข้าราชการตำรวจรายนี้ออกจากราชการไว้ก่อนหากเป็นการปฏิบัติตามคำแนะนำของคณะกรรมการสอบสวนที่ตั้งขึ้น ย่อมจะทำให้การพิจารณาเหตุแห่งการกระทบสิทธิของผู้นั้น

และความจำเป็นที่จะต้องสั่งให้ผู้นั้นออกจากข้าราชการไว้ก่อน ชอบด้วยกระบวนการตามกฎหมายและเป็นธรรมแก่ผู้ถูกสอบสวน และการนำความกราบบังคมทูลตามมาตรา 140 วรรคหนึ่ง ย่อมเป็นไปด้วยความชอบธรรม

ลงชื่อปกรณ์ นิลประพันธ์ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา

 

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่